11 Beauty Startups ที่น่าจับตามองในปีนี้ | Techsauce

11 Beauty Startups ที่น่าจับตามองในปีนี้

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการระดมทุนเพื่อ Beauty Startup เพิ่มขึ้นมาก โดยในปี 2016 เหล่า Beauty Startups ระดมเงินทุนสนับสนุนไปกว่า 74 ครั้ง หรือมากกว่า 424 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีข้อตกลงด้านการลงทุนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก นักลงทุนต่างๆ มีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจด้านความงามเติบโตขึ้นไปอีกระดับและทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น วันนี้เราจะมาดูกันว่า Beauty Startups รายไหนบ้างที่น่าจับตามอง

1. GLOSSIER

Glossier เริ่มต้นในปี 2014 โดย Emily Weiss เจ้าของ beauty blog ชื่อดัง Into the Gloss และโด่งดังกับ packaging อันน่ารักและเป็นเอกลักษณ์ กับ skincare ที่เน้นความเป็นธรรมชาติมากกว่าการแต่งหน้า เร็วๆ มานี้ Glossier เพิ่งได้รับเงินระดมทุนในระดับ Series B ไป 24 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตัวบริษัทตั้งใจจะนำไปพัฒนาระบบขนส่งไปสู่ต่างประเทศและปล่อยสินค้าใหม่ๆ อย่าง sunscreen และ moisturizer

2. MILK MAKEUP

Milk Makeup แบรนด์น้องใหม่ที่เหมาะกับ ‘cool girl’ หรือสาวเท่ที่รักความมีสีสัน เปิดตัวเมื่อต้นปี 2016 โดย Creative agency ‘Milk Studios’ ในคอนเซ็ปต์แบบมินิมอล แต่เพิ่มความสดใสมากกว่า Glossier โดยเฉพาะกับ product สำหรับแต่งตาและปาก สิ่งที่น่าจับตาของ Startup รายนี้คือเริ่มต้นมาด้วยการกวาดรางวัล จากนิตยสารแฟชั่นหลายอย่างทั้ง Teen Vogue: Coolest Beauty Brands of 2016 และ Best Newbie Brand Award จาก Cosmopolitan รวมถึง Besty of Beauty Award จาก Instyle ด้วย

3. MEMEBOX

Memebox Beauty Startup สัญชาติเกาหลี ที่ปิดการระดมทุนไปที่ 160 ล้านดอลลาร์ แซงหน้าแบรนด์ดังอย่าง Ipsy ไป โดยมี accelerator ชื่อดังอย่าง Y Combinator ให้การสนับสนุน Memebox มีรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเกาหลี และพยายามขายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศมากขึ้น ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังมีลูกค้าหลักๆ อยู่ในเกาหลีก็ตาม โดยโฟกัสไปที่การทำเว็บไซต์ออนไลน์ควบคู่ไปกับหน้าร้าน โดยปัจจุบันสามารถทำเงินได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์ต่อปี

4. SEED BEAUTY

SEED BEAUTY เป็น Incubator ให้กับแบรนด์เครื่องสำอางน้องใหม่ชื่อดังที่ ถ้าพูดชื่อไปทุกคนจะต้องรู้จักอย่าง Colourpop ที่เรียกตัวเองว่าเป็น ‘Cult beauty brand’ และ Kylie Cosmetics ของ Kylie Jenner ที่โด่งดังกับลิปสติกสีนู้ดๆ และ earth tone

สำหรับวันนี้เราจะพูดถึง Colourpop ที่น่าจับตามอง หลังจากเปิดตัวไปเมื่อปี 2014 และติตตลาดอย่างรวดเร็วจากการรีวิวของ beauty bloggers มากมาย โดยออกลิปสติกแบบ liquid ออกมาในราคาจับต้องได้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของ Colourpop มีราคาเพียง 5-8 ดอลลาร์เท่านั้น แถมยังออกของใหม่อยู่บ่อยๆ ด้วย

SEED BEAUTY เป็น Incubator ที่มีศูนย์วิจัยเป็นของตัวเองและผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับแบรนด์เครื่องสำอางมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ Colourpop สามารถออก product ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

5. MATCHCO

ถึงแม้จะมีแบรนด์เครื่องสำอางใหม่ๆ ออกมามากมายแต่ยังไม่ค่อยมีแบรนด์ไหน ที่มีทางเลือกสำหรับ customization สักเท่าไหร่ MatchCo ที่ก่อตั้งเมื่อต้นปี 2016 เป็น Beauty Startup ที่ใช้ application บน iPhone เพื่อสแกนใบหน้าลูกค้าแต่ละคน แล้ววิเคราะห์สีผิวมาสร้างรองพื้นที่เหมาะกับโทนสีได้โดยเฉพาะ ในราคาเพียง 49 ดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าแต่ละคนจะได้รองพื้นที่เป็นสีของตัวเองจริงๆ จบปัญหาหน้าลอยและหน้าคล้ำอย่างแน่นอน จากข้อมูลเมื่อเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว แอปพลิเคชันของ MatchCo ถูกดาวน์โหลดไปแล้วมากกว่า 100,000 ครั้ง แถมยังมีสถิติที่น่าสนใจคือ ฐานลูกค้าของแบรนด์อยู่ในช่วงอายุ 40 ปี และมากกว่านั้น

6. FUNCTION OF BEAUTY

Function of Beauty เป็นแบรนด์ที่ให้ลูกค้าสามารถ customize แชมพูและครีมนวดได้ โดยจะสร้างในขนาด 8 ออนซ์ ลูกค้าสามารถเลือกให้เข้ากับสภาพผมและปัญหาที่ต้องการแก้ได้ทั้ง ผมเสียแตกปลาย ผมหยิก ผมมัน และเสียจากการใช้ความร้อน

Function of Beauty จบจากโปรแกรม accelerator ของ Y Combinator และได้รับการระดมทุนในรอบ seed round เมื่อปีที่แล้วไป 1.5 ล้านดอลลาร์ และทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้กว่า 50% ทุกเดือนตั้งแต่ 6 เดือนแรกของการปล่อยสินค้าสู่ตลาด

7. STYLESEAT

StyleSeat เป็น startup ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2011 โดยให้บริการจองร้านเสริมสวย ทั้งร้านทำผมและช่างแต่งหน้าให้กับลูกค้า โดยเว็บไซต์มีผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคนและรวบรวมช่างเสริมสวยไว้กว่า 400,000 คนไว้ในที่เดียว

เมื่อปีที่แล้ว StyleSeat ได้ควบรวม BeautyBooked แพลตฟอร์มสำหรับการจองร้าน spa เข้าไปด้วย ซึ่งช่วยให้บริษัทขยายกิจการออกไปมากกว่าแค่ช่างเสริมสวยที่เป็น freelance รวมถึงเพิ่มลูกค้าใน New York และ LA ด้วย

8. EVER

EVER เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของ Stella & Dot เว็บไซต์ e-commerce ชื่อดัง ซึ่งทำให้แบรนด์ EVER ติดตลาดอย่างรวดเร็ว แบรนด์ของ Stella & Dot รวมทั้ง EVER และ Keep Collective ทำยอดขายได้กว่า 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยมีผู้ขายกว่า 50,000 คนใน 6 ประเทศ ถือเป็นโมเด็ลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับเว็บ Beautycounter และยังเติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนกับ startup อย่าง Glossier ด้วย

9. BEAUTYCOUNTER

มาถึงเจ้าที่เพิ่งกล่าวถึงไป คือ Beautycounter เว็บไซต์ e-commerce ที่โด่งดังกับ skincare และเครื่องสำอาง ในปี 2016 แบรนด์ทำเงินได้ 225 ล้านดอลลาร์ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินไปกับการลงโฆษณาสักเท่าไหร่ เพราะ Beautycounter มีผู้ขายในเว็บไซต์อยู่กว่า 20,000 รายและต่างคนต่างก็โปรโมตสินค้าผ่านทางช่องทางของตัวเองทั้งบนหน้าเว็บไซต์และ social media โดยแต่ละเจ้าจะโดนหัก 35% ของรายได้ให้กับ Beautycounter สิ่งที่โดดเด่นของแบรนด์คือการให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และมีข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ส่วนผสมในเครื่องสำอาง

10. SKIN LAUNDRY

Skin Laundry ก่อตั้งเมื่อปี 2013 ให้บริการยิงเลเซอร์ให้ผิวหน้า โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผิวสะอาดและช่วยขจัดสิวและริ้วรอย โดยมีสาขาอยู่กว่า 16 แห่งในอเมริกา ลอนดอนและฮ่องกง ล่าสุดได้เข้าไปขายใน Sephora และมีแผนจะไปเปิดสาขาเพิ่มที่ญี่ปุ่นและเกาหลีก่อนปลายปีนี้

11. MADISON REED

Madison Reed เกิดจากไอเดียที่อยากให้สาวๆ สามารถเติมสีผมตัวเองได้ง่ายๆ ที่บ้านโดยไม่ต้องไปถึงร้านทำผมเพื่อเสียเงินแพงๆ โดยเริ่มจากการขายสีย้อมผมบนเว็บไซต์ในราคาเพียง 25 ดอลลาร์ ประกอบไปด้วยเฉดสีกว่า 45 เฉด และสีสำหรับเติมโคนผม 6 เฉด ปัจจุบันเพิ่งเริ่มทำแชมพูและครีมนวดสำหรับคนทำสีผมด้วย Madison Reed ทำเงินได้กว่า 15 ล้านดอลลาร์ในปีก่อน และเปิดหน้าร้านแห่งแรกใน Manhattan เพื่อให้บริการเติมสีผมในราคา 45 ดอลลาร์

ล่าสุดบริษัทได้รับเงินระดมทุนใหม่จำนวน 25 ล้านเหรียญ นำโดย Comcast Ventures ร่วมกับผู้สนับสนุนคนอื่น ๆ ทั้ง Norwest Venture Partners, True Ventures และ Calibrate Ventures

ที่มาของเนื้อหา FastCompany

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...