Alex Osterwalder จะสร้างนวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือการสร้าง Value ให้กับลูกค้า | Techsauce

Alex Osterwalder จะสร้างนวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือการสร้าง Value ให้กับลูกค้า

ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าธุรกิจไม่ได้เเข่งขันกันที่สินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่แข่งกันที่เรื่องราวที่นำมาสู่ความต้องการของลูกค้า และการ Innovate อย่างต่อเนื่อง อย่างการทำโมเดลธุรกิจที่ตอบรับสิ่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทาง SCG จึงร่วมกับพันธมิตรจัดงาน Corporate Innovation โดยได้ Alex Osterwalder ผู้คิดค้น Business Model Canvas และผู้เขียนหนังสือ Business Model Generation ทำการนำ Workshop ในครั้งนี้ ภายใต้ชื่อ Alex Osterwalder’s Corporate Innovation Masterclass ซึ่งงานนี้จัดโดย 'Nexter Academy' หน่วยงานด้านนวัตกรรมองค์กรและขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจใหม่ ภายใต้ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (SCG)

ซึ่งหลักสูตรนี้ ถือเป็นการเสริมกลยุทธ์พลิกเกมธุรกิจที่ทาง Alex เคยสอนให้กับองค์กรในต่างประเทศมาแล้วทั่วโลก รวบรวมเนื้อหาอัดแน่น ตั้งแต่การวางแผนจนถึงการวัดผล ปรับให้แนวคิด Corporate Innovation เข้าใจง่ายขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง พร้อมแนวคิดและเทคนิคที่น่าสนใจ โดยทาง Techsauce ได้นำสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจบางส่วนมาให้ได้ฟังกันคร่าวๆ ค่ะ




 

นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ในองค์กรที่มีกลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรม (Stategic Innovation) โดยแต่ละองค์กรก็ต้องการสร้างวัฒนธรรมที่มีโครงสร้างองค์กร กระบวนการ และเครื่องมือที่แตกต่างกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบของนวัตกรรมและสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นให้ได้

นวัตกรรมมี 3 รูปแบบและมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน


1. Efficiency Innovation (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจเดิม) ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานของธุรกิจดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกลุ่มลูกค้า ความท้าทาย หรือรูปแบบธุรกิจใหม่ แต่ทำได้โดยการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการทำงาน

ตัวอย่าง Amazon ที่ใช้เทคโนโลยีในการทำให้ระบบ logistic ดีขึ้น แม้ว่าข้อนี้จะจำเป็นสำหรับธุรกิจ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้รอดพ้นจาก disruption ได้

2. Sustaining Innovation (เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ) โดยการนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่มาที่แทนที่ของเก่า หรือโดยการนำนวัตกรรมทางการตลาดและการโฆษณามาใช้ 

อย่าง Amazon ที่พัฒนา Kindle ไว้สำหรับการอ่านหนังสือ แม้จะช่วยยืดอายุธุรกิจไปได้ แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันการโดน disrupt อยู่ดี

3. Growth innovation (เพื่อสร้างเครื่องมือการเติบโตใหม่): โดยการทดลอง Value proposition หรือกับรูปแบบธุรกิจ Business model ใหม่ทั้งหมด

ในกรณีของ Amazon จะเห็นได้ว่ากำไรหลักๆ มาจาก Amazon Web Services (AWS) จากเดิมที่เคยเป็นบริษัทขายหนังสือ ซีดี และอื่นๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ตอนนี้กลายเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Amazon อยู่รอดและยิ่งใหญ่ได้ เพราะพวกเขาไม่ได้จำกัดตัวเองแค่ในอุตสาหกรรมเดียว

ธุรกิจของ Amazon มีทั้งฝั่ง E-commerce ที่ขายสินค้าให้กับผู้ใช้บริการ (B2C) และ AWS ที่ขายแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ให้กับองค์กร (B2B) ด้วย

นวัตกรรมไม่ใช่การนำเทคโนโลยีล้ำที่สุดมาใช้ แต่คือการสร้างคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้า

หลายต่อหลายครั้งเมื่อได้ยินคำว่า 'นวัตกรรม' หรือ Innovation คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเทคโนโลยี จริงอยู่ที่ว่าเทคโนโลยีสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนของนวัตกรรมได้ แต่ก็ไม่เสมอไป

บริษัทต้องทำการทดลองโมเดลธุรกิจและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ Innovation ไม่ใช่การเอา Technology ใหม่ที่สุดหรือทันสมัยที่สุดเข้ามาใช้ แต่เป็นการกับสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า โดยการทำ Value Proposition ของธุรกิจที่ดีกว่า ผ่านการสร้างโมเดลธุรกิจที่ดีกว่า หรือการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่

Alex ได้ยกตัวอย่างกรณี Nintendo Wii ซึ่งที่ได้ทำการสร้างพื้นที่สำหรับลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยการใช้ทรัพยากรหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว แม้จะเป็นการทดลองที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะเป็นการมุ่งที่กลุ่มผู้เล่นเกมกลุ่มใหม่ที่ไม่ได้เล่นเกมส์แบบเอาจริงเอาจัง อีกทั้งเทคโนโลยีก็ไม่ได้ล้ำสมัย แต่จะเห็นได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนของวันแรกเท่านั้น ส่วนในวันที่สองจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ติดตามได้จากทาง Techsauce เร็วๆ นี้

เกี่ยวกับ Alex Osterwalder’s Corporate Innovation Masterclass in Thailand

หลักสูตรมาสเตอร์คลาสที่เคยสอนให้กับองค์กรในต่างประเทศมาแล้วทั่วโลก ที่รวมทุกเครื่องมือและกระบวนการสร้างนวัตกรรมองค์กรไว้ในงานเดียว ซึ่งงานนี้จัดโดย ‘Nexter Academy’ หน่วยงานด้านนวัตกรรมองค์กรและขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจใหม่ ภายใต้ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (SCG) โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรอย่าง บางจาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BDMS แสนสิริ ไปรษณีย์ไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทีซีซี แอสเซ็ทส์ MCOT DeOne และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยในหลักสูตรนี้ ได้รับความสนใจอย่างล้มหลาม กับผู้เข้าร่วมถึง 600 คน ถือเป็นงานแรกที่ ALEX OSTERWALDER ถ่ายทอดทุกเครื่องมือ แนวคิด และกระบวนการการทำนวัตกรรมในองค์กร หรือ Corporate Innovation อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การวางแผนจนถึงการวัดผล ปรับให้แนวคิด Corporate Innovation เข้าใจง่ายขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างเห็นผล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

13 ทริคต้องรู้! วิธีใช้ Microsoft Copilot จากกูรู เพจวิศวกรเป็ด

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ Microsoft Copilot ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย คุณสามารถใช้ Copilot ในการสร้างภาพ วางแผนประ...

Responsive image

AI ฉลาดแค่ไหนขึ้นอยู่กับเรา! เรียนรู้วิธีเขียน Prompt AI ให้ได้ดั่งใจ เพิ่มโอกาสและสร้างความได้เปรียบในโลกยุคดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ รวมถึงคนทั่วไปก็ต่างมองหาโอกาสในการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในโลกยุคด...

Responsive image

เจาะสมองมนุษย์ พัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยคุณทอย กษิดิศ ด้วยศาสตร์ Behavioral Economics

“อย่าทำอะไรที่สวนทางความเชื่อของคน” นี่คือประโยคที่คุณทอย นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของไทยย้ำในวิธีทำการตลาด และชี้ว่านักการตลาดจะได้แต้มต่อก็ต่อเมื่อเข้าใจวิธีการทำงานของสมอง เจาะลึกเน...