McKinsey เผยรายงาน AI ช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย SDGs ครอบคลุมทุกมิติสังคม | Techsauce

McKinsey เผยรายงาน AI ช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย SDGs ครอบคลุมทุกมิติสังคม

McKinsey & Company ประเทศไทย เผยรายงานฉบับใหม่ล่าสุดเรื่อง "AI เพื่อสังคมที่ดี: การปรับปรุงชีวิตและการปกป้องโลก” หรือ “AI for social good: Improving lives and protecting the planet” รายงานนี้สำรวจศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยจัดการกับความท้าทายทางสังคมที่สำคัญที่สุดของโลกตามที่กำหนดโดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

ในรายงานดังกล่าว ได้มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงจากทั่วโลกและวิเคราะห์กระแสเงินทุนหลักที่ไหลเข้าสู่ AI เพื่อสกัดออกมาเป็นประเด็นสำคัญ อาทิ การใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น รวมถึงการประมวลผลทางภาษาตลอดจนการจดจำเสียงและการติดตาม 

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า 40% ของการลงทุนในภาคเอกชนมีแผนจะใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมาย SDGs และ 60% เห็นตรงว่า AI สามารถสร้างประโยชน์และเพิ่มศักยภาพให้ประเทศที่มีรายได้น้อย  

AI เป็นส่วนสำคัญของการสร้างความก้าวหน้าของ SDGs ได้อย่างไร

AI อาจไม่ใช่ทั้งหมดของการเปลี่ยนโลกสู่ SDG แต่ต้องยอมรับว่า AI มีศักยภาพในการจัดการกับความท้าทายและการสร้างความแตกต่างสำหรับเป้าหมายในการทำ SDG 5 ประกาศตามที่ UN ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย สุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดีการศึกษาที่มีคุณภาพ การดำเนินการเกี่ยวกับสภาพอากาศ พลังงานสะอาดและราคาไม่แพง ตลอดจนการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

ปัจจุบันเราสามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้เป้าหมาย SDG ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบจำลองโปรตีนสำหรับใช้ทางการแพทย์ การคัดกรองยา การพัฒนาวัคซีน การบริการสาธารณะ รวมถึงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากการสำรวจพบว่า AI สามารถจัดการหรือช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ใน 2 ประเด็นหลักๆ คือ 1. การใช้ AI พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น ปัญหาการรั่วไหลของน้ำที่อยู่ในท่อ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งาน และตำแหน่งของท่อง และ 2. การระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า มีองค์กรมากถึง 492 แห่ง (จาก 600 องค์กร) ที่มองว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพมากพอที่จะสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาติ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการจัดการความเสี่ยงของการนำ AI มาใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 60 คนมีความกังวลในการใช้ AI ในหลายหัวข้อ โดยเฉพาะเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากอัลกอริทึม หรือการประมวลผลข้อมูลที่มาจากหลายหลายแหล่ง ที่ไม่สามารถระบุความถูกต้องของข้อมูลได้ และหากต้องให้ AI ประมวลผลก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความลำเอียง อคติ หรือความไม่เท่าเทียมทางสังคม ที่จะส่งผลเสียต่อชุมชน และยังมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดอีกด้วย

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ในมิติต่างๆ

การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ปัจจุบัน AI ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้มากมาย ไม่เว้นแม้แต่ทางการแพทย์ เช่น การสร้างแบบจำลองโปรตีน การถอดรหัสจีโนม การวิเคราะห์ภาพอวัยวะภายในด้วยคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาวีคซีน ซึ่งการใช้งานด้านสุขภาพถือเป็นสาขาวิชาที่ใช้ AI ได้ง่ายกว่าด้านอื่นๆ เนื่องจากเป็นสาขาที่ต้องใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และขณะเดียวกัน การใช้ AI ทางการแพทย์ก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนอีกมาก เพราะยังมีโรคระบาด หรือโรคทั่วไปยังต้องการเทคโนโลยีมาพัฒนายารักษาหรือแพลตฟอร์มสำหรับดูแลแม่และเด็กต่อไป เช่น Jacaranda Health องค์กรที่นำเสนอโซลูชั่นด้าน AI เพื่อยกระดีบคุณภาพการดูแลรักษาสตรีในเคนยา มีเป้าหมายที่ต้องการลดจำนวนมารดาที่จากการติดโรคร้ายแรง อาทิ วัณโรค มาลาเรีย และเอดส์ การยกระดับคุณภาพการรักษาโรคที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก 

การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4: คุณภาพการศึกษา

ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หมายเลข 4 มุ่งเน้นการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายดังกล่าวรวมถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และการบรรลุความรู้ความสามารถในการอ่าน เขียน คำนวณ อย่างถ้วนหน้า

ขณะนี้มีการนำอัลกอริทึม AI มาใช้ในด้านการศึกษา เช่น เครื่องมือพยากรณ์ที่ช่วยระบุความเสี่ยงของนักเรียนที่จะเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ช่วยให้อาจารย์และนักเรียนที่มีความเสี่ยงจะเรียนไม่จบได้รับการดูแลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการใช้ AI สร้างแพลตฟอร์มการศึกษาที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้พิการ เพิ่มจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียน และสร้างแผนการเรียนการสอนสำหรับครู รวมถึงการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจที่เฉพาะตัวของนักเรียน

อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ในการศึกษาก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและข้อมูลต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา

ตัวอย่างการใช้ AI ด้านการศึกษา: Livox เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ AI และ Machine Learning เพื่อปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความพกพร่องในด้านต่างๆ อาทิ การพูด การเคลื่อนไหว การรับรู้ และการมองเห็น โดยซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่แปลงภาษากว่า 25 ภาษา และมีผู้พิการใช้งานกว่า 25,000 คน

การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13: การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบันผู้คน AI สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ สร้างแบบจำลองผลกระทบ ปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร และลดการปล่อยมลพิษจากการคมนาคมขนส่งและกระบวนการทางอุตสาหกรรม 

ตัวอย่างของการใช้ AI ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น แพลตฟอร์ม Global Forest Watch (GFW) ใช้ AI ช่วยรายงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ รวมถึงให้ข้อมูลและติดตามการทำลายป่าโดยใช้ดาวเทียม และ Deep Learning ช่วยให้ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรต่างๆ ได้เตรียมพร้อมรับมือ และกำหนดนโยบายที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของรายงาน หากต้องการอ่านเต็มๆ สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ Mckinsey 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ได้ขายแค่กาแฟ แต่แคร์สังคมและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์สร้าง Starbucks ยืนเด่นในไทยมา 26 ปี

บทความนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาเรียนรู้แนวทางการปั้นแบรนด์ของ Starbucks ที่เค้นออกมาจากประสบการณ์จริงตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปีที่แบรนด์ต่างชาติแบรนด์นี้เข้ามายังประเทศไทย...

Responsive image

ถึงเวลาปรับพอร์ตเชิงรุก! Deloitte ชี้การควบรวมธุรกิจเพื่อมุ่งสู่ decarbonization จะเพิ่มสูงขึ้น พร้อมปรับกลยุทธ์การขายกิจการ/ทรัพย์สินตาม ESG

บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก Deloitte เผยถึงเวลาองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกเร่งปรับทิศทางการลงทุน รับความตึงครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และแรงกดดันจากกฎระเบียบด้านประสิทธิภาพของเงินทุนที่เปลี...

Responsive image

Lululemon โดนฟ้อง ฐาน Greenwashing บอกรักษ์โลก แต่ปล่อยมลพิษมากกว่าเดิม

Lululemon ถูกยื่นฟ้องข้อหาฟอกเขียว (Greenwashing) หลอกลวงให้ผู้บริโภคเชื่อว่าแบรนด์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในขณะที่บริษัทปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มขึ้น...