รู้จัก Topanga สตาร์ทอัพผู้ต้องการแก้ปัญหาพลาสติกเหลือทิ้ง ด้วยการสร้างระบบนำกลับมาใช้ใหม่ | Techsauce

รู้จัก Topanga สตาร์ทอัพผู้ต้องการแก้ปัญหาพลาสติกเหลือทิ้ง ด้วยการสร้างระบบนำกลับมาใช้ใหม่

บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นของใช้แล้วทิ้ง ซึ่งทำให้เกิดปริมาณขยะจำนวนมหาศาล วันนี้ Techsauce จะพามารู้จัก Topanga สตาร์ทอัพผู้นำวิธีการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย QR Code 

สตาร์ทอัพ

Topanga นำเสนอวิธีอะไรที่เข้ามาแก้ไขเรื่องนี้

นับตั้งแต่ปี 2018 บรรจุภัณฑ์และภาชนะพลาสติกคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของขยะชุมชนในสหรัฐอเมริกาในขณะที่สหภาพยุโรปประมาณการจากช่วงในเวลาเดียวกัน ระบุว่าจำนวนขยะจากภาชนะและบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่อปีมีจำนวนมากกว่า 2 พันล้านชิ้นและเพิ่มขึ้นไม่ลดลงนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด

Topanga เป็นสตาร์ทอัพที่มีความต้องการสร้างวงจรหมุนเวียนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกซ้ำได้ ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ พร้อมกับ QR Code สำหรับติดตามภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผู้ที่คืนบรรจุภัณฑ์แล้วจะมีรางวัล

ภาพจาก : Topanga

แรกเริ่มเดิมที Topanga เริ่มทำการทดลองแบบจำกัดวงในเมืองลอสแองเจลิสด้วยการ ใช้บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะแบบแก้วส่งอาหารสดเหมือนกับคนการส่งนมก่อนจะพัฒนามาเป็นพลาสติกใช้ซ้ำเหมือนอย่างในปัจจุบัน 

แพลตฟอร์มของ Topanga ถูกใช้ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง และมีการระดมทุนครั้งล่าสุดไปถึง 3.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Page Schult CEO ของ Topanga ได้นำแนวคิด Collage Model มาใช้ สำหรับในส่วนดิลิเวอลี่ Topanga ยังร่วมมือกับ Grubhub สำหรับการส่งอาหารและนำภาชนะและ บรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่

ลดขยะพลาสติก = ลดก๊าซเรือนกระจก

Topanga เชื่อว่าวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยช่วยให้ผู้คนส่งคืนบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย อีกทั้งบริษัทต่างๆ สามารถติดตามบรรจุภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นเมื่อจำกัดการใช้งาน ในพื้นที่จำกัดและวิธีการนี้ยังเป็น การสร้างค่านิยมไปสู่คนรุ่นต่อๆไปเพื่อสร้างแรงผลักดันในการลดขยะพลาสติกในอนาคต

Topanga มองว่าตลาดค้าขายในมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตหลายแห่งในสหรัฐฯ มีมูลค่าถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์ หากพิจารณาจากภาพรวมและเปรียบเทียบตลาดที่อยู่ใกล้วิทยาเขต ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบอาหาร (Dining System) สำหรับองค์กรและมหาวิทยาลัยในแคนาดา ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป โอกาสทางการตลาดนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

หากการขยายตลาดของ Topanga เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งบริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกได้ 19% นอกจากนี้ ยังคิดว่าจะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ถึง 120,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีจากพลาสติกที่ถูกทิ้ง อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 222 ล้านตัน และจะเป็นผลดีในอีก 10 ปีข้างหน้า 

ที่มา : Topanga, TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...