หากพรุ่งนี้ไม่มีพลังงานธรรมชาติ ทางออกของพลังงานแห่งอนาคตคืออะไร | Techsauce

หากพรุ่งนี้ไม่มีพลังงานธรรมชาติ ทางออกของพลังงานแห่งอนาคตคืออะไร

มาลองจินตนาการกันว่าถ้าพรุ่งนี้เราไม่มีพลังงาน ชีวิตประจำวันอันแสนสะดวกสบายของเราจะเป็นอย่างไร นี่เป็นคำถามใหม่น่าคิดต่อที่ Techsauce Global Summit 2019 ตั้งใจจะเลือกมาพูดคุยในหัวข้อ A Tomorrow with No Energy: Preparing for the Worst and the Best พร้อม 4 Speakers ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานได้แก่ คุณอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), Ricardo Angel CEO & Managing Partner จาก PTV International Ventures Americas, Jeffrey Char Co-Founder & Chairman จาก TRENDE Inc. และ Shawn Moorhead Global Partnerships Manager & EEx Fund One จาก Elemental Excelerator

ซึ่งประเด็นหลักๆ ในหัวข้อนี้จะเน้นไปที่การลดลงของพลังงานธรรมชาติและการเกิดขึ้นของพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีความยั่งยืน

เรากำลังจะประสบปัญหาการลดลงของแหล่งพลังงานธรรมชาติจริงหรือไม่

เริ่มที่ความเห็นของ Ricardo Angel หากย้อนกลับไปในช่วงยุค 70 เราต่างพูดมาตลอดมาว่าเราไม่มีน้ำมันที่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่เมื่อมองดูที่ปัจจุบันนี้เรากลับมีปริมาณน้ำมันจำนวนมาก เนื่องจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตน้ำมันได้ในราคาที่ไม่สูงนักและยังได้ปริมาณน้ำมันจำนวนมาก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าในที่สุดแล้วมนุษย์ก็กำลังย้ายฐานการใช้งานจากพลังงานธรรมชาติไปสู่พลังงานหมุนเวียน แต่ไม่ใช่เพราะเราขาดแคลนพลังงานแต่เพราะเทคโนโลยีที่เรามีได้พาเราไปสู่จุดใหม่

ด้านคุณอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ได้กล่าวว่าในไทยเองก็มีคลังเก็บน้ำมันจำนวนมากเช่นกัน ทาง ปตท. เตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีน้ำมันที่เพียงพอ แต่การเตรียมพร้อมด้านพลังงานไฟฟ้าก็กำลังอยู่ในการพัฒนาเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายเชื่อว่าการใช้งานพลังงานรูปแบบใดก็ตามขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของพลังงานนั้น

เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนและราคาของพลังงานคืออะไร

Shawn Moorhead กล่าวว่า มีโอกาสสำหรับเทคโนโลยีอยู่สูงมากในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน แต่สิ่งสำคัญในการที่เราจะผันตัวไปใช้พลังงานหมุนเวียนต้องดูจากกลไกโดยรวม ไม่ใช่เพียงแค่น้ำมันและพลังงาน แต่รวมไปถึงน้ำ อากาศ การเกษตร และอีกมากมายที่อยู่ในวงจร เพื่อดูว่าเราสามารถนำพลังงานหมุนเวียนไปเสริมในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง และต้องเจาะลึกถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ว่าเราสามารถต่อยอดอะไรเข้าไปได้ ดังนั้นบทบาทของ Accelerator จึงไม่ใช่แค่การให้ทุนวิจัย แต่รวมไปถึงการช่วยผลักดันพลังงานและเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้เข้าถึงทุกคน

เมื่อผู้คนหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แล้วเรามีลิเทียมเพียงพอหรือไม่

ปัญหาของลิเทียมคืออายุการใช้งานที่สั้นและราคาที่ค่อนข้างสูง สำหรับลิเทียมเราคงต้องหวังพึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของลิเทียมให้นานยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรในปัจจุบันลิเทียมและวัสดุอื่นๆ อย่างแผงโซลาร์ถือว่ามีราคาที่ลดลงมาอย่างมากถึง 80%  Shawn Moorhead กล่าว

การลงทุนในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน

Shawn Moorhead ได้ให้ความเห็นว่า การลงทุนในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนจัดว่าเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ดังนั้นองค์กรจึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดปัญหานี้ เพราะพวกเขาจะสามารถนำพาเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปสู่การใช้งานจริง และเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับพลังงานรูปแบบใหม่นี้

ด้าน Jeffrey Char เสริมว่า มีกรณีศึกษาตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นคือการปรับกฎการควบคุมและจัดการตลาดพลังงาน ให้เกิดการกระจายรายได้จากการมีเพียง 10 บริษัทยักษ์ใหญ่สู่ตัวแทนการผลิตน้ำมันกว่า 500 ราย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดและยังเกิดการผลักดันธุรกิจอีกด้วย

พลังงานสะอาด สะอาดจริงไหม

ของเสียและสารเคมีจากแบตเตอรี่และแผงโซลาร์เซลล์นั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ง่าย และระยะงานการใช้งานของวัสดุต่างๆ ก็มีอายุการใช้งานที่สั้น อีกทั้งยังใช้ทรัพยากรการผลิตมาก แต่คำตอบที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็คือ นวัตกรรม เพราะนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาจะช่วยยืดอายุการใช้งานวัสดุได้มากขึ้น 4-6 เท่า เมื่อนวัตกรรมเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เราก็จะได้เห็นกลุ่มผู้ประกอบการเริ่มเข้ามาในวงการนี้มากขึ้น และหลายฝ่ายจะร่วมกันผลักดันจนเราสามารถเห็นพลังงานสะอาดที่แท้จริงได้ในอนาคต

จากการใช้งานพลังงานของรัฐและเอกชนสู่การผลิตพลังงานใช้เองผ่านทางแผงโซลาร์

Jeffrey Char เผยว่าบริษัทของเขาเองกำลังทำงานในเรื่องนี้ เราขายพลังงานให้กับครัวเรือนจำนวนมากและยังทำการติดตั้งแผงโซลาร์ให้กับครัวเรือนด้วย ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่น บ้านที่มีหลังคาขนาดใหญ่จะนำแผงโซลาร์มาติดเพื่อขายไฟฟ้าให้กับเพื่อนบ้าน ซึ่งนั่นทำให้หลายๆ บ้านที่มีหลังคาบ้านใหญ่เริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและอยากสร้างรายได้เสริม แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรายังคงไม่มีวิธีในการกักเก็บพลังงานเหล่านี้ แต่ในขณะนี้เราก็กำลังจะอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลงเพราะหลายบริษัทเริ่มหาวิธีการในการผลิตเครื่องกักเก็บพลังงาน ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นก็จะทำให้มีผู้ใช้งานเข้ามามากขึ้นหลายเท่า และราคาของการใช้พลังงานก็จะลดลง ด้านคุณอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย จาก ปตท. ยังเสริมว่าตอนนี้ ปตท. เองก็กำลังทำการศึกษาด้านที่เก็บพลังงานเหล่านี้เช่นกัน

ทำอย่างไรในการผลักดันการใช้งานแผงโซลาร์

การนำ AI หรือ Machine Learning มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีจะทำให้คนสามารถเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการช่วยพัฒนาในด้านขนส่งและพัฒนาประสิทธิภาพ นี่จะสามารถทำให้พลังงานจากโซลาร์เข้าถึงชีวิตประจำวันของผู้คนมากยิ่งขึ้น ภาครัฐเองมีส่วนอย่างมากต่อการสร้างกฏหมายและข้อบังคับที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งานพลังงานหมุนเวียน Shawn Moorhead กล่าว

ด้าน Jeffrey Char เผยว่า อีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่เราต้องแก้ไขคือราคาจากการขนส่ง เพราะในญี่ปุ่น 30% คือค่าขนส่งซึ่งนับว่าสูงมาาก ดังนั้นถ้าเราทำให้การขนส่งง่ายขึ้น ราคาถูกลง ก็จะทำให้คนสามารถใช้งานได้ถูกลง และนี่จะทำให้ผู้คนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น

Ricardo Angel เสริมว่า การจะผลักดันให้เกิดการใช้งานแผงโซลาร์อาจทำได้โดยการลดราคาของอุปกรณ์และช่วยส่งเสริมการขายพลังงานของประชาชน ซึ่งในขณะนี้หลายๆ บริษัทก็เร่งที่จะพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน และเมื่อบริษัทต่างๆ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุปกรณ์นี้ เราจะได้เห็นระบบเศรษฐกิจแบบใหม่และโอกาสมากมายทางธุรกิจ สิ่งที่เคยเป็นไปไม่ได้จะเป็นไปได้ และผู้คนจะปรับตัวเข้าสู่การใช้งานพลังงานหมุนเวียน

สรุป

มนุษย์ยังไม่อยู่ในจุดที่กำลังจะขาดแคลนพลังงานธรรมชาติ แต่มนุษย์กำลังหาพลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ยั่งยืนกว่าที่เคย และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงนี้จะนำพาเอาโอกาสทางธุรกิจมากมายเข้ามาพร้อมกัน องค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนล้วนมีส่วนที่จะผลักดันพลังงานรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจริงได้ในเร็ววัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...