ทำความรู้จัก 5 ทีม Startup แก้ปัญหาสังคม จาก dtac accelerate batch 7  | Techsauce

ทำความรู้จัก 5 ทีม Startup แก้ปัญหาสังคม จาก dtac accelerate batch 7 

dtac accelerate โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเดินทางมาถึงปีที่ 7 ด้วยความเข้มข้นกว่าเดิม สมกับความยิ่งใหญ่ในฐานะ The Best Demo Day in Asia โดยในปีนี้มีผู้สมัครมากถึง 500 ทีม คัดเหลือ 14 ทีม ผ่านเข้ารอบ Boothcamp และได้รับโอกาส pitching ต่อนักลงทุนในวัน Demo Day ที่ผ่านมา โดยในปีนี้ได้มีเทรนด์ของ Startup มุ่งแก้ปัญหาสังคมที่จะช่วยร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ Digital Economy ในบทความนี้เราได้รวบรวม 5 ทีมที่น่าสนใจมาให้ได้ทำความรู้จักกัน

1. Fingas ปฏิวัติการเข้าถึงบริการทางการเงินของร้านขายอาหารริมทาง

ปัญหาหรือ pain point ที่ผู้ใช้แก๊สหุงต้มมักเผชิญคือ “ความยุ่งยาก” ในการสั่งที่ผ่านร้านค้าคนกลางที่มีจำนวนราว 30,000 ร้านทั่วประเทศเป็นคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเบอร์ร้านแก๊สใกล้บ้าน โทรสั่ง บอกตำแหน่งในการจัดส่ง การนัดหมาย ยิ่งถ้าคนเมืองยุคใหม่ที่ออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืดและกลับถึงบ้านเมื่อแสงอาทิตย์ลับไปแล้ว ยิ่งทำให้การสั่งแก๊สมีความยุ่งยากเข้าไปใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น customer journey ของการสั่งแก๊สก็เป็นเช่นนี้มากว่า 50 ปี

FinGas เป็น marketplace แอปพลิเคชันที่เข้ามาแก้ painpoint ของผู้ใช้แก๊สหุงต้มให้มีความสะดวกขึ้น นอกจากนี้ FinGas ยังทำหน้าที่ที่มากกว่าการเป็น marketplace ด้วยการใช้ “ข้อมูล” ที่ได้จากการใช้บริการในการเป็นข้อมูลในการขอสินเชื่อแก่ร้านค้าประเภท street food นอกจากนั้นยังทำให้กลุ่ม unbanked สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ต้นทุนในการขยายธุรกิจต่ำลง ซึ่งจะเข้ามาตอบโจทย์ในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ หรือ Financial Inclusion ทั้งนี้ นโยบายของธนาคารประเทศไทยต่อการสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินก็เอื้อแก่กลุ่ม unbanked มากขึ้น โดยภาพรวมแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 ของ ธปท. ซึ่งส่งเสริมให้มีการใช้ เทคโนโลยีประกอบการพิจารณาสินเชื่อ (Information based lending) เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึง บริการทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง FinGas จะเข้ามาตอบโจทย์ในแง่ของการนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของการยื่นขอสินเชื่อในระบบมากยิ่งขึ้น

FinGas ทำให้ customer journey ของการสั่งแก๊สง่ายขึ้น ซึ่งสามารถใช้บริการได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน FinGas หรือ Line@ โดยแจ้งจำนวนที่ต้องการ เวลานัดหมาย โดย FinGas จะใช้อัลกอริธึ่มในการหาร้านขายแก๊สที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการอาหารไม่จำเป็นต้องตุนแก๊สเก็บไว้ที่ร้านของตัวเอง ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยขึ้นได้อีก 

ปัจจุบัน FinGas ได้มีการทดลองตลาดไปแล้วในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งมีแทรฟฟิคของการดาวน์โหลดถึง 5,700 ครั้ง มียอดการสั่งกว่า 1,800 รายการ ส่งไปแล้วกว่า 2,500 ถัง สร้างรายได้แล้วกว่า 1 ล้านบาทจากการเก็บค่า transaction fee 5% ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่มีขนาดของตลาดเล็กกว่ากรุงเทพฯ ถึง 8 เท่า 

2. Arincare เชื่อมเครือข่ายร้านขายยาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ตลาดยาของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาทต่อปี ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองเพียงแค่อินโดนีเซีย แต่ปัญหายาแพง ความแออัดของผู้ป่วย และเสียเวลารอรับยา ในโรงพยาบาล ยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของคนไทยที่เป็นมานานและยังหาทางออกไม่เจอ อีกทั้งร้านขายยาในประเทศไทยมีมากกว่า 24,000 ร้าน กระจายอยู่ทุกตำบล นับเป็นจำนวนเกือบ 2 เท่าของ 7/11 แต่ที่ผ่านมาแทบไม่เคยมีการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและร้านขายยาในการดูแลคนไข้

ปัญหาใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการแก้ไขเป็นวาระเร่งด่วนคือความแออัดในโรงพยาบาล ปัญหาการรอนานเพื่อรับยาของผู้ป่วย และปัญหายาแพงในโรงพยาบาลเอกชน

จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยบางรายใช้เวลานานตั้งแต่ 60 - 154 นาทีในการรอรับยาที่โรงพยาบาลหลังจากพบแพทย์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงมีโครงการรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อให้คนไข้ที่ต้องรับยาสามารถกลับบ้านได้เลยหลังการรักษา หรือรับ refill ยาได้จากร้านขายยาใกล้บ้านไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยมีกำหนดการให้บริการทั่วประเทศภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้

