ส่อง 3 เทคโนโลยี พลิกการตัดสินฟุตบอลโลก 2018 | Techsauce

ส่อง 3 เทคโนโลยี พลิกการตัดสินฟุตบอลโลก 2018

ในที่สุดฟุตบอลโลก 2018 ที่มีรัสเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ ก็ได้เดินทางมาถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายกันแล้ว ปีนี้ถือเป็นปีที่มีเกมส์พลิกความคาดหมายของใครหลายคน และต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีก็มีส่วนช่วยกรรมการตัดสิน ชี้เป็นชี้ตายแต่ละทีมใน 64 แมตช์ที่เกิดขึ้นในฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นอย่างมาก

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และมีผู้ชมหลักพันล้านทั่วทุกมุมโลกเฝ้าติตตาม ดังนั้นวงการนี้จึงหนีไม่พ้นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ยกระดับ หรือที่เราเรียกกันว่า ‘Digital Transformation’

หากมองย้อนกลับไป ฟุตบอลโลกมีการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ อย่างการถ่ายทอดสด และการจัดงานอยู่เสมอ แต่สิ่งที่ทำให้ปีนี้มีความแตกต่างก็คือ การนำเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลกระทบและเปลี่ยนแปลงการตัดสินในสนามไปอย่างสิ้นเชิง

เทคโนโลยี Goal-Line

ฟุตบอลโลกปี 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล มีการประเดิมใช้เทคโนโลยี Goal-Line ขึ้นเป็นครั้งแรก กรรมการเริ่มมีตัวช่วยในการตัดสินว่าลูกบอลได้เข้าประตูไปแล้วจริงหรือไม่ ซึ่งในปีนั้น Karim Benzema นักเตะทีมชาติฝรั่งเศสถือเป็นคนแรกที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ เมื่อลูกยิงของเขาได้ข้ามผ่านเส้นประตูเข้าไปเพียงเสี้ยววินาทีก่อนจะโดนผู้รักษาประตูคว้าออกมา

สำหรับปีนี้ ได้มีการใช้ กล้อง high-speed จำนวน 14 ตัวที่สามารถส่งสัญญาณผ่านนาฬิกาข้อมือให้กับผู้ตัดสินได้ภายใน 1 วินาทีเมื่อมีการทำประตูเกิดขึ้น

เทคโนโลยี VAR (Video Assistant Referee)

หลังจากผ่านฟุตบอลโลก 2014 ผู้ชมต่างเรียกร้องหาเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมให้การตัดสินมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แม้หลายปีที่ผ่านมา มีกีฬาหลากหลายประเภทหันมาใช้เทคโนโลยี VAR ช่วยในการตัดสิน อย่าง อเมริกันฟุตบอล, บาสเกตบอล NBA, รักบี้ และ เทนนิส แต่มีเพียงกีฬาฟุตบอลที่ไม่เคยนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงในเดือนมีนาคม 2018 เมื่อ IFAB (The International Football Association Board) ได้อนุมัติให้ใช้ VAR กับฟุตบอลได้

Photo by Joern Pollex - FIFA/FIFA via Getty Images

หลักการง่ายๆ ของ VAR คือการ Replay ภาพในมุมต่างๆ ด้วยกล้อง Super slow-motion เพื่อดูจังหวะที่คลุมเครือ อย่างการทำฟาล์ว หรือ จังหวะล้ำหน้า ด้วยทีมผู้ช่วยผู้ตัดสิน 4 คนประจำ ณ ห้องสังเกตการณ์ที่เรียกว่า VOR (Video Operation Room) ในกรุงมอสโก โดยผู้ช่วยสามารถสื่อสารกับกรรมการในสนาม เพื่อให้คำแนะนำได้

ผลจากการนำเทคโนโลยี VAR มาใช้ ทำให้ฟุตบอลโลกปีนี้ มีผลพลิกผัน เรียกได้ว่าเกือบจะทุกคู่เลยทีเดียว โดยเฉพาะคู่เกาหลีใต้ที่พาแชมป์เก่าเยอรมันตกรอบไปด้วย!

Electronic Performance & Tracking Systems

เทคโนโลยีที่สามที่ FIFA นำมาใช้กับฟุตบอลโลก 2018 คือ Electronic Performance & Tracking Systems หรือ EPTS ซึ่งเป็นระบบบนอุปกรณ์ tablet ที่แจกจ่ายให้กับทุกๆ ทีม เพื่อเข้าถึงข้อมูลสถิติของผู้เล่น ทั้งตำแหน่งการยืน การผ่านบอล การไล่บอล ความเร็ว และการแย่งบอล รวมถึงแสดงภาพ vdo แบบเรียลไทม์

Photo by Alex Grimm - FIFA/FIFA via Getty Images

โดยแต่ละทีมจะได้รับ tablets 3 เครื่อง แบ่งตามการใช้งาน 1 เครื่องสำหรับวิเคราะห์เกมส์จากบนอัฒจันทร์ 1 เครื่องสำหรับวิเคราะห์เกมส์จากม้านั่งสำรอง และอีก 1 เครื่องสำหรับทีมแพทย์ ซึ่งข้อมูลทางเทคนิคเหล่านี้ต่างช่วยประกอบการตัดสินใจการแก้เกมส์ของทีมโค้ชให้แม่นยำและฉับไวยิ่งขึ้น

แล้วนอกจากเทคโนโลยีสามอย่างในข้างต้นที่กล่าวไป คุณผู้อ่านคิดว่าควรมีเทคโนโลยีอะไรอีกบ้าง ที่น่านำมาใช้กับวงการฟุตบอล?

อ้างอิงภาพและเนื้อหา FIFA และ Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...