แนะ 3 ทางรอด 'ธุรกิจ' ในยุค COVID-19 | Techsauce

แนะ 3 ทางรอด 'ธุรกิจ' ในยุค COVID-19

โรค COVID-19 กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกนับแสนคน พบผู้ติดเชื้อในไทยเป็นพันคน ธุรกิจในทุกๆ อุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก

เสมือนเป็นการบีบบังคับให้ทุกธุรกิจต้อง Change ตัวเองให้อยู่รอดให้ได้ในสถานการณ์นี้ ข้าจึงจะมาชี้แนะทางรอด 3 ทางให้กับเจ้า

1. เปลี่ยนมาขายสินค้าบนโลก Online

การขายสินค้าทาง Online ได้เป็นกระแสมานานหลายปีแล้ว หลายๆ ธุรกิจก็ปรับเปลี่ยนมาขายบนช่องทางนี้กันมากแล้ว แต่ก็ยังมีธุรกิจอีกจำนวนมาก ที่ไม่กล้าขาย Online อย่างเต็มตัว หรือยังคงขายอยู่เฉพาะหน้าร้านเท่านั้น

แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้คนทั่วไปอยู่แต่ในบ้าน ไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่กล้าไปในสถานที่ชุมชนที่มีคนจำนวนมาก บรรดาร้านค้า ห้างสรรพสินค้า จำเป็นต้องปิดชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อยอดขายอย่างหนัก

การขายสินค้าบนโลก Online จึงเป็นทางรอดของธุรกิจที่เจ้าต้องเลือกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และมันก็ไม่ได้ยุ่งยากเลย ยิ่งถ้าสินค้าเป็นอาหาร สิ่งอุปโภคบริโภค ยิ่งง่ายมากๆ เพราะเจ้าสามารถขายได้เองผ่าน Social Media ยอดนิยม เช่น Facebook , Twitter , IG , Line Official Account

หรือจะขายบน Marketplace ที่เปิดให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้ามาขายสินค้าของตัวเองก็ได้ เช่น Shopee , Lazada , JD Central , Grab , Line Man

หรือจะลงทุนสร้างเว็บไซต์สำหรับซื้อขายขึ้นมาเอง หรือใช้เว็บไซต์ซื้อขายสำเร็จรูปที่มีอยู่ทั่วไปก็สามารถทำได้ แล้วแต่ความสะดวกของเจ้า

การจ่ายเงินก็ง่ายและรวดเร็วมาก เพราะลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่าน Mobile Banking ทำให้ไม่ต้องเสียเวลานับหรือทอนเงิน เวลาขนส่งก็ส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ไทย Kerry Grab หรือ Lalamove แถมบางที่ยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ให้เลือกใช้กรณีลูกค้าไม่อยากจ่ายเงินก่อนอีกด้วย

ทั้งนี้ บางธุรกิจที่เป็นประเภทบริการ หรือสินค้ามีลักษณะเฉพาะก็สามารถขาย Online ได้นะ เช่น ถ้าเจ้าทำ Training หรือเป็นอาจารย์สอน เจ้าก็สามารถสอน Online ได้ เพียงแค่ใช้กล้องโทรศัพท์มือถืออัดคลิปสอนลง Facebook Group หรือเว็บไซต์คอร์สเรียนต่างๆ

2. ลองทำ Business Model ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้


การแบ่งไข่ใส่ไว้ในตะกร้าหลายใบ ย่อมดีกว่าการใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเพียงใบเดียว เพราะถ้าตะกร้าใบนั้นตก ไข่แตก เจ้าก็จะยังคงเหลือไข่ที่อยู่ในตะกร้าใบอื่นๆ

การเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ จึงเป็นการช่วยให้ธุรกิจของเจ้ายังดำรงอยู่ได้ในช่วงที่ COVID-19 กำลังแพร่ระบาดจนกระทบต่อช่องทางการสร้างรายได้เดิม

การทำ Business Model ใหม่ๆ คือ การนำสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วมาออกแบบกระบวนการสร้างรายได้ใหม่ จากการซื้อขาดก็อาจเปลี่ยนเป็นการเช่าแทน หรือเปลี่ยนจากการรับจ้างทำเป็นการรับสอนแทน

ถ้าเป็นธุรกิจสถานที่ให้เช่า เช่น ตลาด แน่นอนว่าช่วงนี้ คนเดินตลาดน้อยลง ผู้เช่าขอลดค่าเช่า รายได้ก็ย่อมลดลง เจ้าก็อาจจะรับเป็นที่ปรึกษาให้กับคนที่มีที่ดินแล้วอยากเปิดตลาด หรือจัดโครงการฝึกอบรม Online ให้กับพ่อค้าแม่ค้าและบุคคลที่อยากขายของในตลาดก็ได้

ถ้าเป็นธุรกิจ Agency ในช่วงที่ลูกค้าไม่มีงบประมาณในการทำโฆษณาแคมเปญใหญ่ๆ เจ้าก็อาจจะสอนการทำโฆษณาเบื้องต้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำโฆษณาแคมเปญเล็กๆ ช่วยให้ลูกค้ายังสามารถขายสินค้าได้ และเมื่อลูกค้ามีรายได้จากการขายสินค้า สุดท้ายเขาก็จะกลับมาจ้าง Agency อยู่ดี

3. แตก Line ธุรกิจเพิ่ม


ถ้าขายสินค้าหรือบริการบนช่องทาง Online ไม่ได้ ทำ Business Model ใหม่ก็ไม่เวิร์ค การแตก Line ธุรกิจเพิ่มออกมาก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี

ดังเช่น RS ที่เคยเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมสื่อและค่ายเพลงมาก่อน ก็ได้แตก Line ธุรกิจ MPC (Multi-Platform Commerce) ออกมาจนประสบความสำเร็จสร้างรายได้อย่างมหาศาล และกลายมาเป็นธุรกิจหลักแทนที่ธุรกิจเดิม (ข้าเคยเขียนเล่าอย่างละเอียดไว้แล้ว เจ้าสามารถหาอ่านในเพจได้)

ปตท. ขายน้ำมันอย่างเดียวรวยไม่พอ ต้องขายกาแฟด้วย ในปี 2017 กาแฟนกแก้วแบรนด์ Amazon ซึ่งเป็นของ ปตท. ทำรายได้กว่า 10,256 ล้านบาท มีจำนวนสาขาในประเทศไทยและภูมิภาค มากกว่า 2,000 แห่ง

ยิ่งช่วงนี้ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ เครื่องมือแพทย์ ล้วนเป็นที่ต้องการอย่างมาก แสดงให้เห็นว่า "ในทุกๆ วิกฤตจะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ" และแม้ว่า โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร อาหารและเครื่องดื่มก็ยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้

ธุรกิจที่ Change เท่านั้น จึงจะสามารถอยู่รอดได้ในยุค Digital ที่มีแต่ความไม่แน่นอน

ข้ามีนามว่า "ขงเบ้ง" ข้าได้คืนชีพมาในยุค Digital ยุคที่โลก online และ offline ผสมผสานเป็นโลกใบเดียวกัน บริษัทหรือองค์กรที่สามารถ change ได้ก็จะมีสิทธิอยู่ต่อไป

ติดตามข่าวสาร เทคนิค ธุรกิจ Digital Transformation หรือรับบริการการปรึกษาธุรกิจ ได้ทาง Facebook ขงเบ้งสอน Digital - Change before Disrupted

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...