"AI ที่คุณใช้ในวันนี้ จะเป็น AI ที่โง่ที่สุดในอนาคต" คำกล่าวจากคุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล แม่ทัพใหญ่แห่ง KBTG องค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยีของไทย คำพูดนี้ไม่เพียงสะท้อนความก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนสิ่งที่เคยล้ำสมัยในวันนี้ อาจล้าหลังในวันพรุ่งนี้
KBTG ในฐานะผู้นำด้าน AI ของไทย ได้ประกาศเป้าหมายทะเยอทะยานในงานแถลงข่าว KBTG 'The Year of Agentic AI 2025' ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ KBTG เมืองทองธานี เป้าหมายใหญ่ในปี 2025 คือการเข้าสู่ยุค Agentic AI อย่างเต็มรูปแบบ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญอย่าง Human-First x AI-First Transformation ที่ผสานคนและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโลกอนาคตที่ไม่เพียงแค่ "ล้ำ" แต่ยัง "ลึกซึ้ง" และ "มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง"
ในบทความนี้ Techsauce จะพาคุณสำรวจเส้นทางแห่งความสำเร็จของ KBTG ตั้งแต่วันแรกของการสร้างชื่อในวงการ AI ไปจนถึงเป้าหมายใหม่ที่พวกเขากำลังมุ่งหน้า พร้อมเจาะลึกถึงความทะเยอทะยานขององค์กรที่ไม่เคยหยุดนิ่งในโลกแห่งเทคโนโลยีที่วิ่งเร็วกว่าเวลา
ช่วงแรกของงาน คุณกระทิงพาเราย้อนดูเส้นทางการเติบโตของ KBTG ในสามยุคหลัก ตั้งแต่ยุค 1.0 ที่เป็นการสร้าง "รากฐาน" สำคัญขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง ระบบทีม และวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเติบโตในโลกดิจิทัล
จากนั้นเข้าสู่ยุค 2.0 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการ "ปรับตัวและยืนหยัด" ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อโควิด-19 ทำให้โลกธุรกิจต้องเผชิญความท้าทาย KBTG ได้แสดงศักยภาพของทีมที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์ และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อยกระดับธุรกิจ เช่น AI และ Data Analytics
และเมื่อเข้าสู่ปี 2024 คุณกระทิงเผยว่านับเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ KBTG ประกาศความสำเร็จในด้าน AI อย่างน่าประทับใจ เริ่มตั้งแต่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุดล้ำอย่าง AINU, THaLLE, Future You, คู่คิด, AI-Enabled VDO Analytics และ Document OCR ไปจนถึง AthenaMind แพลตฟอร์มที่สร้างโมเดล AI เฉพาะทางสำหรับองค์กร
KBTG ยังสร้างชื่อเสียงในระดับโลกด้วยการคว้ารางวัล The Innovators 2024 จาก Global Finance สาขา Compliance/Risk Innovation: Best eKYC Innovation ผ่านเทคโนโลยี Face Liveness Detection ที่ช่วยลดปัญหาการปลอมแปลงใบหน้าใน eKYC ทั้งยังต่อยอดใช้งานในแอปธนาคารและแพลตฟอร์ม AINU
ไม่เพียงเท่านั้น KBTG ยังจับมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกอย่าง AI Singapore, Google Research, MIT Media Lab และ AI Fund เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและงานวิจัย รวมถึงสร้างชื่อในเวทีประชุมนานาชาติ ACL 2024 ด้วยผลงานตีพิมพ์กว่า 30 ฉบับในวารสารระดับโลก นำไปต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น AI วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก, ระบบ eKYC ที่แม่นยำ หรือ Chatbot ตอบคำถามแบบเรียลไทม์
ความสำเร็จเหล่านี้กำลังจะถูกส่งต่อสู่ปี 2025 แต่ก้าวไปสู่ยุคที่ล้ำกว่าเดิมนั่นคือ Agentic AI
Agentic AI คือผู้ช่วยอัจฉริยะยุคใหม่ ที่ไม่ใช่แค่รับคำสั่ง แต่คิด ตัดสินใจ และบรรลุเป้าหมายได้เอง ด้วยพลังของ Machine Learning และ Natural Language Processing มันคือผู้ช่วยที่เรียนรู้ ปรับตัว และทำงานอิสระได้อย่างชาญฉลาด
ด้วยความสามารถที่ล้ำหน้าของ AI ชนิดนี้ คุณกระทิงชี้ว่า เขาเห็นโอกาสในการสร้าง "ความร่วมมือระหว่างมนุษย์และ AI" ซึ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ มันจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ถึง 6.5 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า พร้อมตั้งเป้าจะสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่า 10,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า
ซึ่งในปี 2025 ทาง KBTG เผยว่า จะเป็นยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญผ่าน 3 เทรนด์หลัก ได้แก่
ซึ่งในปีหน้านี้คุณกระทิงเผยว่า KBTG กำลังขับเคลื่อนเทคโนโลยี Agentic AI โดยเน้นไปที่การทำงานร่วมระหว่าง AI และมนุษย์ ด้วย 3 แนวทางหลัก:
KBTG เตรียมพร้อมแค่ไหน ลงมือทำอะไรไปบ้าง ?
คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยถึงการประกาศลุย AI Agents ซึ่งทีมผู้บริหาร อาทิ ดร. ทัดพงศ์ พงศ์ดาวรกมล Managing Director ของ KBTG, คุณจิรัฏฐ์ ศรีสวัสดิ์ Assistant Managing Director - Technical Excellence, ดร. โกเมษ จันทวิมล Principal Al Evangelist, และ ดร. มนต์ชัย เลิศสุทธิวงค์ Principal Research Engineer and Head of Al Research ก็ได้มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จที่ผ่านมา และเป้าหมายต่อไปในปี 2025 ด้วยเช่นกัน
ดร. ทัดพงศ์ ชี้ว่าการที่เราก้าวเข้าสู่ยุค Generative AI ได้ทำให้ความสามารถของ AI ถูกนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย ไม่เพียงแต่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แต่รวมถึงคนทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรม AI ได้รับการใช้งานในหลายด้าน
ตั้งแต่การเขียนบทความ การสรุปความ พัฒนาโค้ด สร้างสไลด์ วาดภาพ และสร้างคำบรรยายภาพ ความสามารถเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ที่เรียกว่า AI Agents หรือ Agentic AI ซึ่งเป็นการรวมกันของ AI ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในระดับที่เทียบเคียงมนุษย์
ดร.ทัดพงศ์ อธิบายว่าแนวคิดของ AI Agents มาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของ Digital Footprint ซึ่งเป็นข้อมูลดิจิทัลที่มนุษย์สร้างขึ้นในชีวิตประจำวัน และการพัฒนาของ AI ให้มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น ทั้งในด้านการสื่อสารและการทำงาน ความเชื่อมโยงระหว่าง Human agent กับ AI agent ได้เปิดโอกาสให้เกิดการผสานการทำงานในรูปแบบใหม่
ทาง KBTG ได้นำแนวคิดนี้ไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า AthenaMind ซึ่งออกแบบมาเพื่อสร้างและจัดการ AI Agents โดยเฉพาะ จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ได้อย่างราบรื่น พร้อมทั้งจัดการข้อมูลด้วยความปลอดภัยสูง และรองรับการทำงานร่วมกับ Large Language Models (LLMs) รวมถึง THaLLE ซึ่งเป็นโมเดลที่ KBTG พัฒนาขึ้นเอง
Use Cases ที่ KBTG ได้พัฒนาขึ้นจากแพลตฟอร์มนี้ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินความเสี่ยง และการตรวจสอบระบบ ทำให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยหนึ่งในนั้นคือการพัฒนา Agentic AI ตัวแรกเพื่อให้พนักงาน KBTG ใช้งานจริง ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ เช่น ประกันสุขภาพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และข้อมูลการลา เป็นต้น
คุณจิรัฏฐ์ ก็ได้มาแชร์ประสบการณ์จริงที่ KBTG ในการนำ AI มาใช้งานในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของเรา ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทางหลักที่เรากำลังพัฒนาและประยุกต์ใช้ ได้แก่ Code Assistant, Coding Agent, และ Multi-Agent Software Lifecycle
1. Code Assistant : การเริ่มต้นของ KBTG คือการใช้เครื่องมือ AI ขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยแนะนำและสร้างโค้ด แนวคิดนี้เหมือนจะเป็นทางลัดที่ดี แต่ในช่วงแรกผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่คาด Productivity ของทีมกลับลดลง เราพบว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ AI แต่เป็นเพราะขาด Human-in-the-loop หรือการที่มนุษย์เข้ามามีบทบาทร่วมในกระบวนการใช้งาน AI
คุณจิรัฏฐ์แก้ปัญหานี้ด้วยการวางกลยุทธ์ เช่น การอบรมทีมงาน สร้าง Community of Practice และกำหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ AI ผลลัพธ์คือวิศวกรสามารถใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ทีมงานหลายร้อยคนในบริษัทนำ AI ไปใช้และได้ผลลัพธ์ที่ดี อาทิ
2. Coding Agent: ก้าวถัดมาคือการใช้ Coding Agent ซึ่งเป็น AI ที่สามารถรับโจทย์และพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เองโดยอัตโนมัติ จากการทดลองกับงานจริงในทีม คุณจิรัฏฐ์พบว่า Coding Agent สามารถทำงานที่ปกติใช้เวลาครึ่งวันเสร็จภายใน 5 นาที ด้วยค่าใช้จ่ายเพียง 3 บาท นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่!
อย่างไรก็ตาม จาก Benchmark ของ Coding Agent ชั้นนำ พบว่าปัจจุบัน AI ยังแก้ปัญหา Real-world ได้เพียง 50% เท่านั้น เราวางแผนที่จะนำ Coding Agent มาใช้โดย Integrate เข้ากับ Workflow ปัจจุบัน แบ่งงานให้ Coding Agent ทำงานร่วมกับวิศวกร โดยวิศวกรจะทำหน้าที่รีวิวและ Approve เราเชื่อว่างานเล็กๆ หรืองานที่ซ้ำซ้อนควรให้ Coding Agent รับผิดชอบ เพื่อให้วิศวกรมีเวลาทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
3. Multi-Agent Software Lifecycle: คุณจิรัฏฐ์เผยว่า วิสัยทัศน์ของ KBTG คือการใช้ AI ครอบคลุมทุกขั้นตอนของ Software Development Lifecycle ตั้งแต่การวางแผน, วิเคราะห์ Requirement, พัฒนา, ทดสอบ และ Deploy โดยใช้ Conversational Agent ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ในแต่ละขั้นตอน
ดร. มนต์ชัย ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของ KBG ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจและพันธมิตร พร้อมชูบทบาทสำคัญของการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก KBG มุ่งเน้นการใช้ AI ใน 7 ด้านสำคัญในปีที่ผ่านมา เพื่อยกระดับการดำเนินงานและสร้างคุณค่าให้กับสังคม
เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face Technology) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนและป้องกันการฉ้อโกง โดยมีการนำไปใช้ตรวจสอบข้อมูลบนบัตรประชาชน พร้อมผลักดันมาตรฐานความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง OCR (Optical Character Recognition) ได้รับการปรับปรุงให้สามารถแปลงข้อมูลจากเอกสารและภาพถ่ายที่ซับซ้อนเป็นข้อความที่ถูกต้องและรวดเร็ว
KBG ยังได้นำ Large Language Models (LLMs) เช่น ChatGPT และ Bard มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการประมวลผลภาษาขั้นสูงในองค์กร พร้อมพัฒนา AI Agents เฉพาะทาง เช่น ด้านการเงิน เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน
ในด้านการสร้างผลกระทบต่อสังคม KBTG ก็มีโครงการ โครงการ Future You ซึ่งร่วมมือกับ MIT Media Lab พัฒนา AI ที่ช่วยผู้ป่วยในโรงพยาบาลสหรัฐฯ และการสร้าง AI สำหรับประเมินความเสียหายของรถยนต์ โดยสะท้อนถึงศักยภาพของ AI ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
สุดท้าย ดร. มนต์ชัย ยังนำเสนอความสำเร็จในโครงการที่ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนา AI เพื่อโคลนอาจารย์ การแนะแนวอาชีพให้เด็ก และการสร้างห้องปฏิบัติการเสมือนจริงสำหรับนักศึกษาแพทย์ ซึ่งตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ KBTG ในการผลักดัน “KBTG AI For Thailand” มาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าและผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจและสังคม
ดร. โกเมษ เผยว่า KBTG เดินหน้าสร้างอนาคตด้วยการผสานศักยภาพของมนุษย์และ AI ผ่านแนวคิด AI-Augmented Workforce ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมความสามารถของพนักงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย เป้าหมายสำคัญของ KBTG คือการพัฒนาองค์กรให้กลายเป็น AI-Infused Organization หรือองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2025 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและผลักดันมูลค่าทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
องค์กรให้ความสำคัญกับ 3 แกนหลักในการพัฒนาพนักงาน ได้แก่
ซึ่งทาง ดร. โกเมษ เผยว่าก้าวต่อไปของ KBTG คือการสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งด้วยการพัฒนาความร่วมมือระดับโลก (World-Class Ecosystem) เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรม และการเร่งสร้าง AI Engineers จำนวน 1,000 คนภายในปี 2029 เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต นอกจากนี้ องค์กรยังตั้งเป้าลดระยะเวลาจากไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์ให้เร็วขึ้นถึงสองเท่า พร้อมยกระดับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับ Human-AI Convergence ที่ผสมผสานศักยภาพของมนุษย์และ AI เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ
จากการเดินทางที่ยาวนานและก้าวกระโดดในด้านเทคโนโลยี AI ของ KBTG สิ่งที่เราได้เรียนรู้ไม่ใช่เพียงแค่พลังของนวัตกรรม แต่ยังเป็นบทพิสูจน์ว่าอนาคตไม่ได้รอใคร ความพร้อม ความกล้า และการลงทุนในศักยภาพมนุษย์ควบคู่กับ AI คือกุญแจสำคัญที่นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ KBTG ไม่เพียงกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ แต่ยังสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับโลกเทคโนโลยี โดยเฉพาะในยุคที่ Agentic AI กำลังจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด