รางรถไฟโซลาร์เซลล์ที่แรกของโลก จาก Sun-Ways Startup สวิส ช่วยผลิตไฟฟ้าและประหยัดพื้นที่ | Techsauce

รางรถไฟโซลาร์เซลล์ที่แรกของโลก จาก Sun-Ways Startup สวิส ช่วยผลิตไฟฟ้าและประหยัดพื้นที่

ปัจจุบันการใช้พลังงานสะอาดในยุโรปมีมากขึ้น โซลาร์เซลล์ก็เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่นิยม แต่ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ต้องใช้พื้นที่กว้างพอสมควร แล้วถ้าไม่อยากเสียพื้นที่ใช้สอยไปจะทำยังไงดี ? มาดูไอเดียเจ๋ง ๆ ของ Startup จากสวิตเซอร์แลนด์กัน ว่าพวกเขาทำอย่างไร !

Sun-Ways บริษัท Startup จากสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีรางรถไฟมากมาย ยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร 

ซึ่งหากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนรางรถไฟเหล่านั้น จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มหาศาล พวกเขาเลยคิดค้น ‘รางรถไฟโซลาร์เซลล์’ รางแรกของโลก เพื่อประหยัดพื้นที่และใช้ที่ว่างบนรางรถไฟให้คุ้มค่าที่สุด

Get to know ‘รางรถไฟโซลาร์เซลล์’

รางรถไฟโซลาร์เซลล์ เป็นไอเดียที่บริษัท Sun-Ways จะนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งเหนือพื้นที่วางบนรางรถไฟ โดยบริษัทจะออกแบบตู้รถไฟชนิดพิเศษเพื่อนำมาใช้คู่กัน 

ซึ่งหากติดแผงโซลาร์เซลล์บนรางรถไฟทั่วสวิตเซอร์แลนด์ บริษัทคาดการว่ามันอาจจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1ล้านล้านวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 200,000 ครัวเรือนตลอดทั้งปี 

หรือประมาณ 2% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในหนึ่งปีในสวิตเซอร์แลนด์ ถือว่าเป็นพลังงานสะอาดจำนวนมหาศาลเลย 

ในตอนนี้บริษัทกำลังรอสำนักงานขนส่งกลางเซ็นอนุมัติ เพื่อเริ่มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนรางรถไฟใกล้ ๆ กับสถานี Buttes ทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ 

Baptiste Danichert หนึ่งในผู้ก่อตั้งกล่าวว่า “ปัจจุบันทั่วโลกมีรางรถไฟยาวมากกว่าล้านกิโลเมตร เราเชื่อว่าระบบของเราน่าจะใช้กับรางรถไฟเหล่านี้ได้ประมาณ 50%” 

แนวคิดบริษัท Sun-Ways

บริษัทมองว่าวิธีที่ดีในการใช้แผงโซลาร์เซลล์ในทางเศรษฐกิจ คือ การนำมาติดตั้งบนพื้นราบที่ที่มีอยู่แล้ว เช่น คลอง ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือโกดัง เนื่องจากปัญหาบุกรุกทำลายป่าเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 

จุดเด่นหลักของบริษัทจึงเน้นไปที่การแก้ปัญหาพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไม่เพียงพอ ด้วยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเดิม อย่างรางรถไฟ

มีตัวอย่างจากบางบริษัทที่ใช้วิธี ‘Agrivoltaics’ ซึ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เหนือพื้นที่ทำการเกษตร หรือในอินเดียและแคลิฟอร์เนีย ก็ใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งเหนือคลองขนาดใหญ่และใช้อากาศร้อน เพื่อผลิตไฟฟ้าและประหยัดพื้นที่ไปพร้อมกัน

ในตอนนี้ก็มีผู้คนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะกังวลว่าแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์อาจทำให้คนขับรถไฟเสียสมาธิ และถ้าติดตั้งในพื้นที่ที่มีหิมะตกหนัก ก็อาจเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ รวมถึงถ้ามีฝุ่น เศษผง และแรงสั่นสะเทือนของรางก็อาจส่งผลกระทบต่อแผงโซลาร์เซลล์ได้

ซึ่งบริษัท Sun-Ways ยืนยันว่า พวกเขาออกแบบและเลือกใช้วัสดุโดยคำนึงถึงข้อจำกัดทั้งหมดนี้แล้ว สำหรับปัญหาฝุ่น ก็สามารถติดแปรงที่ด้านล่างของรถไฟเพื่อทำความสะอาดแผงขณะที่รถแล่นผ่านได้

อ้างอิง: goodnewsnetwork

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB เดินหน้าภารกิจ "อยู่ อย่าง ยั่งยืน" เคียงข้างลูกค้าสู่ Net Zero ในปี 2030 เน้นเทคโนโลยีขับเคลื่อนความยั่งยืน

SCB เดินหน้าภารกิจ "อยู่ อย่าง ยั่งยืน" เคียงข้างลูกค้าสู่ Net Zero ในปี 2030 เน้นเทคโนโลยีขับเคลื่อนความยั่งยืน...

Responsive image

TCP Sustainability Forum 2024 ชูเรื่อง 'น้ำ' ทรัพยากรที่ธุรกิจต้องเร่งจัดการให้เร็วที่สุด

สาระสำคัญที่ คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวในงาน TCP Sustainability Forum 2024 ซึ่งจัดขึ้นในธีม 'Water Resilience in a Changing Climate'...

Responsive image

คุ้มไหม? ตัดต้นไม้ 5 แสนต้น สร้างโรงงาน Tesla

Tesla เอาอีกแล้ว เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเพิ่งมีประเด็นปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มจากปีก่อนถึง 20% ล่าสุดตัดต้นไม้กว่า 500,000 ต้นเพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่กรุงเบอร์ลิน ประ...