Digital Transformation เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกายภาพมากที่สุดอย่างการเดินทางและการขนส่ง ซึ่งปัจจุบัน มีการนำ Digital มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยความต้องการที่เปลี่ยนไป วิธีการและเครื่องมือที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป
ในวันนี้ เราจึงอยากชวนทุกท่านมาสำรวจแนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจ Logistics และ Transportation ของไทย รวมถึงแนะนำโอกาสจากเครื่องมือ Digital ของคนไทยที่ช่วยให้ธุรกิจขนส่งเดินหน้าในเวลาที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้กับ 5G
รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของภาคขนส่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค โดยจากข้อมูลของ Agility Emerging Market Logistics เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 ระบุว่า Domestic Logistics ในไทยเติบโตอย่างมาก โดยตลาดของ Contract Logistics หรือการจัดการขนส่งในห่วงโซ่อุปทาน และ Domestic Express ไทยมีขนาดใหญ่กว่าเวียดนามถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ไทยยังมีการขยายตัวของเขตเมืองซึ่งส่งผลให้ Digital Service อย่าง E-Commerce ขยายตัวขึ้นอีก โดยปัจจุบัน มีคนไทยที่เข้าสู่โลกออนไลน์แล้วมากถึง 59 ล้านคน ซึ่งทุกคนมีโอกาสใช้ Digital Service มากขึ้น
จากการเติบโตดังกล่าว สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการหนีไม่พ้นการจัดการที่ดีขึ้นโดยอาศัยการช่วยเหลือจากการใช้ Digital Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการรถขนส่ง โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าสนใจในเวลานี้คือ Telematics Solution ที่ปัจจุบันได้รับการอัพเกรดด้วย Internet of Things และเครือข่าย 4G ที่แข็งแรงระดับประเทศ
หลายคนที่อยู่ในธุรกิจขนส่งอาจคุ้นเคยกับวิธีการติดตามรถยนต์ผ่านเครือข่ายรูปแบบต่างๆ อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังวิธีการนี้เรียกว่า Telematics เป็นวิธีแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ถึงแม้ว่าความหมายแท้จริงจะกว้าง แต่ Telematics มักถูกเจาะจงไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ในยานพาหนะโดยเฉพาะ
เทคโนโลยี Telematics ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยมีใช้งานมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เพื่อระบุตำแหน่งของรถ เรือ หรือแม้แต่ตู้คอนเทนเนอร์ผ่านสัญญาณดาวเทียม ซึ่งปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้ Telematics มี Function การทำงานที่หลากหลายขึ้น เช่น รองรับการวัดระยะทาง การระบุตำแหน่งที่แม่นยำมากขึ้น ไปจนถึงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในรถยนต์เพื่อเก็บข้อมูลหรือแม้แต่ควบคุมการทำงานของรถยนต์ได้
ด้วยความสามารถในการทำงานที่มากขึ้นทำให้ภาคธุรกิจให้ความสนใจจะใช้งาน Telematics Solution กันมากขึ้น โดยจากข้อมูลของ Frost & Sullivan เมื่อปี 2020 ระบุถึงการใช้จ่ายในเทคโนโลยี Internet of Things พบว่ามีการลงทุนใช้จ่ายในอุตสาหกรรมขนส่งและการเดินทาง (Logistics and Transportation) ในสัดส่วนสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่า Internet of Things เหล่านี้รวมถึงอุปกรณ์ Telematics Solution รวมอยู่ด้วย
เมื่อภาคธุรกิจให้ความสนใจลงทุนในเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เราก็ควรมาดูกันว่า ปัจจุบัน Telematics Solution สามารถพัฒนาไปเป็นการใช้งานในภาคธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไรกันบ้าง
หลายคนอาจคิดว่า Telematics Solution เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยการพัฒนาโดยต่างชาติ แต่จริงๆ เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนาในประเทศไทยและพร้อมให้บริการแล้ว โดย AIS ผู้นำด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีเล็งเห็นความสำคัญของภาคธุรกิจ Logistics ของไทยที่จะเติบโตขึ้น จับมือกับ V2X ผู้พัฒนานวัตกรรมชาวไทยเปิดตัว Telematics Solutions ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยนอกจากการเตรียมพร้อมด้าน Platform แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อย่าง V2X-2 ที่เปลี่ยนให้รถเกือบทุกรุ่นพร้อมใช้งาน Telematics ได้ทันที
Telematics Solutions จาก AIS V2X ถือเป็นมิติใหม่ของการใช้ยานยนต์ในไทย เพื่อคนไทยโดยเฉพาะ โดยนำเอาจุดแข็งด้านการเป็นผู้นำโครงข่าย 4G ที่แข็งแรงที่สุดในปัจจุบันของ AIS รวมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการสร้าง Solution ของ V2X มาสร้าง Platform ให้บริการด้าน Telematics ที่รองรับการสื่อสารไร้สายกับพาหนะได้อย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้ง Platform จะประมวลผล วิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยเท่านั้น
นอกจากการเตรียมพร้อมด้าน Platform แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อย่าง V2X-2 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เปลี่ยนให้รถเกือบทุกรุ่นพร้อมใช้งาน Telematics ได้ทันที โดยอุปกรณ์ V2X-2 สามารถต่อพ่วงกับช่อง OBDII (On-Board Diagnostic 2) ช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมที่อยู่ในรถยนต์ทั่วไป V2X-2 มาพร้อม GPS Tracking สำหรับระบุตำแหน่ง, G-Sensor แบบ 3 แกน สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหว, รองรับการเชื่อมต่อ 4G และสามารถให้ข้อมูลการทำงานของรถยนต์ได้ทั้งหมด
V2X-2 ติดตั้งง่ายเพียงแต่เสียบกับช่อง OBDII และเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน V2X บน Smartphone ก็สามารถติดตามค่าต่างๆ ได้ทันทีจากทุกที่ด้วยการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4G ที่เริ่มต้นเดือนละ 200 บาท โดย Feature การทำงานหลักของแอปฯ มีดังนี้
คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร ของ AIS กล่าวว่า “อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์จะเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมอื่นๆ และเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบอุตสาหกรรมขนส่งไปจากเดิม AIS ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการดิจิทัลสำหรับธุรกิจ เห็นความสำคัญและมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกอย่างต่อเนื่อง การสร้าง Telematics Platform ครั้งนี้ เป็นการนำความแข็งแรงด้านเครือข่าย ทั้ง 4G, 5G และ ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ทั้ง Cloud และ IoT ของ AIS มาผนึกกำลังกับเทคโนโลยี Telematics จาก V2X เพื่อให้เกิดบริการที่มีประสิทธิภาพ และจะทำให้เกิดแหล่งข้อมูลใหม่ หรือ Big Data ช่วยให้ธุรกิจไทย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างขีดความสามารถให้กับองค์กรได้"
คุณเลิศ ตันติสุกฤต ประธานบริษัท วีทูเอ็กซ์ จำกัด หรือ V2X กล่าวว่า " V2X เป็น Solution Provider ที่เชี่ยวชาญด้าน Telematics ซึ่งสามารถให้บริการครบวงจรทั้ง Smart Device, Friendly Software และ Intelligent Platform เราลงทุนสร้าง Universal Platform ที่ทันสมัยและสามารถรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลาย และตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้บริการด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากยานพาหนะที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร V2X เราให้ความสำคัญกับความถูกต้อง เที่ยงตรง และน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูงสุดตามมาตรฐานการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยความร่วมมือกับ AIS ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เช่น การลงทุนในเครือข่าย 5G จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกับ V2X ในการพัฒนาการให้บริการ Telematics แก่ผู้บริโภคได้ดียิ่งๆขึ้นไป"
อุปกรณ์ V2X-2 เริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการบน AIS Online Storeตั้งแต่วันนี้ สามารถสั่งซื้อได้ที่http://store.ais.co.th และผ่าน AIS Shop ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการนำ Telematics ไปใช้ หรือสนใจ Business Solution ด้าน IoT อื่นๆ ของ AIS สามารถติดตามได้ที่ https://business.ais.co.th หรือขอข้อมูลโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลองค์กรของท่าน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด