สัมภาษณ์พิเศษ 'Allianz' กับการหันมาสนับสนุนสตาร์ทอัพ InsurTech ยกระดับบริการประกันภัย | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ 'Allianz' กับการหันมาสนับสนุนสตาร์ทอัพ InsurTech ยกระดับบริการประกันภัย

อีกหนึ่งโครงการสนับสนุน Startup โดยอลิอันซ์ อยุธยา ในชื่อโครงการAllianz Ayudhya Activator’ (อลิอันซ์ อยุธยา แอคทิเวเตอร์) ได้แถลงเปิดตัวไปไม่กี่วันก่อน โดยโครงการเปิดรับสมัครสตาร์ทอัพ 3 ธุรกิจใหม่ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านประกัน (InsurTech) เทคโนโลยีด้านการเงิน (FinTech) และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) เข้ารับการอบรมเข้มข้นตลอด 12 สัปดาห์เพื่อชิงทุนเริ่มต้นธุรกิจ (Seed Investment) มูลค่ารวมกว่า 2,000,000 บาท

ทีมงาน Techsauce ได้มีโอกาสพบกับ Robin Loh ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล  อลิอันซ์ เอเชีย แฟซิฟิค เพื่อพูดคุยถึงวงการ InsurTech และวิสัยทัศน์ของอลิอันซ์ ว่าเหตุใดถึงมาร่วมลงทุนกับ startup ในด้านนี้ และเขามองอนาคตของวงการนี้ในปีหน้าเอาไว้อย่างไร

ตลอดช่วงเวลาที่ทำงานมา Robin โฟกัสอยู่กับ Digital Transformation โดยการทำงานกับ อลิอันซ์ เขาเป็นผู้ดูแลด้านแพลตฟอร์มดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐาน IT ภายในภูมิภาค รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

“กลยุทธ์ด้านดิจิทัลของอลิอันซ์ในเอเชียคือการร่วมเป็นดิจิทัล พาร์ทเนอร์ ทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนใน ecosystem ของไทย ไม่ว่าจะเป็น e-Travel/e-Health/e-Commerce/Ride-sharing/GovTech/ Fintech เราอยากจะร่วมงานกับทั้งองค์กร และ Startup ซึ่งโครงการนี้ ทำให้เราได้ค้นพบ Startup เก่งๆใหม่ๆ และพร้อมร่วมงานกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ Startup ด้าน InsurTech ที่กำลังเติบโตในเอเชีย”

ทำไมถึงโฟกัสที่ HealthTech FinTech และ InsurTech?

เนื่องจากเราเป็นบริษัทประกัน เพราะฉะนั้นเราจึงมีความรู้และคลุกคลีอยู่กับการประกันและด้านสุขภาพ เรารู้ความเสี่ยงของมันเป็นอย่างดี ซึ่งการประกันเกี่ยวข้องกับการเงินและสุขภาพเป็นหลัก จึงให้กลับมาคิดว่า เราจะทำยังไงถึงจะสามารถลงลึก และพัฒนาการบริการให้ดีขึ้นได้ ทั้งในการคุ้มครองชีวิต สุขภาพและอื่นๆ

ทำไมถึงอยากทำงานกับ Startup?

มันเป็นความตั้งใจของเราที่อยากจะเป็นเข้าถึงทุกส่วนในระบบ Ecosystem ซึ่ง Startup จะทำให้เราเข้าถึงด้านต่างๆ ที่เราอาจจะไม่คุ้นชิน และทำให้เราปรับเข้ากับวัฒนธรรมในแต่ละที่ได้ นอกจากนั้น startup จะสามารถช่วยในการพัฒนาด้านบริการ อย่างเช่น การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือการสร้างแพลตฟอร์ม ต่างๆที่ตอบโจทย์ลูกค้า

มันมีคำกล่าวว่า คนที่ทำธุรกิจจะชอบคู่แข่งที่ฉลาดและเก่ง เพราะนั่นจะสามารถยกระดับอุตสาหกรรมทั้งวงการนั้นได้

ถึงแม้เราจะเป็นบริษัทใหญ่ แต่เราไม่ได้อยากปิดกั้นพวกบริษัทใหม่ๆ หรือ Startup เราอยากจะช่วยให้ Startup เหล่านั้นเติบโตขึ้นมา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ทั้งด้านเทคโนโลยี การบริการลูกค้า และทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการประกัน

ปัจจัยอะไรที่ทำให้ InsurTech เติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ?

มันมีปัจจัยสองสามอย่างที่ส่งผล อย่างแรกคือ 'ความต้องการของผู้บริโภค' ซึ่งอยากเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างในด้านประกันสุขภาพ ถ้าหากใครสักคนรู้สึกไม่ค่อยสบายขึ้นมา เขาจะไม่ไปหาหมอในทันที แต่จะพยายามค้นหาอาการและข้อมูลจากบนออนไลน์ก่อน และพฤติกรรมนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของผู้บริโภค

ถ้ามองในด้านประกันชีวิต พวกเขาจะอยากรู้และอยากเข้าใจว่า จะทำยังไงถึงจะคุ้มครองครอบครัวตัวเองได้ดีขึ้น และเมื่อเรามองเห็นว่าผู้บริโภคต้องการข้อมูลเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดโอกาสสำหรับบริษัทอย่างอลิอันซ์ และสำหรับ Startup ด้วย อย่างเช่นที่เราเห็นในตอนนี้ว่ามี Aggregator อย่าง Gobear เกิดขึ้นมากมาย

ปัจจัยอย่างที่สองคือ 'เงื่อนไขทางกฏหมายที่เปิดกว้าง' ในประเทศไทยมีนโยบายที่เปิดกว้างสำหรับการค้นหาข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาด้านการบริการให้ดีขึ้นได้ ผมคิดว่าถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางฝั่งกฏหมาย มันคงยากที่ InsurTech จะเติบโตและพัฒนาได้

มองเทรนด์ของ InsurTech ในปีหน้าไว้อย่างไร?

สำหรับ InsurTech ผมคิดว่าเราน่าจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI / Machine Learning มาใช้กับด้านกันประกันทั้ง ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และอื่นๆ

ตอนนี้เราได้เห็นการใช้ Chatbot เพื่อตอบคำถามลูกค้ากันบ้างแล้ว ซึ่งในปีหน้าจะมีการใช้ Machine Learning เพื่อพัฒนาขั้นตอนการเคลมประกัน และใช้ AI เพื่อจัดการกับการปลอมแปลงข้อมูล ที่จะช่วยให้การเคลมประกันของจริงทำได้รวดเร็วขึ้น

นอกจากนั้นเราน่าจะเห็น การรวมประกันเข้ากับ Fintech Ecosystem ไม่ว่าจะเป็น e-payment หรือด้านการลงทุน ซึ่งจะทำให้เข้าถึงกลุ่มคน millennial ได้มากขึ้น โดยการประกันจะไปรวมอยู่ในทุกๆ อย่างในการใช้ชีวิต เช่น เมื่อถึงเวลากู้เงินไปซื้อบ้าน หรือซื้อรถ คนก็อยากจะซื้อประกันไปเองโดยธรรมชาติ การรวมแพลตฟอร์มต่างๆ จะเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะกับ บริษัทประกัน ธนาคาร หรือ Startup

คำแนะนำต่อ Startup ที่มาเข้าร่วมโครงการ

จงตอบโจทย์ให้ตรงประเด็น เพราะทุกๆ โครงการ Accelerator หรือ Incubator จะมี DNA ของตัวเองอยู่ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับบริษัทที่อยู่เบื้องหลัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโครงการนั้นเป็นของบริษัท E-commerce ก็ควรโฟกัสการพัฒนาในด้านโลจิสติกส์ หรือการขาย แต่เมื่อเราเป็นบริษัทด้านประกัน เราอยากให้ startup โฟกัสที่ การบริการที่จะคุ้มครองลูกค้าได้ดีขึ้น ควรตอบคำถามอย่างเช่น ‘ลูกค้าต้องการการคุ้มครองในด้านไหนมากที่สุด?’ และ 'เราควรพัฒนาการบริการอะไร?’ เมื่อคุณหาคำตอบตรงนี้และทำให้มันตรงประเด็นได้ คุณจะสามารถสร้าง value ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและพัฒนาอุตสาหกรรมได้จริงๆ

อีกคำแนะนำคือ ต้องมีความกล้า ต้องกล้าตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ไม่ใช่ว่าการที่ทำอะไรแบบเดิมๆ มาเป็นร้อยปีแล้วจะต้องทำแบบเดิมๆ ต่อไปเรื่อยๆ หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องกล้าคิดหาสิ่งที่ดีกว่า

สิ่งที่อยากเห็นจาก Startup

เราอยากเห็นความแตกต่าง เราไม่อยากให้ทุกคนโฟกัสแค่ขั้นตอนการเคลมประกันอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะมองไปที่การพัฒนาการป้องกันการปลอมแปลง แล้วก็ไม่อยากให้ทุกคนทำ Chatbot เหมือนกันหมด เพราะความแตกต่าง จะช่วยให้เราพัฒนาในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้น

อีกอย่างที่อยากเห็นคือ การแสดงศักยภาพที่จะสามารถขยายต่อไปได้ สามารถนำ Solutions ไปใช้ทั้งในเอเชียและต่างประเทศทั่วโลกได้ ไม่ใช่แค่ใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น อย่างที่ผมบอกว่าการทำงานของอลิอันซ์คือการ “เริ่มจาก Local แล้วขยายไปสู่ Global”

สำหรับ Startup ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ – 15 ธันวาคม 2560 ผ่านทางเว็บไซต์ www.activator.global เท่านั้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะเบื้องหลังดีล Zipevent และ Link Station Group สู่การขยายธุรกิจอีเวนต์ในภูมิภาค SEA

การเข้าซื้อกิจการระหว่าง Zipevent แพลตฟอร์มจัดการอีเวนต์และจำหน่ายบัตรออนไลน์ในประเทศไทย กับ Link Station Group บริษัทญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำหน่ายบัตร (Ticketing System) ถือเ...

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...