10 เทรนด์ 2024 จาก Gartner ที่ Technology Provider ต้องจับตา | Techsauce

10 เทรนด์ 2024 จาก Gartner ที่ Technology Provider ต้องจับตา

Gartner เผย 10 เทรนด์ที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยี (Technology Provider) ต้องจับตามองในปี 2024 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง 

10 เทรนด์ที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีต้องจับตามองในปี 2024 

A diagram of a company's company's growth 
Description automatically generated

หมายเหตุ: ขนาดวงกลมของแต่ละแนวโน้มแสดงถึงความสัมพัทธ์การหยุดชะงักของแนวโน้มที่กำหนด โดยสัมพันธ์กับแนวโน้มอันดับต้น ๆ อื่น ที่มา: การ์ทเนอร์ (กุมภาพันธ์ 2567)

1. เปลี่ยนจาก Growth At All Costs สู่ Efficient Growth 

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้จ่ายด้านไอทีเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับบริษัทเทคโนโลยี ทำให้บริษัทเหล่านี้เติบโตได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุนโดยรวม หรือใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า "Growth At All Costs" ที่ยึดมั่นในแผนผลิตภัณฑ์ องค์กร และการจ้างงาน โดยคาดการณ์การเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง

แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในหมู่ผู้ซื้อ และยังมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนเงินลงทุน ที่เปลี่ยนให้นักลงทุนหันไปมุ่งเน้นการเติบโตของผลกำไร นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์จึงมองว่าผู้ให้บริการเทคโนโลยีควรให้ความสำคัญกับ การสร้างการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ 

กลยุทธ์การเติบโตที่มีประสิทธิภาพ หรือ Efficient Growth Strategies ตอกย้ำถึงคุณค่าการเติบโตในรูปแบบผลกำไรในปัจจุบันที่แข็งแกร่งพร้อมมอบโอกาสสร้างรายได้ใหม่ๆ ในอนาคต

2. ความสัมพันธ์ใหม่ของผู้ให้บริการไอทีระดับองค์กร 

ความต้องการทางธุรกิจและทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นทำให้องค์กรไอทีต้องขยายการให้บริการที่มากขึ้น ลึกขึ้นและมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะลดทอนความสามารถองค์กร สิ่งนี้ส่งผลต่อผู้บริหารด้านผลิตภัณฑ์ของบริษัทเทคโนโลยีในการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ และโอกาสในการสร้างรายได้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งรวมถึงการขยายบทบาทของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้นภายในองค์กรไอทีและส่วนงานธุรกิจ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและองค์กรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นหลัก และความสัมพันธ์ระดับ Tier 1 ทั่วองค์กร

3. ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจะเติบโตยิ่งขึ้น

ที่ผ่านมาความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนและการจัดการผลกระทบด้าน ESG (Environment Social Governance) ในองค์กร เน้นให้ความสำคัญอยู่ด้านเดียว เพื่อลดความเสี่ยงภายในองค์กร และเป็นการปฏิบัติไปตามข้อกำหนดเท่านั้น จากนี้ผู้บริหารด้านผลิตภัณฑ์ต้องปรับเปลี่ยน โดยให้ความสำคัญเป็นสองเท่าและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่แบบองค์รวมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน

4. การใช้ AI ต้องปลอดภัย และใช้อย่างรับผิดชอบ 

การพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของเทคโนโลยี GenAI กระตุ้นให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและวิธีการจัดการกับปัญหาที่เพิ่มขึ้น อาทิ แหล่งที่มาของคอนเทนต์ที่ AI สร้าง และปัญหา AI เกิดภาพหลอน (สร้างเนื้อหาเท็จออกมา) 

ผู้บริหารผลิตภัณฑ์จะต้องสร้างโซลูชันที่รวมหลักการด้านความปลอดภัยโดยเน้นไปที่ความโปร่งใสของโมเดล ความสามารถในการตรวจสอบแบบย้อนกลับ การตีความและสามารถอธิบายได้ รวมถึงการยอมรับประเด็นด้านกฎระเบียบและการปฏิบัติตามกฎที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด GenAI ด้วยการสร้างความไว้ใจให้คนใช้งาน 

5. กลยุทธ์การขายและการตลาดที่ล้าสมัย กินใจคนซื้อไม่ได้ 

ช่วงสามปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสังเกตเห็นผลกระทบเชิงลบในช่องทางการขายมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ซื้อรายใหม่ ๆ ขัดแย้งกับโมเดลการเข้าสู่ตลาด หรือ Go-To-Market (GTM) ที่ล้าสมัย หากไม่มีการปรับแนวทางการขายและการตลาดเพื่อตรวจจับและตอบสนองต่อการมองโลกในแง่ร้ายของผู้ซื้อ บริษัทเทคโนโลยีจะมองเห็นการดำเนินงานโมเดล GTM ของตนเองลดลงทั้งจากมุมมองภายในและภายนอก

6. สร้างโมเดล AI ที่มีความรู้เฉพาะเจาะจง 

แม้ว่าโมเดลสำหรับใช้งานทั่วไปของ AI จะทำงานได้ดีกับชุดแอปพลิเคชัน GenAI ที่หลากหลาย แต่ก็อาจใช้ไม่ได้กับเคสการใช้งานในระดับองค์กรจำนวนมากที่ต้องใช้ข้อมูลโดเมนเฉพาะ 

ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจะต้องสำรวจโมเดลที่มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรม ที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้เฉพาะโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทฯ ที่ไม่ทำเช่นนั้นจะเผชิญกับต้นทุนเพิ่มขึ้นและความซับซ้อนในการสร้างสรรค์ และการใช้ประสิทธิภาพจากโมเดล AI  

7. สร้างประสบการณ์ด้านการตลาดส่วนบุคคล 

เทรนด์การใช้งานมาร์เก็ตเพลสดิจิทัลที่มีความเฉพาะกลุ่มและพิเศษกำลังเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อจัดการกับความซับซ้อนด้านการจัดหา นำไปใช้ และผสมผสานโซลูชัน โดยการ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2568 การโต้ตอบการขายระหว่างซัพพลายเออร์และผู้ซื้อราว 80% จะเกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัล

Technology Provider ที่ไม่เสนอบริการผ่านมาร์เก็ตเพลสดิจิทัลแบบเฉพาะบุคคลจะต้องเผชิญกับความท้าทายในการค้นหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของตน 

8. อุตสาหกรรรมคลาวด์ช่วยเพิ่มการเติบโต 

ผู้ให้บริการ ไฮเปอร์สเกลเลอร์ ผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และ SaaS กำลังหันมาใช้โซลูชันเฉพาะเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ของลูกค้าที่จะขับเคลื่อนการเติบโตให้แก่บริษัท การ์ทเนอร์คาดว่า ภายในปี 2570 ผู้ให้บริการเทคโนโลยีมากกว่า 50% จะใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อุตสาหกรรมเพื่อมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2566 ที่มีน้อยกว่า 5%

9. PLG และ Value Converge สำหรับ Hybrid GTM

การเติบโตที่นำโดยผลิตภัณฑ์ หรือ Product-led-growth (PLG) มุ่งเน้นไปที่การแสดงคุณค่าต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ สร้างสัญญาณความตั้งใจที่ทีม GTM สามารถใช้กับผู้ซื้อกลุ่มใหม่ ๆ ได้ แต่บริษัทส่วนใหญ่ที่ใช้ PLG GTM เริ่มตระหนักว่า ในกรณีส่วนใหญ่ การเคลื่อนไหว GTM แบบบริการตนเอง 100% นั้นไม่สามารถเชื่อถือได้ เมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้ขายจะต้องมีส่วนร่วมในการแปลงข้อตกลง ผู้ซื้อต้องการมูลค่าทางธุรกิจและผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้ สำหรับเริ่มธุรกิจใหม่หรือการขยายธุรกิจที่มีอยู่ เพื่อผสมผสานกลยุทธ์ PLG เข้ากับการจัดการคุณค่าพร้อมริเริ่มโครงการด้วยกลยุทธ์ GTM แบบไฮบริด 

10. การตลาดและการขายที่แม่นยำ 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว อาทิ GenAI การซื้อผ่านดิจิทัล และเมตาเวิร์สกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทำการตลาดและขายเทคโนโลยี โดยผู้ให้บริการที่ล้มเหลวในการนำแนวทางใหม่มาใช้จะเผชิญกับดีลที่มีคุณภาพโดยรวมลดลง รวมถึงสูญเสียความเกี่ยวข้องและการเติบโตที่จำกัดอยู่ภายในบัญชีที่จัดตั้งขึ้น

มร.เอริค ฮันเตอร์ รองประธานบริหารของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้ให้บริการเทคโนโลยีแทบทุกรายต่างวาง Generative AI หรือ GenAI ไว้เป็นวาระสำคัญทางด้านเทคนิคและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนการวางกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และการเติบโตของผู้ให้บริการ ไปจนถึงการใช้เป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวันของผู้ร่วมงาน แม้ GenAI จะมีศักยภาพต่อการปรับเปลี่ยนของผู้ให้บริการ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ผู้นำเทคโนโลยีต้องเผชิญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีจุดที่สร้างความท้าทายใหม่ ๆ อยู่ในแผนการเติบโต อาทิ ประเด็นการหลอมรวมด้านการตลาดและการขาย รวมถึงปัจจัยด้านความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ที่เปิดกว้างต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีและในระยะยาวของปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารที่ดูแลผลิตภัณฑ์ต้องสร้างสมดุลระหว่างโอกาสระยะสั้นและความได้เปรียบระยะยาว รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ที่มีพื้นฐานมาจากการฟื้นตัวหรือภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ การ์ทเนอร์ได้รวบรวมแนวโน้มสำคัญในปี 2567 ที่สะท้อนปัจจัยทั้งสองนี้ (ดูภาพที่ 1)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ONNEX by SCG Smart Living รุก 'ตลาดโซลาร์' รับโลกเดือด ดันโมเดลธุรกิจ EPC+ 5 รูปแบบ

ONNEX by SCG Smart Living เปิดแผน EPC+ Business Model 5 รูปแบบ ทั้งโมเดลสำหรับผู้ประกอบการ, เจ้าของโครงการ, นักลงทุน, บริษัทในเครือข่าย และตัวแทนอิสระ...

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

ส่องกฎหมายและนโยบายที่ดึง Silicon Valley มาลงทุนในอินโดนีเซีย

บทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกกับ 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในช่วงเวลานี้...