เมื่อการทำ Digital Transformation ไม่สำเร็จกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ธุรกิจไทยไม่พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคใหม่ AIS Business ขออาสาเป็นพันธมิตรช่วยธุรกิจไทยนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรอย่างราบรื่น และเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจหรือ AIS EEC เป็นศูนย์กลางเรียนรู้และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
‘Digital Transformation’ คำที่พูดง่าย แต่ทำไม่ค่อยจะได้ หลายปีที่ผ่านมาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กร แต่ไม่สำเร็จ
จากข้อมูลของ Mckinsey ชี้ว่าโครงการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กร 70% ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่งเหตุผลของความล้มเหลวนั้นส่วนใหญ่มาจาก ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงาน ขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารที่มากพอ ไม่มีการทำงานระหว่างสายงาน ฯลฯ
ในขณะที่ Deloitte ซึ่งสำรวจผู้บริหารในไทย ชี้ว่าอุปสรรคของการทำ Digital Transformation คือ ขาดความเชี่ยวชาญทั้งจากภายในองค์กรและภายนอก งบประมาณและทรัพยากรไม่เพียงพอ รวมถึง วัฒนธรรมดิจิทัลที่ยังไม่พร้อมสมบูรณ์
ในปี 2024 องค์กรที่ยังไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างราบรื่น อาจตกที่นั่งลำบาก หากเรามองดูปัจจัยภายนอก อย่างภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินกิจการทั่วโลก การรุกเข้ามาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา และสุดท้ายคือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ธุรกิจต้องปรับตัว
ความท้าทายทั้งหมดนั้นกระตุ้นให้ธุรกิจต้องรีบปรับตัวให้ไวกว่าเดิม แต่จะทำยังไง ถ้าปัญหาเก่าก็ยังแก้ไม่ได้ และมีความท้าทายใหม่อยู่รอบทิศทาง
AIS Business ในฐานะผู้นำบริการด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อองค์กรภาคธุรกิจของไทย มองเห็นปัญหาและความท้าทายดังกล่าว และเชื่อว่าถ้าธุรกิจไทยสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เป็นรากฐานขององค์กรได้สำเร็จ จะสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจไทยและรวมถึงประเทศชาติที่ยั่งยืนได้
จึงเป็นที่มาของแนวคิด “AIS Business: DIGITAL EVOLUTION for Sustainable Nation” ทิศทางการดำเนินงานของ AIS Business ในปีนี้ ที่พร้อมนำศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายอัจฉริยะช่วยยกระดับการทำงานขององค์กรภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ช่วยหนุนขีดความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ประเทศ ผ่าน 5 ขุมพลังดิจิทัล ได้แก่
รวมถึงได้สร้างแลนด์มาร์คใหม่ อย่าง ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจหรือ AIS EEC ขึ้น ณ ใจกลาง Thailand Digital Valley ภายในพื้นที่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีให้ธุรกิจเข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีและทำงานร่วมกัน สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการผลักดันการสร้างเศรษฐกิจใหม่ ตาม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่ EEC
Techsauce ได้มีโอกาสเยี่ยมชมศูนย์ AIS EEC (Evolution Experience Center) มาแล้ว และบทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า ศูนย์ AIS EEC จะช่วยธุรกิจไทยยังไงได้บ้าง ?
เมื่อก้าวเข้ามาที่ศูนย์นี้ทุกท่านจะได้พบกับ Experience Hall ซึ่งเป็นโซนจัดแสดงการใช้งานเทคโนโลยีล้ำสมัยในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี 5G, Cloud, Communication Platform, หุ่นยนต์และโดรนอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้ธุรกิจเรียนรู้และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น สาธิตการใช้โครงสร้างพื้นฐาน 5G ( 5G Private Network / 5G FWA / 5G mmWave/ 5G SD-WAN) ซึ่ง AIS ถือเป็นผู้นำในด้านนี้ มีการโชว์ศักยภาพของคุณภาพเครือข่าย และความยืดหยุ่นในการให้บริการ 5G Network จาก AIS ที่สามารถครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายเช่นในพื้นที่ที่ห่างไกลเสาสัญญาณ หรือ พื้นที่ที่ต้องการใช้งาน 5G Private Network แบบชั่วคราว รวมไปถึงเน็ตเวิร์คสาขา ที่สามารถความยืดหยุ่นใช้งานได้ทั้งแบบ wireless 5G หรือ แบบลากสาย
โดยมีตัวอย่างความสำเร็จจาก Midea ผู้นำการผลิตเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่สัญชาติจีน ที่เลือกใช้เทคโนโลยี 5G ของ AIS เป็นพื้นฐานโรงงานอัจฉริยะ
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การใช้ Communication Platform as a Service (CPaaS) จาก Pain Point ในปัจจุบัน สถานการณ์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาด ทำให้ผู้บริโภคเลือกจะไม่รับสายจากเบอร์แปลก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่ต้องนำส่งพัสดุให้ลูกค้า
การใช้ CPaaS จะช่วยแปลงเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้นำส่งสินค้านั้นหรือ Courier ให้เป็นเบอร์บริษัททำให้ลูกค้ามีความมั่นใจที่จะรับสายมากขึ้น นอกจากนั้นเมื่อลูกค้าโทรกลับ สายนั้นก็จะวิ่งไปหา Courier หรือเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งพัสดุ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้องค์กรมากขึ้น
มีกรณีศึกษาน่าสนใจจาก ไปรษณีย์ไทย ที่นำระบบ AIS CPaaS ไปใช้ ด้วยการติดต่อผ่านหมายเลข 1505 เลขหมายหลักที่ใช้ในการติดต่อผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นเบอร์กลางสำหรับบุรุษไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งสุดท้ายสามารถเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า และลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพได้จริง
สำหรับธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ที่ AIS EEC ก็มีโซลูชันทางเทคโนโลยีที่จะตอบโจทย์เช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมหลักในเขตพื้นที่ EEC เช่น AIS 5G Manufacturing Platform ที่สามารถเก็บข้อมูล IoT ของอุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ในสายการผลิต นำขึ้นมาบนแพลตฟอร์มด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ ช่วยให้ผู้ผลิตตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้น
ยังมี Autonomous Surveillance Robot หุ่นยนต์ตรวจตราในพื้นที่เข้าถึงยากหรืออันตราย ที่สามารถควบคุมและส่งข้อมูลภาพ และ VDO แบบ Real-time ผ่าน 5G ช่วยลดภาระเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงและยังมีระบบการวิเคราะห์ใบหน้า พร้อมแจ้งเตือนผ่านระบบได้ทันที
และแน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่เฉพาะการบริการลูกค้า แต่สำหรับการจัดการกระบวนการทำงานภายในองค์กรด้วย ที่ Experience Hall ของ AIS EEC ก็มีโซนที่สาธิตการใช้งาน Smart Solutions & IoT ที่ธุรกิจสามารถถอดแบบความสำเร็จไปใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
แพลตฟอร์มของการทำ Remote working สำหรับบริษัทที่ต้องการระบบเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานระยะไกล เช่น Cloud PC ด้วยการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) บนระบบคลาวด์ ที่องค์กรสามารถเลือกจัดสรรทรัพยากรตามความเหมาะสมต่อผู้ใช้งาน ช่วยองค์กรประหยัดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยข้อมูล และง่ายต่อการบริหารจัดการ
หรือจะเป็นบริการระบบ Microsoft 365 Copilot แพลตฟอร์มจากผู้ให้บริการระดับโลก ที่ช่วยให้ธุรกิจทำงานได้ทุกที่อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานความปลอดภัย และบริการครบวงจรโดยผู้เชี่ยวชาญจาก AIS
สำหรับระบบ IoT Solution ที่โซนนี้ยังมีการสาธิตการใช้งาน MDVR Solution หรือ Mobile Digital Video Recorder โซลูชันสำหรับธุรกิจภาคขนส่ง ด้วยอุปกรณ์กล้อง IoT และ AI จะสามารถช่วยตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่ เพื่อลดและป้องกันอุบัตเหตุบนท้องถนนได้ นอกจากนั้นยังสามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ขับขี่ของบริษัทมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการขับขี่ ลดการเกิดอุบัติเหตุ
AIS EEC ยังมีอีกหลายพื้นที่รอธุรกิจมาสำรวจ เช่น โซน 5G Testbed & Lab ให้ธุรกิจได้ทดสอบ ทดลองใช้ 5G โซน Meet the Experts ที่จะเปิดพื้นที่ให้ธุรกิจได้พบปะผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีโซน Seminars & Workshops โซน OT and IT Integration และโซน Business Matching ด้วย ตอบโจทย์ทั้งการสร้างองค์ความรู้ การลงมือทำจริง และการสร้างความร่วมมือกับผู้เล่น ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมรวมถึงภาครัฐด้วย
AIS Business ตั้งเป้าให้ AIS EEC เป็นพื้นที่ทดสอบ ทดลอง และแลกเปลี่ยนความรู้ ของทุกภาคส่วน ทั้งธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ นักพัฒนา ฯลฯ ตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ Ecosystem Economy ที่ทุกคนจะต้องเติบโตไปด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน
ยกตัวอย่างเช่น หากธุรกิจต้องการจะทดสอบหรือทดลองการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น 5G, Cloud หรือ Edge Computing แต่ไม่มีพื้นที่หรืองบประมาณที่สูงพอจะทำได้ ที่ศูนย์แห่งนี่ก็พร้อมให้ธุรกิจเข้ามาทดลองการใช้งานจริง นอกจากนั้นยังคาดหวังว่าจะมีการทำ Business matching ระหว่างเอกชน พาร์ทเนอร์ผู้นำด้านเทคโนโลยี และภาคีอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ ความร่วมมือ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม หรือโครงการใหม่ๆ
ซึ่งที่ผ่านมา AIS Business ได้สร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับหลายภาคส่วน พร้อมกับเดินหน้ายกระดับทักษะด้านดิจิทัลเทคโนโลยีให้กับบุคลากรและตลาดแรงงานให้มีขีดความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ
สำหรับท่านที่สนใจ สามารถเข้าเยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจหรือ AIS EEC ได้ที่โครงการ Thailand Digital Valley บนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี หรือนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ https://m.ais.co.th/wxHJLR3f1
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด