3 เมกะเทรนด์พลังงาน สู่การใช้ไฟฟ้าวิถีใหม่ แบบที่ประชาชนเป็นผู้กำหนด | Techsauce

3 เมกะเทรนด์พลังงาน สู่การใช้ไฟฟ้าวิถีใหม่ แบบที่ประชาชนเป็นผู้กำหนด

ลองจินตนาการถึงโลกที่เราสามารถสั่งซื้อพลังงานไฟฟ้าได้แบบ On-demand ทั้งในปริมาณที่ต้องการ ได้ทุกที่ทุกเวลา แบบเดียวกับการสั่งซื้ออาหารแบบเดลิเวอรี่ดู ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ภาพนี้อาจเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงจากเทรนด์ของการเติบโตด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน 

สำหรับประเทศไทยก็เริ่มมีความตื่นตัวในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าไม่น้อยเช่นกัน ทั้งจากสภาวะโลกร้อนที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งแก้ไข และตัวนโยบายจากภาครัฐที่เปิดกว้างให้เอกชนสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ในช่วงหลายปีมานี้ ประเทศไทยมีผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมจากภาคเอกชนออกมาอย่างหลากหลาย เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค Digital Disruption ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงไปนักที่จะกล่าวว่า ด้วยความเร็วระดับนี้ เราน่าจะได้เห็นบริการใหม่ๆ ด้านพลังงานแห่งอนาคตออกมาเร็วกว่าที่คาดในช่วง 2-3 ปีที่จะถึง เพื่อต่อยอดไปสู่ความฝันอย่างการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างอิสระ 

ในบทความนี้ GUNKUL SPECTRUM และ Techsauce จะพาไปดู 3 เมกะเทรนด์พลังงานที่จะเปลี่ยนภาพการใช้ไฟฟ้าไปในรูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนกัน

ชาร์จพลังให้โลกหมุนเวียนอย่างไม่หลับไหล 

ตั้งแต่ปี 1985 ญี่ปุ่นคือชาติแรกที่พัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเชิงพาณิชย์ที่สามารถชาร์จใหม่ได้ หรือ Rechargeable battery ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา และ ไฟฟ้าสำรองในรถยนต์ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทางนวัตกรรมอย่างรวดเร็วและกลายเป็นจุดขับเคลื่อนวงการอิเล็กทรอนิกส์ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาตัวแบตเตอรี่ให้สามารถชาร์จได้เร็วขึ้น ใช้ได้นานขึ้น มีน้ำหนักเบาลง และราคาถูก เพื่อให้ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นเทรนด์ต่างๆ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

  • Home Energy Storage

จากเทรนด์การตื่นตัวเรื่องพลังงานทดแทน ทุกวันนี้ เราจึงสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมเพื่อใช้เองได้ง่ายๆ ด้วยการติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อปบนบ้านตัวเอง แต่ปัญหาหลักก็คือการที่เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงแค่เวลากลางวัน และยังไม่สามารถกักเก็บเพื่อนำมาใช้ในเวลาที่ต้องการ อย่างเวลากลางคืนได้ ซึ่งหลายคนก็มองว่า แบตเตอรี่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ผู้ใช้ไฟสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น คล้ายกับเป็น Power bank สำรองสำหรับใช้ในบ้าน

  • รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก

แน่นอนว่าด้วยเทรนด์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั่นทำให้ผู้คนหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV : Electric Vehicle กันมากขึ้น โดยค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นเองอย่างมากมาย แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ ราคา ที่หลายคนยังตั้งคำถามและมีข้อสงสัยว่าจะคุ้มค่าหรือไม่หากเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ายังราคาสูง นั่นก็คือราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในปี 2010 ราคาแบตเตอรี่อยู่ที่ 36,000 บาท/kWh ขณะที่ในปี 2020 ราคาลดลงเหลือเพียงแค่ 4,119 บาท/kWh หรือลดลงกว่า 89% เลยทีเดียว และยังมีแนวโน้มว่าจะปรับลงไปอีกเรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้สามารถเทียบราคากับรถยนต์น้ำมันได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

TESLA หนึ่งในผู้นำแห่งนวัตกรรมยานยนต์ ก็เพิ่งประกาศถึงดีไซน์แบตเตอรี่ตัวใหม่ ที่จะช่วยเร่งกระบวนการผลิตให้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ราคาถูกลง แต่ทรงพลังขึ้นถึง 5 เท่า โดยสามารถจ่ายไฟได้เร็วขึ้นถึง 6 เท่าเลยทีเดียว ซึ่ง TESLA คาดว่าจะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าลงมาถูกกว่ารถใช้น้ำมัน หรือเทียบเท่ากับรถ Eco-car ที่ราคาประมาณ 755,000 บาท ภายในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ 

  • อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญมากในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ หรือ pm 2.5 หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ประเทศจีนที่ประสบปัญหามลภาวะอย่างร้ายแรงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้มีการออกมาตรการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยหนึ่งในนโนบายเด่น คือการโละระบบขนส่งมวลชนที่เป็นของเก่าทั้งหมด และเปลี่ยนมาใช้ รถเมล์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า และ สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแทน พร้อมกับออกมาตรการจูงใจด้านราคาและนโยบายด้านภาษีควบคู่ โดยเป้าหมายของจีนนั้น คือการเลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วประเทศให้ได้ในปี 2025 

หลังจากมีการออกนโยบายนี้ ก็ทำให้จีนพิชิตมลพิษได้จริง ขณะที่ในประเทศไทยปัจจุบันมีรถยนต์ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 40 ล้านคัน หากเราสามารถออกนโยบายที่สนับสนุนให้ผู้ใช้รถในประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าได้ ก็อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้กับประชาชน

อิสระของการเลือกซื้อขายพลังงาน = พลังของผู้คน

ด้วยแนวคิด Energy for Everyone ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น Solar Rooftop ที่ทั้งใช้เอง และสามารถขายไฟส่วนเกินระหว่างกันเองได้ จึงเกิดระบบ Peer-to-peer Energy Trading เปิดให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบอินเตอร์เนต ระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (consumers) ผู้ขายไฟฟ้า (producers) และผู้ที่เป็นทั้งผู้ซื้อไฟฟ้าและผู้ขาย (prosumers) โดยสามารถกำหนดต้นทุนค่าไฟฟ้าตามความพึงพอใจ และแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี 

ในอดีตตลาดไฟฟ้าจะบริหารจัดการเป็นแบบ Bundle ในมัดเดียวเป็นเส้นตรงจากต้นทาง คือ ผู้ผลิตไปสู่ผู้ใช้ แต่การที่จะส่งเสริมให้ประชาชนซื้อขายได้จึงต้อง ‘Un-bundle’ หรือกระจายออกเพื่อให้คนทั่วไปสามารถบริหารจัดการแหล่งพลังงานเองได้ เราจึงได้เห็นการใช้เทคโนโลยีอย่าง blockchain มาเป็นตัวกลางการกระจายด้วย

Peer-to-peer Energy Trading คือการทำให้พลังงานเข้าใกล้ความเป็น Commodity หรือความเป็นสินค้าปลีกที่ซื้อขายได้อิสระ ซึ่งจะนำไปสู่โครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่บน Demand - Supply ที่แท้จริง ทำให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม และยังเปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจด้านพลังงานอื่นๆ เข้ามาช่วยทำให้การซื้อขายยิ่งมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และรวดเร็วขึ้นถึงขั้น Real-time เลยทีเดียว 

ตัวอย่างหนึ่งจากประเทศสิงคโปร์ คือ SOLARSHARE แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ตั้งราคาซื้อขายได้ตลอดเวลา โดยอ้างอิงจากค่ามิเตอร์ไฟฟ้าทุกๆ 30 นาที และส่งคำสั่งซื้อขายไปไว้ในพื้นที่กลาง รอให้ระบบแมตช์ชิ่งกัน ซึ่งความพิเศษของ Peer-to-peer Energy Trading จะไม่ได้อยู่ที่มูลค่าตัวเงินที่อยู่ในตลาดซื้อขายเท่านั้นแต่นี่คือแนวคิดที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่จำกัดการมีส่วนร่วมไม่ว่าคอมมูนิตี้ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะเล็กแค่ไหน สามารถใช้งานจริงได้เช่นทั้งในระดับชุมชนหรือหมู่บ้านที่เป็น Microgrid เท่ากับเป็นการกระจายอำนาจให้กับทุกคนอย่างแท้จริง 

การเติบโตของธุรกิจบริหารจัดการพลังงานครบวงจร

หากมองมาในมุมของภาคธุรกิจ ที่มักเจอกับต้นทุนมหาศาลจากค่าไฟฟ้าทุกเดือน จึงทำให้ปัจจุบันเกิดธุรกิจบริการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร หรือ Energy-as-a-Service (EaaS) มาเป็นตัวช่วยทำให้ทุกคนสามารถประหยัดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยบริการนี้จะช่วยจัดการพลังงานภายในบ้านอย่าง Smart home device ไปจนถึงการบริหารจัดการพลังงานในระดับประเทศหรือภูมิภาคอย่าง Microgrid ครอบคลุมตั้งแต่ 

  • Energy Management ระบบบริหารจัดการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
  • Energy Advice บริการให้คำแนะนำ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • Energy Assets บริการติดตั้ง หรือ สนับสนุนด้านการเงินต้นทุนในการติดตั้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า

ข้อดีมากๆ ของบริการรูปแบบนี้ คือ การชำระค่าบริการแบบระบบ Subscription model (ระบบสมาชิก) หรือ Pay for what you consume (จ่ายเท่าที่ใช้) ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง และสามารถลดค่าใช้จ่ายช่วง Peak-time ได้กว่า 3-10% 

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ startup เกิดขึ้นจากธุรกิจนี้มากมาย เช่น BeeBryte startup สัญชาติฝรั่งเศสที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้คาดคะเนความร้อนและความเย็น และช่วยสร้างอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผู้ใช้ในอาคาร ทำให้สามารถลดค่าไฟลงได้ถึง 40% หรือ ENGIE จากสหรัฐอเมริกา ที่ทำบริการ Resource Management Program ด้วยการดึงข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาประมวลผล และช่วยจัดการพลังงาน โดยตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2017 สามารถช่วยลูกค้าประหยัดค่าไฟไปได้ถึง 3.2 พันล้านบาท 

ปัจจุบันในประเทศไทยเองได้มีการเสนอบริการ EaaS ในบางรูปแบบแล้ว เช่น โครงการ Private PPA (Power Purchase Agreement) โดยผู้ประกอบการเป็นผู้ลงทุนเข้าไปติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้วเก็บค่าไฟจากผู้บริโภคโดยตรงแบบ Pay for what you consume ในราคาที่ถูกกว่า หรือรูปแบบธุรกิจ EaaS อื่นๆ ที่ช่วยลดภาระค่าไฟ ลดภาระการใช้งานไฟฟ้าให้กับธุรกิจต่างๆ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานไฟฟ้าให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น

เมื่อมองจากเมกะเทรนด์ทั้ง 3 แล้ว เป็นที่น่าติดตามต่อไปมากๆ ว่าโลกที่พลังงานจะถูกแลกเปลี่ยนอย่างอิสระนั้นคงจะมาอีกไม่ไกล และการมีส่วนร่วมของ Stakeholder จากหลายภาคส่วนเพื่อทำให้เกิดภาพนั้นได้จริงคงไม่ใช่แค่องค์กรใหญ่เท่านั้นแต่คือส่วนรวมจากทั้งเจ้าของเทคโนโลยี startup และประชาชนผู้ใช้ไฟ  

สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานและเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ หรือสนใจมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงาน สามารถเข้าไปดาวน์โหลด MEGATREND ที่สรุปอย่างละเอียดโดย GUNKUL SPECTRUM หรือ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gunkulspectrum.co

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะรากความสำเร็จ Samsung แชโบลตระกูลสำคัญ ที่มาจากพ่อค้าปลาแห้ง สู่ผู้คุมเศรษฐกิจเกาหลีใต้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะว่าทำไมร้านของชำ Samsung ในเมืองเล็ก ๆ ถึงสามารถเติบโตจนกลายมาเป็นผู้คุมเศรษฐกิจของประเทศได้ แท้จริงแล้วมันมาจากความของเก่งของ Lee Byung-chul อย่างเ...

Responsive image

บทสรุป Accelerate Impact with PRUKSA Season 2 สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม

บทสรุปสุดท้ายตลอดเส้นทาง ของโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA Season2 ที่สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม ในวัน Demo Day...

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...