ผู้นำที่เป็นที่ต้องการ และ 5 แนวทางที่ธุรกิจต้องรับมือ ใน 3 ปีข้างหน้า โดย Accenture | Techsauce

ผู้นำที่เป็นที่ต้องการ และ 5 แนวทางที่ธุรกิจต้องรับมือ ใน 3 ปีข้างหน้า โดย Accenture

Digital Transformation ที่หลายองค์กรพยายามขับเคลื่อนในเวลาหลายปี ก็เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่เดือน ด้วยการระบาดของ COVID-19  โดยในวิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้น องค์กรที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่แข็งแรงจะปรับตัวได้ดีกว่า เร็วกว่า และสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งบางองค์กรยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่มี ปรับตัว สร้างโอกาสและสามารถสร้างรายได้อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ในขณะที่อาจมีอีกหลายองค์กรที่ขาดความพร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะในทางดิจิทัล

ซึ่งรายงาน Technology Vision 2021 ของ Accenture ในหัวข้อ Leader Wanted : Masters of Change at a Moment of Truth (ผู้นำที่เป็นที่ต้องการคือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริง) ได้เผยถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิต ทั้งเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนไปตลอดกาล พร้อมกับเป็นตัวช่วยสำคัญให้ธุรกิจดำเนินไปต่อ  และการขับเคลื่อน ต้องเริ่มต้นจากผู้นำในองค์กรที่มีวิสัยทัศน์

ยุคขององค์กรที่เป็นผู้ตามอย่างรวดเร็วจบลงแล้ว นี่คือยุคของผู้นำเทคโนโลยี ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา


โดย Accenture ได้ทำการสำรวจผู้บริหารด้านไอทีและด้านธุรกิจจาก 31 ประเทศทั่วโลก 14 อุตสาหกรรม รวมประเทศไทย พบว่าผู้บริหารต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อนำพาองค์กรไปสู่การเป็นดิจิทัล  โดย 92% ระบุว่า องค์กรกำลังเร่งสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ภายในปีนี้ และ 91% ของผู้บริหารเห็นตรงกันว่า องค์กรต้องเป็นผู้กำหนดด้วยตนเองว่า ตลาดในอนาคตจะเป็นอย่างไร

การที่องค์กรจะกำหนดทิศทางแห่งอนาคตได้นั้น จะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยยึดหลักสำคัญ 3 ประการ 

  1. ผู้นำเทคโนโลยี ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผู้นำเทคโนโลยี จะสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งถึง 5 เท่า และการเข้ามาของ COVID-19 จะช่วยเร่งให้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วกว่าเดิมเป็น 1-2 ปี จากที่ต้องใช้เวลา 3-5 ปี

  2. ผู้นำจะไม่รอให้เกิด New Normal โดยผู้นำจะพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา ตามความเป็นจริงใหม่ โดยใช้แนวคิดและรูปแบบที่แตกต่าง

  3. ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในฐานะพลเมืองโลก ผู้นำจะสร้างสรรค์และออกแบบเทคโนโลยี โดยใส่ใจต่อความยั่งยืนของโลกและทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะพลเมืองโลก

ในรายงานยังเปิดเผยด้วยว่า 67% ของผู้บริหารไทย กับ 63% ของทั่วโลก ต้องการเร่ง Transformation องค์กรสู่องค์กรที่เป็นดิจิทัล

95% ของผู้บริหารไทย กับ 99% ของทั่วโลก พบว่าองค์กรมีความเครียดในการปรับตัวเรียงตามลำดับดังนี้ 1. โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมโครงสร้างทางเทคโนโลยี 2. กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการบริหารงาน 3. แรงงาน 4. กระบวนการทำงาน

83% ของผู้บริหารไทย กับ 92% ของทั่วโลก ต้องการสร้างนวัตกรรมให้ได้ภายในปีนี้

82% ของผู้บริหารไทย กับ 91% ของทั่วโลก ต้องการเป็นตัวกำหนดตลาดในอนาคต

จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า เทคโนโลยีไม่ได้เป็นตัวช่วยให้ประสบความสำเร็จอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ทำให้ความสำเร็จต่างๆ เกิดขึ้นได้

5 แนวทางที่ธุรกิจต้องรับมือ ใน 3 ปีข้างหน้า

Accenture Technology Vision ระบุถึง  5 แนวทางหลักที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องรับมือในช่วง 3 ปีข้างหน้า

1. Stack strategically: การกำหนดโครงสร้างทางเทคโนโลยีอย่างมีกลยุทธ์เพื่อการสร้างโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยีแห่งอนาคต

จากผลสำรวจ 78% ของผู้บริหารไทย กับ 83% ของทั่วโลก พบว่าองค์กรต้องการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจและทางเทคโนโลยีควบคู่กันไปได้ 

67% ของผู้บริหารไทย กับ 77% ของทั่วโลก เชื่อว่าโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ IT จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

85% ของผู้บริหารไทย กับ 89% ของทั่วโลก เชื่อว่าความสามารถในการสร้างคุณค่าทางธุรกิจมีปัจจัยมาจากการมีโครงสร้างสถาปัตกรรมของ IT ที่ดี

ยกตัวอย่าง ITV สถานีโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร ได้ทำ Digital transformation โดยย้ายระบบงาน ระบบ IT ขึ้นไปอยู่บน Cloud รวมทั้งมีการปรับถึงระดับโครงสร้างทำให้บริการของเขามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีการสร้างแพลตฟอร์มใหม่อย่าง britbox โดยการทำ Cloud micro service เข้ามาเป็นพื้นฐานสร้าง platform ตัวนี้ โดย britbox สามารถสร้างเสร็จสิ้นภายในเวลาเพียง 9 เดือน และเป็นระบบ Streaming ที่เข้าไปอยู่ในบ้านของลูกค้า และได้รับความนิยมที่สูงมาก

2. Mirrored world : โลกดิจิทัลคู่ขนานอันชาญฉลาด

โลกดิจิทัลคู่ขนานอันชาญฉลาด คือ การสร้างโลกจำลองที่มีข้อมูลมากมายเสมือนโลกจริง รวมไปถึงการพัฒนาโมเดลต่าง ๆ และ AI เพื่อสร้างทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งเทรนด์นี้จะนำมาสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่สู่ตลาด

33% ของผู้บริหารไทย และ 24% ของผู้บริหารทั่วโลกยอมรับว่าองค์กรของเขาได้ลองใช้โลกเสมือนจริงและ AI ในปีที่ผ่านมา

77% ของผู้บริหารไทย และ 65% ของผู้บริหารทั่วโลก เชื่อว่าการลงทุนในโลกคู่ขนานเสมือนจริง หรือ AI จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยในอีก 3 ปีข้างหน้า

90% ของผู้บริหารไทย และ 87% ของผู้บริหารทั่วโลก เชื่อว่าจะโลกดิจิทัลคู่ขนานและมีความสำคัญในการร่วมมือกันของพาร์ทเนอร์อื่น ๆ ในระบบ ecosystem 

ตัวอย่าง บริษัท Unilever สร้างโลกจำลองเสมือนจริงรวมทั้งการพัฒนา AI เพื่อควบคุมโรงงาน โดยโลกจำลองเสมือนจริงได้รับข้อมูลจากเครื่องจักรที่เชื่อมโยงกัน หรือที่เรียกกันว่า connected device หรือ connected machine เครื่องจักรเหล่านี้จะเก็บข้อมูลของสถานะและเงื่อนไขต่าง ๆ ของโรงงาน เช่น ความชื้น อุณหภูมิ ความเร็วของเครื่องจักร เป็นต้น เมื่อส่งข้อมูลไปยังโลกเสมือนจริงแล้ว AI จะตรวจสอบ เพื่อหาการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด พบว่าโรงงานที่ใช้ AI ตรวจสอบ ทำงานได้มีประสิทธิภาพมาก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าล้านเหรียญ เพิ่มผลผลิตได้ถึง 3% และทำงานต่อเนื่องไม่มีสะดุด

3. I, Technologist ทุกคนในทุกบทบาทจะเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมกันและมีประสิทธิภาพ

องค์กรต้องการรากฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถใช้ได้กับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ผู้ปฎิบัติงานถึงผู้บริหาร ไม่ว่าบุคลากรนั้นจะมีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีหรือไม่ก็ตาม

88% ของผู้บริหารไทย และ 86% ของผู้บริหารทั่วโลก ต้องฝึกฝนบุคลากรทุกระดับให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าบุคคลากรนั้น ๆ จะไม่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีก็ตาม

87% ของผู้บริหารไทย และ 90% ของผู้บริหารทั่วโลก นอกจากการสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีในการทำงานแล้ว องค์กรยังต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลและกำหนดการเข้าถึงข้อมูล

ตัวอย่างเช่น บริษัท G&J Pepsi นำเอา solution ของ microsoft ที่ชื่อว่า Power App มาใช้งาน ให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูล แอปพลิเคชัน หรือ AI เข้าด้วยกันผ่าน UI ที่เป็นไอคอนที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้พนักงานสามารถสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการขึ้นมาใช้เอง และทำได้อย่างรวดเร็ว แม้พนักงานจะไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมาก่อน ผลที่ได้ คือ บริษัทมีระบบใหม่ ๆ ที่ใช้งานได้จริง ตั้งแต่ระบบคลังถึงระบบการกระจายสินค้า

4. Anywhere, Everywhere การทำงานที่ใดก็ได้ 

บุคลากรสามารถกำหนดสภาพแวดล้อมในการทำงานได้เองทั้งด้านเวลาและสถานที่ 

85% ของผู้บริหารไทย และ 82% ของผู้บริหารทั่วโลก ยอมรับว่าสถานการณ์โควิดทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งใหญ่และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

57% ของผู้บริหารไทย และ 47% ของผู้บริหารทั่วโลก มีการลงทุนในเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการทำ

80% ของผู้บริหารไทย และ 81% ของผู้บริหารทั่วโลก เชื่อว่าองค์กรจะปรับเปลี่ยนมุมมองการทำงาน โดยให้พนักงานกำหนดสภาวะแวดล้อมในการทำงานได้เอง

ตัวอย่างเช่น Fujitsu มีโปรแกรม work life shift ที่ให้พนักงานกำหนดสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ ทั้งเลือกสถานที่ทำงานและชั่วโมงการทำงาน ยังมีแผนขยายออฟฟิศในรูปแบบดาวกระจาย โดยจะสร้างออฟฟิศในที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นออฟฟิศขนาดเล็ก หรือ co-working space ให้พนักงานมีทางเลือกว่าจะทำงานที่บ้านหรือเข้าออฟฟิศ

5. From me to we ระบบที่หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมเดียวกัน

การเชื่อมโยงกันของระบบต่าง ๆ จากองค์กรต่าง ๆ ในระบบ ecosystem สามารถฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปได้ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนเป็นการใช้งานออนไลน์มากขึ้น 

75% ของผู้บริหารไทย และ 93% ของผู้บริหารทั่วโลก ยอมรับว่าได้รับผลกระทบเรื่อง supply chain 

93% ของผู้บริหารไทย และ 90% ของผู้บริหารทั่วโลก เชื่อว่าองค์กรต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเร่งด่วน โดยมี cloud เป็นแกนกลางสำคัญในการปรับตัวครั้งนี้

ตัวอย่าง Ping An เป็นบริษัทประกันจากประเทศจีน ให้ความสำคัญกับ Digital Transformation เป็นอย่างมาก ตั้ง Cloud Platform มา 5 กลุ่มธุรกิจ ตามแต่ละรูปแบบของธุรกิจ ประกอบไปด้วย กลุ่ม Automotive กลุ่ม Personal Finance กลุ่ม Health กลุ่ม Property และกลุ่ม Smart City โดยแต่ละกลุ่มสามารถข้าม Cloud ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้ ผลที่ได้ คือ มีผู้ใช้งานกว่า 500 ล้านคนและมีลูกค้าฐานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น อีกทั้งแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นยังขยายไปสู่ Ecosystem ที่กว้างขึ้นทั้งธนาคารกว่า 600 แห่ง บริษัทประกันกว่า 80 บริษัท และสถาบันทางการเงินอีกกว่า 3,000 มีเงินไหลเวียนกว่า 5 พันล้านเหรียญในแค่ช่วงครึ่งปีแรกของ 2019 

คุณนิธินันท์ สมบูรณ์วิทย์ Managing Director ของ Accenture Thailand ได้เผยถึง การปรับตัวของธุรกิจในไทยว่า องค์กรที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลจะปรับตัวได้เร็วกว่า ส่วนองค์กรที่ไม่มีพื้นฐานด้านดิจิทัลต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้ บริษัทที่ยังไม่พร้อมเรื่องดิจิทัล ต้องหันมาลงทุนด้านดิจิทัลมากขึ้น

โดยคำแนะนำในการปรับตัวนั้น ให้มองพื้นฐานขององค์กรว่า มีพื้นฐานดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน และตีความกับสภาพธุรกิจ / เศรษฐกิจว่าจะไปทางไหนอย่างไรได้บ้าง พร้อมตีโจทย์ให้แตกก่อนตัดสินใจ วางเป้าหมายชัดเจน กำหนดแนวทาง Vision - Mission และต้องวัดผลได้ 

ทั้งนี้สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ Accenture

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องแนวโน้ม Advanced Robotics อนาคตของ Healthcare

ค้นพบแนวโน้มหุ่นยนต์อัตโนมัติในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ สหรัฐฯ เผชิญปัญหาขาดแคลนบุคลากร การนำ Advanced Robotics มาใช้ในโรงพยาบาลและบ้านผู้ป่วย คือกุญแจสำคัญสู่อนาคต...

Responsive image

ตำแหน่ง CRO คืออะไร ? พร้อมเจาะลึก 6 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จของผู้บริหารความเสี่ยงยุคใหม่

จากงานวิจัยของ McKinsey จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจ CRO ปัจจุบันและอดีตมากกว่า 30 รายของสถาบันการเงินหลักทั่วโลก โดยแต่ละรายมีประสบการณ์ในบทบาทนี้มาอย่างน้อย 5 ปี พบว่า CRO ที่ปร...

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...