5 ขั้นตอนในการสร้างธุรกิจ FinTech | Techsauce

5 ขั้นตอนในการสร้างธุรกิจ FinTech

บทความนี้เขียนโดย ผศ.ดร. ลลิตา หงษ์รัตนวงศ์

ในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ Startup ด้าน FinTech  ควรเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ดังนี้

  1. ค้นหาปัญหาหรือจุดเจ็บปวดของลูกค้าก่อน ด้วยการตั้งคำถามว่าทำไมปัญหานี้จึงสำคัญ มีใครบ้างที่ได้รับผลกระทบ มีใครเคยพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้แล้วหรือยัง ทำไมถึงยังไม่มีใครคิดหาวิธีแก้ปัญหาเลย ถ้าปัญหานี้ถูกแก้ได้แล้วจะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง และถ้าปัญหานี้ไม่สามารถถูกแก้ไขได้จะเกิดอะไรขึ้น ความต้องการของลูกค้าจริงๆแล้วคืออะไร มีแอพพลิเคชั่นอะไรบ้างที่มีการใช้อยู่ทุกวันนี้ช่วยตอบสนองปัญหาเหล่านี้ ซึ่งการค้นหาปัญหาเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่ลูกค้าต้องการ

  2. เมื่อทราบถึงปัญหาหรือจุดเจ็บปวดของลูกค้าแล้ว จากนั้นก็วางแผนแก้ไขปัญหา โดยเน้นไปที่ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการผลิตภัณฑ์ของเรา โดยสินค้าหรือบริการผลิตภัณฑ์ของเรานั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วอย่างไร โดยสินค้าหรือบริการผลิตภัณฑ์ของเรานั้นควรจะดีกว่าสินค้าหรือบริการผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วอย่างน้อย  10 เท่าขึ้นไป หรือมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ที่จะพัฒนาต่อยอดไปได้อีกหรือไม่ บางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องคิดอะไรขึ้นมาใหม่ แค่ลอกเลียนแบบแล้วทำให้ดีกว่าเดิมก็ได้ 

  3. การเริ่มต้นลงมือแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการทำ Minimal Viable Product (MVP) ซึ่งก็คือการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นมาโดยใช้การลงทุนให้น้อยที่สุดมีฟีเจอร์ในการให้บริการที่น้อยที่สุดและใช้งานง่ายที่สุดเพื่อทดสอบตลาด ว่าสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการได้หรือไม่ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของ Minimal Viable Product (MVP) ก็คือการเรียนรู้แบบ Lean Startup หรือการเริ่มทำธุรกิจโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคุณค่าหลักที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าจะได้รับ จากนั้นก็มีการวัดผลและเรียนรู้เพื่อนำมาปรับผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไป

  4. จากนั้นก็เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) โดยใช้หลักแนวคิด Proof of Concept (POC) ซึ่งเป็นการทดลองทดสอบแนวคิดในการออกแบบหรือการทดสอบสมมติฐาน เพื่อสาธิตการใช้งานและยืนยันแนวคิดหรือทฤษฎีที่สามารถจะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ จากนั้นจึงทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบออกมาเพื่อให้นักนวัตกรรมสามารถเห็นการทำงานของผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์หรือบริการจะช่วยให้ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกิดแนวคิดในการออกแบบ (Design) การนำทาง (Navigation) และการจัดวาง (Layout)  

  5. เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ เรื่องของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ได้แก่ สิทธิบัตรที่พัฒนาขึ้นเองหรือการไปซื้อสิทธิบัตรมาพัฒนาต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราถูกลอกเลียนแบบไป

โดยในหลักสูตร FinTech ของ Harbour Space University at UTCC ได้ให้นักศึกษาเลือกบริษัท FinTech มาคนละ 1 บริษัท เพื่อมาทำ Customer Journey หรือ การเขียนรายงานเส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนจะมาเป็นลูกค้า จนถึงการเป็นลูกค้าจริงๆ ของบริษัท FinTech เหล่านี้  เพื่อให้เข้าใจถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท FinTech เหล่านี้มากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์โดยตรงของนักศึกษาเองและจากเพื่อนร่วมชั้น ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการจ่ายเงินหรือโอนเงินระหว่างประเทศ ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยหลายแห่งจะสามารถให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศได้แล้ว แต่ก็ยังมีหลายประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยยังไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุมถึง ดังนั้นธุรกิจ FinTech อย่าง TransferWise ซึ่งเป็นบริษัท FinTech ในด้าน Payments ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในการโอนเงินระหว่างประเทศโดยมีค่าธรรมเนียมที่ถูกและสามารถโอนเงินให้กับผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว การจ่ายเงินสามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง บัตรเครดิตและบัตรเดบิต หรือการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง หรือการใช้ QR Code เพื่อทำการจ่ายเงิน ส่วนผู้รับก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้ผู้รับไปรับเงินที่สาขาของ Western Union ที่ผู้รับสะดวก หรือจะรับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง ซึ่งผู้โอนเงินจะต้องยืนยันตัวตนในระบบการจ่ายเงินนี้ เช่น การอัพโหลดบัตรประจำตัวประชาชนและถ่ายภาพเซลฟี่ หรือสามารถไปยืนยันตัวตนที่สาขาของ Western Union ที่ผู้โอนสะดวกก็ได้ 

A screenshot of a computer program 
Description automatically generated with low confidence

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอน อาจารย์ Martin Pasek จาก Harbour Space University at UTCC โดย Martin เคยทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูงในวาณิชธนกิจ ทั้ง JP Morgan และ Credit Suisse โดยระดมทุนให้กลับบริษัทต่างๆหลากหลายอุตสาหกรรมมามากกว่า 20 ปี และในปัจจุบันเขาได้ระดมทุนให้กับบริษัทเทคโนโลยีที่เขาก่อตั้งเอง ร่วมก่อตั้ง เป็นผู้บริหารและหรือให้คำปรึกษา มาแล้วหลายล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ Martin ได้ช่วยผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ในการวางแผนกลยุทธ์การจัดหาเงิน การประมาณการทางการเงิน การวางแผนสร้างแบบจำลองในการจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น การทำแผนนำเสนอนักลงทุนเพื่อให้ได้เงินทุนสนับสนุน การคำนวณมูลค่าของกิจการ การประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักลงทุนให้มาร่วมลงทุนในกิจการเหล่านี้ เป็นต้น

บทความนี้เขียนโดย ผศ.ดร. ลลิตา หงษ์รัตนวงศ์


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...