การขับเคลื่อน FinTech ด้วยเทคโนโลยี คงไม่ใช่การสร้างอะไรล้ำๆ แต่คือทำอย่างไรเพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานลูกค้าดีที่สุด โดยเฉพาะคนในยุคนี้ที่มีทางเลือกมาก ถ้าบริการไหนไม่สามารถเข้าไปกลมกลืนกับพฤติกรรมในชีวิตได้ แป๊ปเดียวก็เลิกใช้เลย
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดขึ้นรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการเรียก Taxi ที่เจอแอปฯ เข้ามาช่วยการเรียกสะดวกขึ้น, การจองที่พักผ่าน Airbnb, การซื้อของใช้ทั่วไปที่ปกติไปซื้อตามห้าง แม้หลายๆ บริการยังไม่ได้เข้ามาแทนที่ แต่ส่วนใหญ่คือการมุ่งเน้นในการแก้ปัญหา และทำให้ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น ในฟากของ FinTech หลาย segment ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มาดูสรุปนวัตกรรม 6 อย่างที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก FinTech กัน
ใช่แล้ว Chat app ที่กลุ่มนักการตลาดหลังๆ กำลังให้ความสนใจนี่แหล่ะ ปัจจุบันการสื่อสารรูปแบบนี้กำลังได้รับความสนใจในโลกของธนาคารเป็นอย่างมาก Facebook เปิดตัว Messenger Platform ที่ช่วยในการโต้ตอบเชิงลึก และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากขึ้น TD Bank เป็นหนึ่งในธนาคารแรกที่นำ Chat application มาใช้ในเชิง customer service
นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่พัฒนาด้านนี้เพื่อตอบโจทย์สายธนาคารโดยเฉพาะอย่าง Active.ai
ส่วนบริษัทไทยที่รับทำอยู่อาทิ Computerlogy ที่มาพร้อมกรณีศึกษาอย่างการจับมือร่วมกับ StockRadars
เรื่องของความปลอดภัยและความสะดวก/ง่ายมักอยู่ตรงข้ามกันเสมอ หนึ่งในการ Authentication ที่ถูกพูดถึงในเวลานี้คือ Biometric Authentication ไม่ว่าจะเป็นการสแกนเรตินา และลายนิ้วมือ แต่ก็ยังมีหลายคนกังวลเรื่องความเสี่ยงอยู่มาก
และ Biometric กำลังเข้ามายังโลก FinTech เช่นกัน โดยกว่า 50 สถาบันการเงินทั่วโลกกำลังเริ่มอิมพลีเม้นท์ Biometric Authentication ที่ Contact Centers ยิ่งถ้าธุรกิจสายการเงินเข้ามาทดสอบ เชื่อว่าจะเป็นตัวเร่งด้านความปลอยภัยจะถูกปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
เราเริ่มคุ้นเคยกับการสั่งงานด้วยเสียงผ่านสมาร์ทโฟนในการค้นหาข้อมูล เรียกชื่อคนเพื่อโทรออก หรือส่งข้อความ ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา Capital One เป็นสถาบันการเงินรายแรกที่เปิดให้ลูกค้าใช้บริการได้ผ่านทางเสียง บริการที่สามารถทำได้คือ ตรวจสอบยอด และทำการชำระเงิน โดยผ่าน Alexa-enabled device ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะทำได้มากกว่านี้
จากบทความ Mark Ryan “Will Voice Recognition Kill Online Banking?” กล่าวว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มผู้ให้บริการทั้งหลายกำลังมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้ให้ดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น Google Now, Amazon Alexa Channel, Microsoft Cortana, Facebook's M และ Nuance Dragon
ในโลกของธุรกิจการเงินการธนาคาร IoT ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่กำลังมา หลายองค์กรมองว่าจะนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร รูปแบบกรณีศึกษาที่นำมาใช้คือ บริการ Mobile Banking บนอุปกรณ์กลุ่ม Wearable Device ในขณะที่ Fitbit เข้าซื้อกิจการ Startup ด้าน Mobile payment โดย Fitbit เล็งว่าจะเอามาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของตัวเอง เพื่อใช้ในการชำระเงินที่ POS ต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมองไปถึงการแจ้งเตือนต่างๆ จากสถาบันการเงิน และในอนาคตมองไปถึงการนำเรื่อง Location มาใช้ด้วย
ภาพจาก palco23
ถ้าก้าวไปอีกขึ้นคือการที่ตู้เย็นสามารถสั่งสินค้าและทำการจ่ายเงินให้กับร้านค้าได้ เมื่อวัตถุดิบต่างๆ ในตู้เย็นเริ่มเหลือน้อย หรือรถยนต์ของคุณทำการจ่ายเงินให้ขณะที่เติมน้ำมันเลย
หัวข้อนี้คงไม่ต้องพูดถึงกันเยอะ เพราะมีเกริ่นไว้ในหลายบทความ Blockchain ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ สามารถเชื่อถือ ตรวจสอบ และมีความโปร่งใส โดย Chris Skinner ได้อธิบายถึง 5 แกนหลักในการนำ Blockchain มาใช้ในสายธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย
Blockchain จะนำธุรกรรมต่างๆ ขึ้นไปอยู่บนดิจิทัลและกำจัดงานที่เดิมต้องใช้กระดาษ เพราะเมื่อ Record ถูกบันทึกไว้บน Shared ledger แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกบันทึกไว้หมดทั้งวันเวลา ต้นทาง ปลายทาง ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เป็นการลดงานคนกลางลง ในอนาคตลองจินตนาการดูว่า การซื้อรถ บ้าน และคอนโด การทำธุรกรรมจะถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนหมด
คอมพิวเตอร์ที่พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่มนุษย์ป้อนกำลังมาแรงในปีนี้ IBM Watson เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เด่นด้าน Artificial Intelligence (AI) โดยทำความเข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถปรับปรุงอัลกอริทึมเพื่อรองรับการมาของ Big Data ได้ โดยมุ่งไปที่เป้าหมายหลักคือ การช่วยให้มนุษย์ตัดสินใจได้ไวขึ้นและแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้น
บ้านเรามีโครงการกระตุ้นการนำเทคโนโลยีของ IBM Watson มาใช้โดยจัดขึ้นในรูปแบบของการแข่งขัน
อีกกรณีศึกษา คือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในสาขาที่ญี่ปุ่น โดยธนาคาร Mizuho และ SoftBank ใช้ชื่อว่า Pepper สามารถสื่อสารได้หลายภาษา, มีเซนเซอร์ และระบบ AI ที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะไปพร้อมๆ กัน
นวัตกรรมและเครื่องมือต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องตามให้ทัน แต่สุดท้ายแล้วต้องกลับไปตอบโจทย์ให้ได้ว่า แก้ปัญหา มอบคุณค่าอะไรให้ลูกค้า ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นได้อย่างไร การค้นหา Insight โดยนำเดต้าทั้ง Unstructured Data และ Structured Data มาร่วมกันวิเคราะห์ ทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรม เพื่อคาดการณ์และนำเสนอโซลูชั่นที่ Customize แต่ละกลุ่มและบุคคลให้ได้มากที่สุด ที่มา: thefinanser
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด