ส่อง 3 เทคโนโลยี พลิกการตัดสินฟุตบอลโลก 2018 | Techsauce

ส่อง 3 เทคโนโลยี พลิกการตัดสินฟุตบอลโลก 2018

ในที่สุดฟุตบอลโลก 2018 ที่มีรัสเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ ก็ได้เดินทางมาถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายกันแล้ว ปีนี้ถือเป็นปีที่มีเกมส์พลิกความคาดหมายของใครหลายคน และต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีก็มีส่วนช่วยกรรมการตัดสิน ชี้เป็นชี้ตายแต่ละทีมใน 64 แมตช์ที่เกิดขึ้นในฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นอย่างมาก

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และมีผู้ชมหลักพันล้านทั่วทุกมุมโลกเฝ้าติตตาม ดังนั้นวงการนี้จึงหนีไม่พ้นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ยกระดับ หรือที่เราเรียกกันว่า ‘Digital Transformation’

หากมองย้อนกลับไป ฟุตบอลโลกมีการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ อย่างการถ่ายทอดสด และการจัดงานอยู่เสมอ แต่สิ่งที่ทำให้ปีนี้มีความแตกต่างก็คือ การนำเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลกระทบและเปลี่ยนแปลงการตัดสินในสนามไปอย่างสิ้นเชิง

เทคโนโลยี Goal-Line

ฟุตบอลโลกปี 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล มีการประเดิมใช้เทคโนโลยี Goal-Line ขึ้นเป็นครั้งแรก กรรมการเริ่มมีตัวช่วยในการตัดสินว่าลูกบอลได้เข้าประตูไปแล้วจริงหรือไม่ ซึ่งในปีนั้น Karim Benzema นักเตะทีมชาติฝรั่งเศสถือเป็นคนแรกที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ เมื่อลูกยิงของเขาได้ข้ามผ่านเส้นประตูเข้าไปเพียงเสี้ยววินาทีก่อนจะโดนผู้รักษาประตูคว้าออกมา

สำหรับปีนี้ ได้มีการใช้ กล้อง high-speed จำนวน 14 ตัวที่สามารถส่งสัญญาณผ่านนาฬิกาข้อมือให้กับผู้ตัดสินได้ภายใน 1 วินาทีเมื่อมีการทำประตูเกิดขึ้น

เทคโนโลยี VAR (Video Assistant Referee)

หลังจากผ่านฟุตบอลโลก 2014 ผู้ชมต่างเรียกร้องหาเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมให้การตัดสินมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แม้หลายปีที่ผ่านมา มีกีฬาหลากหลายประเภทหันมาใช้เทคโนโลยี VAR ช่วยในการตัดสิน อย่าง อเมริกันฟุตบอล, บาสเกตบอล NBA, รักบี้ และ เทนนิส แต่มีเพียงกีฬาฟุตบอลที่ไม่เคยนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงในเดือนมีนาคม 2018 เมื่อ IFAB (The International Football Association Board) ได้อนุมัติให้ใช้ VAR กับฟุตบอลได้

Photo by Joern Pollex - FIFA/FIFA via Getty Images

หลักการง่ายๆ ของ VAR คือการ Replay ภาพในมุมต่างๆ ด้วยกล้อง Super slow-motion เพื่อดูจังหวะที่คลุมเครือ อย่างการทำฟาล์ว หรือ จังหวะล้ำหน้า ด้วยทีมผู้ช่วยผู้ตัดสิน 4 คนประจำ ณ ห้องสังเกตการณ์ที่เรียกว่า VOR (Video Operation Room) ในกรุงมอสโก โดยผู้ช่วยสามารถสื่อสารกับกรรมการในสนาม เพื่อให้คำแนะนำได้

ผลจากการนำเทคโนโลยี VAR มาใช้ ทำให้ฟุตบอลโลกปีนี้ มีผลพลิกผัน เรียกได้ว่าเกือบจะทุกคู่เลยทีเดียว โดยเฉพาะคู่เกาหลีใต้ที่พาแชมป์เก่าเยอรมันตกรอบไปด้วย!

Electronic Performance & Tracking Systems

เทคโนโลยีที่สามที่ FIFA นำมาใช้กับฟุตบอลโลก 2018 คือ Electronic Performance & Tracking Systems หรือ EPTS ซึ่งเป็นระบบบนอุปกรณ์ tablet ที่แจกจ่ายให้กับทุกๆ ทีม เพื่อเข้าถึงข้อมูลสถิติของผู้เล่น ทั้งตำแหน่งการยืน การผ่านบอล การไล่บอล ความเร็ว และการแย่งบอล รวมถึงแสดงภาพ vdo แบบเรียลไทม์

Photo by Alex Grimm - FIFA/FIFA via Getty Images

โดยแต่ละทีมจะได้รับ tablets 3 เครื่อง แบ่งตามการใช้งาน 1 เครื่องสำหรับวิเคราะห์เกมส์จากบนอัฒจันทร์ 1 เครื่องสำหรับวิเคราะห์เกมส์จากม้านั่งสำรอง และอีก 1 เครื่องสำหรับทีมแพทย์ ซึ่งข้อมูลทางเทคนิคเหล่านี้ต่างช่วยประกอบการตัดสินใจการแก้เกมส์ของทีมโค้ชให้แม่นยำและฉับไวยิ่งขึ้น

แล้วนอกจากเทคโนโลยีสามอย่างในข้างต้นที่กล่าวไป คุณผู้อ่านคิดว่าควรมีเทคโนโลยีอะไรอีกบ้าง ที่น่านำมาใช้กับวงการฟุตบอล?

อ้างอิงภาพและเนื้อหา FIFA และ Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' ชวนท่องโลกเทคโนโลยีสุดล้ำ ไปกับรถไฟสายพิเศษ

เผยความพิเศษของ 'KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' 1 Day Event แห่งปี 2024 กับการโชว์เทคสุดล้ำ, Speakers มากกว่า 50 คน มาแชร์ความรู้และเทรนด์ใหม่ๆ ผ่าน 3 เวทีใหญ่ และเวิร์กช...

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...