Arincare ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการทำระบบใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการประชาชนรับยาได้ที่ร้านยาใกล้บ้านได้อย่างปลอดภัยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการแล้วในจังหวัดนำร่องคือปราจีนบุรี และระยอง และจะขยายผลทั่งประเทศภายในสิ้นปี 2562 ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาราคายาแพง และความแออัดในโรงพยาบาลได้อย่างยั่งยืน

3. ViaBus พัฒนาเวลาคุณภาพช่วยลดเวลารอคอยขนส่งสาธารณะ

คนกรุงเทพฯใช้เวลาในการเดินทางนานขึ้น 35 นาที/การเดินทาง คำนวณเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านเวลา ที่ติดอยู่บนถนน คิดเป็นมูลค่า 11,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ย 60 ล้านบาทต่อวัน Via Bus พัฒนาเวลาคุณภาพช่วยลดเวลารอคอยขนส่งสาธารณะกว่า 5,200 ล้านนาที คิดเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจกว่า 3,300 ล้านบาท

โดย ViaBus เป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมโยงระบบโดยสารสาธารณะผ่านเวียบัสแอปพลิเคชันที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยครอบคลุมกว่า 20 จังหวัดนอกจากกรุงเทพและปริมณฑล มีผู้ใช้งานกว่าหนึงล้านคน ช่วยให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเข้าถึงและตัดสินใจเดินทางระบบโดยสารสาธารณะได้สะดวกขึ้น รองรับการเชื่อมต่อการเดินทางหลากหลายระบบ (Seamless Multimodal Transportation) เช่น รถเมล์ BTS MRT เรือโดยสาร รถมินิบัส สองแถว รถร่วมบขส รถข้ามอำเภอ รถข้ามจังหวัด ทำให้ผู้โดยสารบริหารเวลาและวางแผนได้ง่าย ส่งผลให้ประหยัดรายจ่ายและลดเวลาเดินทางโดยรวม นอกจากระบบขนส่งสาธารณะ ViaBus ยังให้บริการกับระบบโดยสารขององค์กรธุรกิจ ร้านค้า คอนโด หมู่บ้าน หรืออุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการด้านรถโดยสารที่ต้องการเป็นผู้นำสร้างความแตกต่างด้านบริการอีกด้วย

4. System Stone ยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ยุค Digital Workforces

ประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมทุกเซคเตอร์ใหญ่เป็นอันดับ 19 ของโลก อันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเชียมีดัชนีความน่าดึงดูในการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากมาเลเซียมีจำนวนโรงงานมากกว่า 140,000 โรงงาน รวมเงินลงทุน 7 ล้านล้านบาท มีการจ้างงานกว่า 4 ล้านตำแหน่ง แต่ปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย มากกว่า 90% ยังคงมีการใช้กระดาษในการจดบันทึก เก็บรักษาข้อมูล

หัวใจของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกคือเครื่องจักร กระบวนการดูแลรักษาเครื่องจักรเหล่านี้จึงมีความสำคัญและใช้ต้นทุนที่สูงมาก ซิสเต็มส์สโตน (System Stone) Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยีสุดล้ำสมัย ที่จะปฏิวัติรูปแบบการเฝ้าดูแลเครื่องจักรไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยีด้าน Mobile App, Industrial IoT และ AI ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่วิศวกร และช่วยคาดการณ์การเสื่อมสภาพของเครื่องจักรเพื่อการตอบสนองได้อย่างแม่นยำ

การพัฒนา Mobile Application Platform จะถูกออกแบบให้เข้าไปช่วยสนับสนุนให้วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานในโรงงานสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวขึ้น เสริมศักยภาพในการทำงาน ยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ยุค Digital Workforces ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา และเมื่อเราสามารถอัพเกรดภาคอุตสาหกรรมไปสู่ Digital Factory ได้แล้ว การเชื่อมโยงและสร้าง Ecosystem ร่วมกันก็สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนั่นจะเป็นเป้าหมายหลักในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ยุค 4.0

5. Skooldio ลด Skill Gap ช่องว่างความสามารถคนทำงาน

คนไทยจะตกงานอีก 5 ล้านคนใน 10 ปีข้างหน้า จากการใช้ AI และ Automation  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอันรวดเร็วทำให้การศึกษาไม่อาจสิ้นสุดอยู่แค่ในมหาวิทยาลัย Skooldio เชื่อในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยบทเรียนผ่านห้องเรียนจริงและห้องเรียนออนไลน์ ช่วยให้ทุกคนมีความเชี่ยวชาญในทักษะสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงสุดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม วิทยาศาสตร์ข้อมูล กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือการทำธุรกิจดิจิทัล และช่วยองค์กรต่างๆ สร้างทีมงานที่มีความพร้อมที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจของตน บทเรียนครอบคลุม  hard skill ที่ตลาดแรงงาน IT ในปัจจุบันต้องการ แต่สถาบันการศึกษายังผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการอย่าง ทักษะด้าน Cloud Computing, ทักษะด้านการใช้งานปัญญาประดิษฐ์, ทักษะด้านการจัดการทีม (People Management), ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX Design), ทักษะด้านการออกแบบแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

สำหรับทีมที่คว้ารางวัลใน batch นี้ มีทีมไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ใน บทสรุป dtac accelerate Batch 7 กับ Demo Day ที่ร้อนแรงที่สุดในเอเชีย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...