ในสัปดาห์ของงาน Fintech Festival สิงคโปร์ หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการเงินชั้นนำของโลก ที่ให้บริการการประกันและการบริหารสินทรัพย์อย่าง Allianz ก็ได้เปิดบ้านสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชีย ที่สิงคโปร์ ให้ผู้สื่อข่าวจากหลายประเทศในเอเชียได้เยี่ยมชม พร้อมเผยยุทธศาสตร์รวมถึงนวัตกรรมต่างๆของ Allianz ที่พร้อมจะขับเคลื่อนในเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งทีมงาน Techsauce ก็ได้เดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย
Allianz เป็นธุรกิจที่มีประกันวินาศภัยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่ง Allianz Asia Pacific กำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของกลุ่ม Allianz โดยมี 16 ตลาดในภูมิภาค จำนวนลูกค้า 21 ล้านคน โดย เมื่อปีที่ผ่านมาที่อินโดนีเซีย มีลูกค้า 200 ล้านคน จากการร่วมพันธมิตรกับบริษัทดิจิทัล ซึ่งที่สิงคโปร์นี้ยังเป็นสถานที่ตั้ง Allianz Asia Lab สถานที่บ่มเพาะนวัตกรรมด้านต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจและโซลูชั่นส์ด้านสุขภาพ การเดินทาง และ smart city – living ให้กับลูกค้า
“Allianz กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเดินทาง ภูมิภาคเอเชียขยับมาอยู่ในอันดับสามของกลุ่มที่สร้างรายได้ให้ Allianz โดยอนาคตเรามองเห็นช่องทางการขายผ่านดิจิทัลมากขึ้น ทั้งแฟรนไชส์โมเดลที่กำลังอยากทำให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ลองให้คิดภาพถึงแมคโนดัล”
คุณจอร์จ ซาโทเรล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) อลิอันซ์ เอเชีย แปซิฟิค ได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่สร้างในธุรกิจช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ทั้งการตั้ง Digital Lab ที่สิงคโปร์ , การ Partner กับ Uber , Go-Jek ในอินโดนีเซีย อีกทั้งยังมีการพัฒนาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์ใหม่ที่ไต้หวัน และมีการขยายมาใช้ที่มาเลเซียกับอินโดนีเซีย เครื่องมือนี้ช่วยให้พนักงานขายสินค้าให้ลูกค้าได้ง่ายๆผ่าน iPad ไม่ว่าตัวแทนประเทศไหนทุกคนสามารถใช้แพลตฟอร์มเดียวกัน โดยหลักสำคัญคือให้การสนับสนุนและทำความเข้าใจลูกค้า
“ในตอนนี้ทุกธุรกิจกำลังถูก Disrupt ทั้งบริษัทประกัน ธุรกิจไฟแนนซ์กำลังถูก Startup เข้ามาโจมตี โดยเราไม่ได้มองว่า Startup เป็นศัตรู แต่มองถึงการเป็น Partner ซึ่งการจะประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทควรอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าอยู่”
โรบิน โล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านดิจิทัล (Chief Digital Officer) อลิอันซ์ เอเชีย แปซิฟิคกล่าว พร้อมเผยถึงการขับเคลื่อน Allianz Group โดยใช้ 3 กลยุทธ์รูปสามเหลี่ยมดังนี้
ถ้าคุณซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ เราล้วนแต่ต้องการความคุ้มครอง และเราหวังว่า Allianz สามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทุกเส้นทางของลูกค้า ในการจัดการเรื่องความคุ้มครอง และสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์กับลุกค้าในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
คุณโรบินบอกว่า ในเอเชียนั้นคนยังมีประกันน้อย การที่เรามีแพลตฟอร์มแบบนี้จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองมากขึ้น โดยในไทยมีการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายโรงพยาบาล โดยทำ API กับโรงพยาบาล มี E-Billing ที่จะทำให้ลดขั้นตอน เมื่อลูกค้าต้องการออกจากโรงพยายามก็ไม่ต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้ยังมีโครงการ Incubator Program เพื่อจะสอนพวก Startup ด้วย
คุณเรย์มอนด์ อู หัวหน้าเอเชีย แล็ป อลิอันซ์ เอเชีย แปซิฟิค ได้มาเล่าถึงการนำข้อมูลมาใช้อย่างชาญฉลาดหรือ Smart Data ว่า การเอาข้อมูลมาใช้อย่างชาญฉลาดได้ อันดับแรกต้องมีข้อมูล ซึ่ง Allianz ก่อตั้งมากว่า 130 ปี มีการเก็บข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง เพื่อสามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ Value Chain โดยนิยามของ Smart Data คือ
ตัวอย่างเช่น เรามีขัอมูลเรื่องของการเคลมของรถยนต์ เรารู้ว่าความเสี่ยงอยู่ตรงไหน ข้อมูลที่มาจากข้างนอก ข้อมูลที่แชร์อยู่ทั่วไป มีการใช้อัลกอริทึมว่าด้วยแพทเทิร์นข้อมูล ว่าจะต้องมีการเคลมแบบไหนบ้าง
Ecosystem partner: พันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย (ระบบนิเวศทางดิจิทัล) ของ Allianz มีหลากหลาย และครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะพันธมิตรด้านการเงิน แต่ยังรวมถึงพวกที่ให้บริการด้านอื่นๆที่ไม่ใช่การเงินอีกด้วย เช่น รถยนต์ (Auto) บริการทางสุขภาพ (Health Services) อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) เฟอร์นิเจอร์ (Furniture) ไฟฟ้าและแก๊ส (Electricity and Gas) การเดินทาง (Transportation) ซ่อมบ้าน (Home repairs) อาหาร (Food) น้ำมัน (Fuel) โรงแรม (Hotel) โทรคมนาคม (Telco)
กรุงเทพเป็นเมืองที่มีรถจำนวนมาก เราสามารถนำข้อมูลเมื่อเกิดอุบัติเหตุมาทำการวิเคราะห์ว่า จุดไหนที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้การประกันสามารถเดินทางถึงลูกค้าและสามารถเกิดการเคลมได้อย่างรวดเร็ว
คุณลอว์เรนซ์ วี Senior Data Science Mgr ได้เล่าถึงการนำข้อมูลมาใช้ในเรื่องของสุขภาพ โดยเผยข้อมูลว่า ในอนาคตเรื่องของ Health Care จะมีราคาที่ต้องจ่ายมากขึ้น 1.5 เท่าตัว ในขณะที่คนไม่ว่าจะมีเงินเดือนมากน้อยแค่ไหนแต่ก็เริ่มเป็นโรคมากขึ้น อย่างในประเทศจีน ฃมีตัวอย่างของคนจำนวน 2.6 ล้านคนที่ต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
เทคโนโลยีอาจเป็นสิ่งที่สามารถนำมาตอบโจทย์ในเรื่องของสุขภาพ เช่น การนำ AI หรือ Machine Learning มาช่วยวิเคราะห์ จะทำให้สามารถคาดคะเนโอกาสของการเกิดโรคล่วงหน้าได้
ยกตัวอย่างผู้ป่วยคือ คุณฟินลิป อายุ 60 ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโดยปกติแล้ว 30% ของผู้ป่วยจะรู้ว่าเป็นอะไรเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เพราะคนเป็นเบาหวานไม่คิดว่าจะถึงขั้นเสียอะไร แต่คุณฟินลิปก็ต้องเสียขาไปหนึ่งข้าง หากเรานำเอาอายุ เพศ มาวิเคราะห์ ใช้ AI วิเคราะห์ หรืออาจใช้ประวัติของลูกค้ามาวิเคราะห์ อาจสร้างแอปฯ หรือระบบบางอย่างที่วิเคราะห์ว่าคนเป็นเบาหวานได้เร็วมากขึ้น อาจจะมีป่วยที่ไม่ต้องถูกตัดขาแบบเคสของคุณฟินลิป
Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่กำลังถูกนำเข้ามาใช้ในหลายธุรกิจรวมทั้งการประกัน โดยในแต่ละปีเงินประกันมากกว่าครึ่งใช้ไปกับค่าแอดมิน การบริการ แสดงให้เห็นว่า Value Chain ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น Blockchain เป็นเครื่องมือที่จะสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ โดยปัญหาในปัจจุบันคือความซับซ้อนที่เกิดขึ้นของ Paperwork สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการแชร์ work flow บางอย่างทำให้เวลาในการทำ Transaction มันลดลงได้ สิ่งที่แตกต่างของ Blockchain คือ การบริหารที่แยกกันระหว่างการจ่ายเงินและการทำ Transaction ดังนั้นสิ่งที่บล็อคเชนทำ ยังมีเรื่องความปลอดภัยเรื่องของข้อมูลอยู่
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Allianz ได้ร่วมมือกับ 38 บริษัท ในการนำ Blockchain มาใช้ โดยก่อตั้ง B3I ซึ่งคือความพยายามของอุตสาหกรรมที่จะร่วมมือกันทั้งมีทีมไอที การสร้างโมเดล โปรโตไทป์ โดยสิ่งที่ B3I ทำ คือหาโอกาสที่จะนำ Blockchain ไปใช้ใน Value อื่นด้วย
ในตอนนี้จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆล้วนแล้วแต่ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนและสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ธุรกิจการประกันก็เป็นธุรกิจที่ถูก Disrupt อย่างชัดเจน ทิศทางของ Allianz ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้ต้องการให้ลูกค้าเข้าสู่เว็บโดยตรง แต่ต้องการนำการนำบริการไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าอยู่ พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพให้กับการบริการ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด