ชายหนุ่มผู้หลงใหลในเรื่องนวัตกรรมที่ต้องการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน techsauce มีโอกาสได้พบเขาในวันที่มาเป็นวิทยากรพิเศษงาน Techsauce Global Summit 2018 เรื่องราวและมุมมองของเขาน่าสนใจมาก จนเราอยากนำมาขยายความต่อเป็นบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้
เรากำลังพูดถึงพัทน์ ภัทรนุธาพร ผู้ร่วมก่อตั้ง Futuristic Research Cluster of Thailand หรือ FREAK LAB ในขณะเดียวกันก็กำลังศึกษาที่สถาบันชั้นนำระดับโลกอย่าง MIT Media Lab มีความหลงใหลในการพัฒนา Prototyping ในโครงการท้าทายที่หลายคนมองว่าเป็นไปไม่ได้ เขาเคยแชร์เรื่องราวเหล่านี้ใน TEDx Talk เมื่อหลายปีก่อน “Protyotyping the Impossible”
งานของเขาคือการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี และนี่คือตัวอย่างของโครงการของเขา อาทิ เทคโนโลยีที่สามารถสวมใส่และดูการตอบสนองทางอารมณ์ในระดับฮอร์โมนของมนุษย์, งานเจ๋งๆ อย่าง Hologram อาหารไทย, 3D printer ที่สามารถใช้อารมณ์ควบคุมได้ ฟังแล้วไม่ธรรมดาใช่ไหม?
ก่อนจะเข้าสู่บทสัมภาษณ์ เราขอออกตัวก่อนว่า DeepTech ในบทความนี้เราไม่ได้หมายถึงงานวิจัยที่พัฒนาแล้วไปอยู่บนหิ้ง ไม่ใช่เรื่องที่พัฒนาอะไรลึกๆ แต่จับต้องไม่ได้ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ แต่เรากำลังสื่อถึงการพัฒนาสิ่งที่เชื่อมโยงโลกของมนุษย์ทางด้านชีวภาพ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้อย่างไรต่างหาก ว่าแล้วไปพูดคุยกับพัทน์กันเลยดีกว่า
ผมมีโอกาสได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ ในช่วงปีสุดท้ายของระดับมัธยม ครั้งแรกที่พบรู้สึกประทับใจ MIT คือช่วงราวๆ ปี 2010 ผมได้ดู TED Talk ของ Pattie Maes ซึ่งเป็น Professor อยู่ MIT หลายคนรู้จักเธอในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้าน Human-Computer Interaction ใน Talk นั้นเธอนำเสนออุปกรณ์ Wearble ที่ให้คนสามารถ Interface กับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยการแสดงท่าทางเหมือนในหนัง SciFi เลย
สิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเห็นว่าบนโลกใบนี้มีคนที่อยากสร้างอุปกรณ์อนาคตอย่างที่เห็นในภาพยนตร์ให้เกิดขึ้นจริง ต่อจากนั้นผมก็เลยอีเมลหาเธอ พร้อมงานที่ผมพัฒนาขึ้นมา และกล่าวถึงแรงบันดาลใจจาก Talk ของเธอในครั้งนั้น เธอตอบกลับมาพร้อมกับให้กำลังใจผมให้มุ่งมั่นในการพัฒนาต่อไป
หลังจากนั้นผมก็สมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีที่ MIT แต่ไม่ได้รับการตอบรับเข้า ผมจึงสมัครเข้าไปยังมหาวิทยาลัยอื่นที่เน้นเรื่อง BioTechnology และ BioDesign ครับ ในช่วงนั้นผมยังสนใจและทำโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และได้พบเพื่อนที่ต่อมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Startup ที่ชื่อ Humanity X ที่นำ AI มาใช้มอนิเตอร์ด้านจิตใจและป้องกันการฆ่าตัวตาย โครงการนี้เกิดจากงาน Hackathon ที่ชื่อ Hacks for Humanity โดยปัจจุบัน Humanity X ยังคงดำเนินธุรกิจเป็น Social Enterprise
ผมเรียนรู้จากโครงการนี้เยอะมากครับ ทั้งเรื่องการขยายธุรกิจและการนำเทคโนโลยีมาใช้กับผู้คน หลังจากที่เรียนจบพร้อมกับงานวิจัยที่ชื่อ “Bio HCI – Biological Human-Computer Interaction” เป็นการนำเสนอ Prototype ที่แสดงให้เห็นว่า BioTech สามารถเชื่อมโยงกับ Computer Science และ Interaction Design ได้อย่างไร เรานำเสนอเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับ Wearable Tech ไปจนถึงระดับชีวภาพ และด้วยสิ่งนี้ทำให้ผมสามารถเข้า MIT ต่อได้ครับ
ผมมีที่ปรึกษาท่านหนึ่งซึ่งได้รับรางวัลโนเบล เขามีหลักปรัชญาในการค้นหาเส้นทางเดินของตนเอง
ผมมีความเชื่อว่าทุกคนจะค้นหาเส้นทางของตัวเองได้ และหนึ่งเส้นทางจะนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง เส้นทางใหม่ต่อไป
มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากที่ได้เรียนรู้จากเขา โดยเขาให้แนวคิดการโฟกัสงานที่มีความหมายและสำคัญ
และนี่คือเรื่องราวของเส้นทางหนึ่งนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง
ตอนที่ผมทำ Startup ผมมีโอกาสได้ไปนำเสนองานที่ Standford ในงาน Medicine Conference งานที่ผู้เชี่ยวชาญต่างมาพบเจอและคุยถึงอนาคตของเทคโนโลยีสาย Medical (MedTech) ที่นั่น VP ของ Apple ได้นั่งอยู่ระหว่างที่ผมนำเสนองานด้วย และเขาได้เชิญผมไปพบเขาที่ Apple และแนะนำให้ผมไปทำงานวิจัยช่วง Summer ที่ IBM และนี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมได้มีโอกาสเข้า MIT ในเวลาต่อมา เพราะที่ IBM Research ทำให้ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งมากมาย สถานที่แห่งนี้มีการผสมผสานระหว่างความรู้และความสร้างสรรค์อย่างแท้จริงในการทำงานวิจัย และเกิดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่นี่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมมาก
MIT Media Lab ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1985 เป็นที่ที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ปฏิวัติวงการมากมาย อาทิ Touchscreen และสิ่งที่เราใช้อยู่รอบๆ ตัวในชีวิตประจำวัน คำว่า Media ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงสื่อนะครับ แต่เกี่ยวกับ Medium ในที่นี้หมายถึงที่ที่มนุษย์เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี และทรานฟอร์มโลกใบนี้ต่อไป ปัจจุบันผมเป็นส่วนหนึ่งของ Fluid Interface Group กับ Professor Pattie Maes ที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น เป็นกลุ่มที่โฟกัสเรื่องของ Wearable และสาย Immersive Device, Human Augmentation, Cyborgs และวิถีที่เทคโนโลยีจะ Interface กับมนุษย์ได้อย่างกลมกลืน ที่นี่มีโครงการใหม่ๆ และน่าตื่นเต้นทุกวัน บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Google หรืออย่างของไทยเราเช่น SCG ก็สนับสนุน Media Lab แห่งนี้ โดยสมาชิกจะมีสิทธิต่างๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมของ Lab และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ
MIT Media Lab ภาพโดย Anton Grassl
FREAK LAB เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมา ระหว่างที่กำลังรอผลตอบรับจากทาง MIT Media Lab นั่นเองครับ ผมอยากสร้าง LAB แห่งนี้ขึ้นมาร่วมกับที่ปรึกษาและเพื่อนๆ ในไทย ในกรณีที่ผมเกิดไม่สามารถเข้าไปที่ MIT Media Lab ได้
นอกจากนี้ผมอยากพิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างบ้านเราก็สามารถที่จะมีงานวิจัยด้านนวัตกรรมแบบที่ MIT Media Lab ทำได้
โดย FREAK LAB จะโฟกัสในเรื่องของ Wearable BioTech อย่าง เสื้อผ้า ที่ทำมาจาก 3D print โดยสามารถ Interact กับผู้สวมใส่ในระดับฮอร์โมนได้ ซึ่งเป็นงานแรกของทาง LAB ของเรา และถือเป็นหนึ่งในงานด้าน 3D งานแรกของปี 2018
การคิดค้น Material ใหม่ๆ และแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ สำหรับ 3D printing กลายเป็นธีมของ FREAK LAB และในช่วงระหว่างนี้ผมก็ได้รับการติดต่อจาก National Space Exploration (NSE) ของไทยเกี่ยวกับโครงการในอวกาศที่จะเปิดตัวในปี 2020 โดยโครงการนี้มีความท้าทายคือต้องออกแบบด้วยกระบวนการที่สามารถใช้งานได้ในสภาวะสูญญากาศ ปัจจุบันเรามีกลุ่มทำงานวิจัยทั้งหมด 7 กลุ่มด้วยกันตั้งแต่เรื่อง Biodigital ไปถึงเรื่องอวกาศ FREAK LAB เติบโตในรูปแบบของ Resarch Cluster ซึ่งมีเงินทุนสนับสนุน และเกิดความร่วมมือมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากครับเพราะพึ่งสร้างมาได้เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น
สำหรับผม ผมมองว่ายังต้องพัฒนาและปรับปรุงอีกมากนะครับ ยังไม่ได้คิดว่าประสบความสำเร็จอะไร จุดสำคัญคือการมองไปข้างหน้า และอย่านำอดีตมาเป็นตัวฉุดรั้งเราไว้ หลังจากหลายโครงการที่เกี่ยวกับเรื่องอวกาศที่ FREAK LAB เปิดตัว มันทำให้ผมรู้ว่ายังมีจุดที่ยังต้องพัฒนาอีกมากเลย และพิสูจน์ว่าไทยเราก็สามารถพัฒนาโครงการด้าน SpaceTech ได้ด้วย แม้เราจะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ก็ตาม จุดสำคัญคือเราต้องมีบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์และมุ่งมั่น ที่เหลือก็จะตามมาครับ ถ้าเราได้พยายามแล้ว เราสามารถทำทุกสิ่งได้และเป็นหนึ่งในผู้นำได้ ผมเชื่ออย่างนั้น
BioTech - ผู้ร่วมก่อตั้ง MIT Media Lab Nicholas Negroponte กล่าวว่า “Bio is the new digital” เราเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่สายดิจิทัลหลายรายกำลังก้าวสู่โลกชีวภาพ ยกตัวอย่าง Google ตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อ Google Life Sciences, Samsung เปิด Samsung Biologics และอืกมากมาย แม้แต่ Steve Jobs ก็ยังบอกว่า นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างเทคโนโลยี และโลกของชีวภาพ ยุคใหม่กำลังเข้ามาแล้ว เฉกเช่นเดียวกับดิจิทัลในยุคหนึ่ง ซึ่งผมเห็นด้วยมากๆ เลย
SpaceTech - มันเป็นเรื่องของมวลมนุษชาติ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่ค่าใช้จ่ายเพื่อได้ออกไปนอกโลกนั้นราคาถูกลง เห็นผู้เล่นหลายรายที่มาจากภาคธุรกิจอื่นก้าวเข้าสู่ Space Sector นี้ก่อนที่จะเริ่มต้นเข้าสู่ยุคแห่ง วัฒนธรรม ธุรกิจ และเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า
RealityTech - ทั้ง VR และ AR ที่ LAB ของเราพยายามสร้าง Mixed Reality เทคโนโลยีประเภทใหม่ที่จะผลักดันให้ไปไกลกว่าโลกเสมือนที่เป็นอยู่
คุณต้องพัฒนาบางสิ่งในเชิงลึก ทุกวันนี้ใครๆ ก็ทำเว็บไซต์ได้ มันเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นควรโฟกัสใน DeepTech ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว Deep Innovation ต้องการผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีสัญชาติญาณที่แรงกล้าและประสบการณ์มากพอที่จะทำมันขึ้นมาได้จริง
อีกปัจจัยที่สำคัญสำหรับการพัฒนาโครงการนวัตกรรมคือ "การทำให้ใช้งานได้จริง" ตอบโจทย์ความต้องการ ซึ่งก็คือการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จึงมีความจำเป็นมาก ที่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมคนและพัฒนา Prototype ขึ้นที่เกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ใช้
ตอนนี้ก็เป็น FREAK LAB นะ ที่สำคัญคือเราต้องแน่ใจว่าเรามีวัฒนธรรมที่กล้าจะฝ่าฟันความท้าทายที่หลายคนมองว่าเป็นไปไม่ได้ได้อย่างไร หนึ่งในที่ปรึกษาและนักลงทุนกล่าวว่าถ้าคุณสร้างสิ่งใหม่ และยังคงมุ่งมั่นทำมันอยู่จนกระทั่งเติบโต คนจะหันมาสนใจคุณ คุณต้องสร้างความต่อเนื่อง จนคนฟังคุณ
ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญมาก องค์กรส่วนใหญ่ที่ตายไป หรือสู้คู่แข่งไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาล้มเลิกเสียก่อน เรื่องคู่แข่งเป็นเรื่องที่ตามมาทีหลัง แต่ความท้าทายที่สุดคือคุณต้องมั่นใจว่าคุณมุ่งมั่นพอจะทำมันต่อมากกว่า
มันมีเรื่องยากๆ เกิดขึ้นกับทุกคนอยู่เสมอ สิ่งที่ผมคิดคือเราต้องตระหนักว่า อะไรที่คุณทำอยู่ก็ตามมันอาจจะยากนะ แต่คุณก็สามารถสนุกกับมันในระหว่างทางเป็นเสมือนรางวัลในชีวิต อีกอย่างหนึ่งอย่าลืมว่า มันก็ยังโอเคนะถ้าจะล้มเหลว และความล้มเหลวก็ไม่ได้อยู่กับคุณไปตลอดหรอก ถ้าคุณมองไปข้างหน้า ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จและนวัตกรทั้งหลาย อย่าง Steve Jobs และ Elon Musk ก็เคยล้มเหลวมาตั้งหลายครั้ง ก่อนพวกเขาจะประสบความสำเร็จ แต่พวกเขาเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด และก้าวไปข้างหน้าเพื่อทำสิ่งใหม่ๆ อีกคนหนึ่งที่อยากกล่าวถึงคือ Joi Ito เค้าเคยกล่าวว่า “Startup ต้องการไอเดียที่ยิ่งใหญ่ แต่ ไอเดียที่ยิ่งใหญ่ไม่ต้องการ Startup” แม้ว่าตอนนี้ Startup จะเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ถือเป็นเรื่องที่โอเคถ้า Startup เป็นสิ่งที่คุณกำลังสนใจ แต่ก็มีเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่คุณสามารถทำได้ และเติมเต็มชีวิตของคุณด้วย
เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น และมีโอกาสใหม่ๆ เยอะมากในการพัฒนาธุรกิจ Startup ในตอนนี้ มีทั้งภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน อย่างไรก็ตามจุดสำคัญคือ คุณภาพอยู่เหนือกว่าปริมาณนะครับ มีน้อยกว่า 1% ของ Startup ที่ประสบความสำเร็จจริงๆ
ผมว่าตอนนี้เรามี Startup เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่รายที่โฟกัสในเทคโนโลยีเชิงลึกจริงๆ ผมยังสงสัยอยู่ว่ามีมากแค่ไหนกัน ถ้าคิดว่าจะเติบโตในระยะยาว มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องถามตัวคุณเองว่าถ้าวันหนึ่งมีผู้เล่นรายใหญ่ เช่น Google กระโดดเข้ามาทำเหมือนกัน คุณจะอยู่ได้ยังไง หนึ่งในความเป็นไปได้คือควรค้นคว้าและศึกษาว่ามี area ไหน ความเชี่ยวชาญไหนที่ยากจะมีคนอื่นเข้ามาได้ง่ายๆ
สำหรับผมคือ Ricult เป็น AgTech ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมมากเลยที่จะผลักดันให้วงการเกษตกรรมของไทยเราก้าวไปอีกขั้น อีกรายก็เป็น MuSpace ซึ่งทาง FREAK LAB ได้พาร์ทเนอร์ด้วย พวกเขามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งผมก็ขอเอาใจช่วยและเชียร์อยู่ครับ
ผมว่า DeepTech มันต้องเริ่มในแบบของ Academic Research Platform ที่มีอิสระในการคิดสิ่งใหม่ๆ และมีเวลาในการพิสูจน์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่เราได้เห็น Apple, Google และ IBM มีแคมปัสที่มีโครงสร้างในลักษณะของมหาวิทยาลัยอยู่ในตัว และคนที่ต้องการทำสาย DeepTech คนเหล่านี้ต้องคิดไปไกลกว่าแค่ Buzzword และทำในสิ่งที่บางทีก็ไม่ได้มี Category หรือชื่อที่ระบุมันได้ในตอนนี้ โลกยังต้องการนักประดิษฐ์ ในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ผมเชื่อแบบนั้นนะ
----------------------------------------------------------------------------------
วันนี้บทสนทนาของเราจบที่ตรงนี้ แต่เรื่องราวของเขายังคงวนเวียนต่อเนื่องอยู่ในหัวผู้สัมภาษณ์ มีอีกหลายชิ้นงานกระตุ้นความสนใจ จนต้องไปค้นดูต่อ ถึงที่มาที่ไปแต่ละโครงการ อะไรคือเหตุผลที่เขาและทีมพัฒนาขึ้นมา
พัทน์ในวัย 20 ต้นๆ กับเรื่องราวที่หล่อหลอมให้เขาก้าวสู่เส้นทางนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาที่เข้าใจโลกดิจิทัลเป็นอย่างดี ยังคงน่าติดตามเสมอ เชื่อว่าเราจะมีโอกาสได้กลับมาพูดคุยและอัพเดตเรื่องราวกันอีกครั้ง โดยรอบหน้าเราอาจได้เจอเรื่องที่น่าตื่นเต้นในวงการนวัตกรรมไทยและมาจากทีม FREAK LAB นี้ก็เป็นได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด