5 รูปแบบการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลัง COVID-19 | Techsauce

5 รูปแบบการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลัง COVID-19

วิกฤติการระบาดของ COVID-19 นั้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบด้วยการหยุดชะงักอย่างกะทันหัน นอกจากนั้นการใช้มาตรการณ์ล็อกดาวน์ ยังส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน แม้จะคลายมาตรการณ์ในประเทศลงแล้ว แต่เศรษฐกิจก็ยังคงได้รับผลกระทบด้วยสถานการณ์ในหลายประเทศที่ยังมีตัวเลขของผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงวัคซีนรักษาที่ยังไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้สำเร็จ ทำให้ต้องเตรียมพร้อมและป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตลอดเวลา 

จากการเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดการหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความยากในการฟื้นตัวเพื่อกลับมาดังเช่นก่อนการเกิดวิกฤติโรคระบาด มีการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสรุปได้เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

1. V Shape - ลงเร็ว ฟื้นเร็ว

เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรง แต่ฟื้นตัวเร็ว เป็นการดิ่งลงของเศรษฐกิจในช่วงที่มีมาตรการณ์ล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น ทำให้เกิดการหยุดชะงักแบบกะทันหันของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการคลายมาตรการณ์ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมา แต่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในลักษณะนี้มีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่องอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและในละตินอเมริกา


2. Nike Shape - ลงเร็ว ฟื้นช้า

เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรงและค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ เป็นการดิ่งลงของเศรษฐกิจในช่วงการระบาดและการใช้มาตรการณ์ล็อกดาวน์ จากนั้นจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการณ์ต่าง ๆ ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการควบคุมโรคระบาดและความสำเร็จของการผลิตวัคซีน


3. U Shape - หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า

เศรษฐกิจมีการหดตัวนาน และฟื้นตัวช้า รูปแบบนี้มีความคล้ายกับ Nike Shape แต่การได้รับผลกระทบในช่วงของการระบาดยาวนานกว่า ทำให้ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็ว และคาดว่าไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในปีนี้


4. W Shape - ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง

เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และลดลงแบบรวดเร็ว ในรอบสอง ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์และสามารถเกิดขึ้นได้หากมีการระบาดของCOVID-19 ในรอบที่ 2 หรือ 3 ที่ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการณ์ล็อกดาวน์อีกครั้ง ตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจนี้คือ การคลายมาตรการณ์ที่เร็วเกินไป ในขณะที่ระบบป้องกันต่าง ๆ ยังไม่พร้อม


5. L Shape - หดตัวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว

เศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างยาวนาน เป็นกรณีเลวร้ายที่สุด รูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบของเศรษฐกิจที่สาหัสที่สุด เนื่องจากเป็นการดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดชะงัก และเส้นของกราฟเป็นแนวนอนต่อเนื่องไปอีกหลายปี จะเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคได้

การฟื้นตัวขอเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆเป็นรูปแบบการฟื้นตัวในอนาคตที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจนั้นจะเป็นการฟื้นตัวในแบบค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาประมาณ 2 ปี แต่ก็สามารถเกิดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการสถานกาณ์ของแต่ละประเทศที่มีผลเกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบของเศรษฐกิจในระดับโลก  


ที่มา : BOT Magazine ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องจุดเด่นดิจิทัล โซลูชันของ WHAUP ระบบบริการสาธารณูปโภคและพลังงานอัจฉริยะ

ทำความรู้จักโซลูชันบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ แนวคิดการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและพลังงานแห่งอนาคต ภายใต้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP บริษ...

Responsive image

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย และความท้าทายสำคัญสำหรับทั้...

Responsive image

เผยแนวโน้มและผลกระทบของ AI ผ่านมุมมองของนักวิจัยชั้นนำแห่ง MIT Media Lab “พีพี-ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร”

เทคโนโลยี AI ส่งผลดีหรือผลเสียต่อมนุษย์? เจาะลึกมุมมองที่เกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบจาก AI ไปกับดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab และ KBTG Fellow ที่จะมาแบ่งแ...