สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน | Techsauce

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน

เคล็ดลับ ‘30 ปีไม่มีพลาด’ ของสนามบินนานาชาติคันไซ

คุณภาพในการบริการของสนามบินคันไซได้รับการยอมรับในระดับสากลมาแล้วหลายต่อหลายปี ซึ่งในงาน World Airport Awards 2024 สนามบินคันไซก็ได้รับเลือกให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดด้านการจัดการสัมภาระ (อันดับที่ 1) โดยวัดจากประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการรับ-ส่งสัมภาระให้กับผู้โดยสาร ปัจจุบันสนามบินได้รับรางวัลนี้มาแล้วกว่า 8 ปีซ้อน

จากการเก็บข้อมูลล่าสุดในปี 2023 บริษัท SITA ผู้พัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการบินในสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ปัญหาสัมภาระสูญหายจากสนามบินทั่วโลกในปี 2023 มีสูงถึง 7.6 ใบ/ผู้โดยสาร 1,000 คน 

แต่สนามบินคันไซ ที่ในปีเดียวกันต้องจัดการกับกระเป๋าสัมภาระกว่า 10 ล้านใบ แต่ไม่มีใบไหนสูญหายเลย!

แล้วสนามบินคันไซทำยังไง ให้คงคุณภาพได้กว่า 30 ปี?

ตัวอย่างนี้มาจากเรื่องราวของสายการบิน Cathay Pacific Airways โดยเรื่องมีอยู่ว่าหลังจากเครื่องบินลงจอดบนรันเวย์จะมีพนักงาน 5 คนจาก CKTS ซึ่งเป็นบริษัทที่ช่วยขนสัมภาระหรือบริการอื่นๆ ที่สนามบิน นำรถบรรทุกสัมภาระมารับตู้เก็บสัมภาระ และนำไปที่ห้องคัดแยกในอาคารผู้โดยสาร

จากนั้นพนักงานจะรีบคัดแยกสัมภาระทั้งหมดและวางลงบนสายพานที่จะส่งกระเป๋าไปยังผู้โดยสาร โดยแยกตามระดับชั้นที่นั่งของผู้โดยสาร เช่น ชั้นเฟิร์สคลาส ชั้นธุรกิจ หรือชั้นประหยัด

เมื่อจัดส่งสัมภาระครบถ้วนพนักงานจะตรวจสอบอีกครั้งว่าไม่มีสัมภาระหลงเหลืออยู่บนรถ โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 12 นาทีหลังจากเครื่องลงจอด !

ในกรณีที่จำนวนสัมภาระที่แจ้งไว้ต่างจากจำนวนที่พนักงานขนย้ายรับทราบ เจ้าหน้าที่จะเร่งตรวจสอบห้องเก็บสัมภาระบนเครื่องบิน ลานจอดรถรอบๆ และห้องคัดแยกสัมภาระทันที เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดหรือสูญหาย

เห็นได้ชัดว่าเคล็ดลับความสำเร็จของสนามบินคันไซเริ่มจากการ ‘ทำงานอย่างเป็นระบบและรอบคอบ’ ซึ่งด้าน Tsuyoshi Habuta พนักงานจัดการสัมภาระจาก CKTS เผยว่า… 

การสื่อสารภายในทีมและแบ่งปันข้อมูลในการทำงานถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและป้องกันความผิดพลาดจากการคาดเดาไปเอง

นอกจากนี้ CKTS ยังคงพัฒนาคู่มือและกฏเกณ์การจัดการสัมภาระอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเวลาในการจัดการ การจัดวางกระเป๋าให้ผู้โดยสารหยิบได้ง่ายที่สุด จัดการสัมภาระที่เปียกฝนให้แห้งก่อนส่งมอบ หรือแม้แต่การส่งมอบสัมภาระที่แตกหักง่ายด้วยการส่งถึงมือผู้โดยสาร เป็นต้น

แต่ในปี 2025 สนามบินคันไซจะต้องเจอกับความท้าทายสุดหินอย่างงาน Expo 2025 ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาที่โอซาก้าได้ประมาณ 3.5 ล้านคน หมายความว่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้สนามบินคันไซก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมากเกือบ 37 ล้านคน

จึงกลายเป็นความท้าทายสำคัญที่น่าจับตามองว่าสนามบินคันไซจะสามารถรักษาสถิติ 30 ปีไม่มีสัมภาระหายได้หรือไม่

อ้างอิง: asia.nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากงาน MFEC Inspire สู่ DataWise: ก้าวใหม่เพื่อองค์กรของไทยในการยกระดับด้าน Data & AI

เมื่อ Data & AI เป็นเรื่องสำคัญในการ Transform องค์กร ในปัจจุบัน แต่ทว่าความท้าทายทั้งด้านทักษะ ทุน ความเข้าใจ และคน ยังส่งผลให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้ช้าหรืออาจเกิดข้อผิดพลาด นำไปสู่ค...

Responsive image

วันนี้จะดูอะไรดี ? เลือกไปเลือกมาสุดท้ายไม่ได้ดู รู้จัก Streaming Fatigue “ยิ่งตัวเลือกมากยิ่งเหนื่อยใจ”

Streaming บริการที่ควรจะสร้างความสุข กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ต้องปวดหัวกว่าเดิมจนมองไม่เห็นความคุ้มค่าของมันอีกต่อไป เพราะว่าตัวเลือกที่เยอะไป ราคาแพงขึ้น คอนเทนต์น้อยลง นำไปสู่ปั...

Responsive image

Fei-Fei Li เผย AI จะ 'เข้าใจ' ผ่านการเห็นและลงมือทำด้วยพลัง Spatial Intelligence ยุคใหม่ที่ AI ใกล้เป็นจริงขึ้นทุกวัน

การสร้างรูป การเข้าใจองค์ประกอบของโลก ไม่เพียงพอสำหรับ AI อีกต่อไปแล้ว Fei-Fei Li ผู้บุกเบิกด้านปัญญาประดิษฐ์มองว่า อนาคตต่อไปของ AI คือ การมองเห็น เข้าใจ และลงมือทำ...