สำหรับ Startup แล้ว เคยสงสัยไหมว่า อะไรเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักลงทุน (Venture Capital) ให้ความสนใจในการลงทุนบ้าง หลายๆ บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนนั้น มักจะมีคุณสมบัติที่น่าสนใจคล้ายๆ กันอยู่ โดยบทความนี้จะวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติดังกล่าว เพื่อช่วยให้ Startup นำไปเป็นเสมือน Checklist เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปขอระดมทุนกัน
1. Product (ผลิตภัณฑ์) Product ที่ทำออกมานั้นน่าดึงดูดแค่ไหน แก้ปัญหา Pain point เรื่องอะไร และ เป็น product ที่จำเป็นต้องใช้ หรือ น่าใช้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลหลายด้านเช่น จำนวน Download Monthly active users, Retention rate, conversion from registered users to paid users rate พูดง่ายๆคือมีลูกค้าที่สนใจและใช้บริการของคุณจริงๆ หรือไม่ ถึงแม้ผลงานจะดูดีแต่ไม่มีคนใช้ โอกาสที่จะได้รับเงินทุนก็น้อยลงทันที
2. Market Size (ขนาดของตลาด) ขนาดของตลาดนั้นใหญ่หรือมีอัตตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน นั่นหมายถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจ จุดสำคัญก็คือ Startup ต้องแสดงให้เห็นภาพว่าทำไมสิ่งที่คุณกำลังนำเสนออยู่มีขนาดของตลาดที่ใหญ่จนน่าดึงดูดจริงๆ มีตัวอย่าง มีตัวเลขบอกที่มาที่ไปของสมมติฐานของคุณ นักลงทุนนั้นมีประสบการณ์ไม่น้อย และรู้ว่าคุณกำลังพูดเรื่องจริงหรือไม่
3. แผนธุรกิจ Business Model ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจที่นำเสนอมีความเป็นไปได้และความน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน สมมุตติฐานของตัวเลขต่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของธุรกิจหรือไม่ มีที่มาที่ไปที่น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ตัวเลขที่เกินความเป็นจริงไปมาก ไม่ได้ช่วยให้ Valuation ดูดี แต่อาจส่งผลถึงความน่าเชื่อถือและสะท้อนถึงความสามารถในการวิเคราะห์การตลาดของ Startup เพราะตัวเลขหรือค่าต่างๆ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบจากแหล่งอื่นๆ ได้อีกมาก
4. Barrier to Entry ตัวธุรกิจมีโอกาสที่จะถูกลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่ อะไรคือความแตกต่าง เช่น ตัวเทคโนโลยีลอกเลียนแบบได้ยาก (Proprietary Technology) เป็น Business model ที่ทำได้ยากหรือใช้เวลานานกว่าจะไล่ตามเราได้ทัน มี Unfair advantage ก็ต้องชูขึ้นมาให้ชัด เพราะนี่เป็นจุดเด่นของธุรกิจคุณเลย นอกเสียจากว่าคุณจะเป็นผู้ครองตลาด มีเครือข่ายขนาดใหญ่ในกำมือไปแล้ว ที่ว่าหาคนไล่ทันได้ยาก นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
5. Management Team (ทีมบริหาร) หนึ่งในคุณสมบัติหลักที่ทางนักลงทุนมองคือทีมผู้บริหารของบริษัทว่ามีวิสัยทัศน์อย่างไร แค่ไอเดียไม่พอแต่มีความสามารถที่จะนำพาธุรกิจไปให้ถึงตามเป้าหมายหรือใหม่ หลายคนน่าจะเคย ได้ยินประโยคนี้ "การลงทุนใน Startup เป็นการลงทุนในตัวบุคลากร” ดังนั้นการเผยประวัติที่ผ่านมาของทีมงานว่ามีความเชี่ยวชาญ (Expert) เฉพาะทางหรือประวัติประสบการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่โดยตรง จะยิ่งเป็นแต้มต่อทันที ถ้าคุณมีของดีอย่าลืมเอามาแชร์ให้รู้กัน
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น มีตัวอย่างของบริษัทที่น่าสนใจในโครงการของอินเว้นท์ Invent อาทิเช่น บริษัท Sinoze ผู้พัฒนาเกมดนตรี Thapster และ Playbasis ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Gamification
คุณธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน (Head of Venture Capital Team) กล่าวว่า “บริษัท Sinoze มีจุดเด่นที่มี Traction ชัดเจน หลังจากการเปิดตัวไม่นานก็สามารถทำยอดดาวน์โหลดได้มากกว่า 1 ล้านดาวน์โหลด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ทางบริษัทสร้างมานั้นเป็นสิ่งที่โดนตลาดจริงๆ ในขณะที่ Playbasis เป็นแพลตฟอร์มด้าน Gamification ที่สามารถ Scale (ขยายธุรกิจ) เป็น Engine ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลายภาคธุรกิจได้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทและลูกค้าของพวกเขา นอกจากนี้ Startup ทั้ง 2 รายถ้าเราไปดูประวัติพวกเขา ก็จะเห็นว่า เป็นทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในตัวธุรกิจของพวกเขาเองเป็นอย่างดี และนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ในการที่เราเลือกลงทุนในตัว Startup”
ในตอนถัดไปเราจะมาพูดคุยกันต่อ ถึงข้อมูลที่ต้องเตรียมตัวเมื่อคุณต้องการขอระดมทุน
เกี่ยวกับ Invent โครงการ Invent โดยบริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นโครงการสนับสนุน Startup ในรูปแบบ Corporate Venture Capital โดยมุ่งเน้นการร่วมลงทุนกับ Startup ที่อยู่ในสายธุรกิจหลักคือ ธุรกิจโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ดิจิตอล คอนเท้นท์ และมีผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่สามารถสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มของอินทัชได้ ณ.ปัจจุบัน Invent ได้เข้าร่วมลงทุนแล้วทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่ Ookbee, MediTech, Computerlogy, Infinity Level, Sinoze และ Playbasis รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้นกว่า 180 ล้านบาท
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด