ตอนนี้ ประเทศไทยมีผู้ให้บริการ e-Money ทั้งหมดกี่รายแล้ว? | Techsauce

ตอนนี้ ประเทศไทยมีผู้ให้บริการ e-Money ทั้งหมดกี่รายแล้ว?

จาก Section "Introduction CTC2018 & 2018 Trends : ENTREPENEUR" ในงาน Creative Talk Conference 2018 คุณพรทิพย์ กองชุน COO Jitta ได้แสดงถึงความกังวลต่อผู้ให้บริการ e-Wallet, e-Payment หรือ e-Money ที่มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของแต่ละผู้ใช้บริการมาใช้เป็นจำนวนมากตามไปด้วย

คำถามที่ชวนคิดและชวนไปค้นหาข้อมูลต่อคือ "ตอนนี้มีผู้ให้บริการดังกล่าวอยู่กี่ราย?" เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ

คุณพรทิพย์ กองชุน COO Jitta / Photo: Creative Talk Conference 2018

คำตอบต้องไปดูในเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ กันครับ ...แต่ก่อนอื่น ๆ พาไปดูคำนิยามของ "เงินอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "e-Money" โดยแบงก์ชาติให้คำนิยามว่า

“เงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money) หมายถึง มูลค่าเงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติก หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเงินที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ชาระค่าสินค้า ค่าบริการแทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าที่รับชำระ

ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • e-Money บัญชี ก - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว นอกจากนี้ มีผู้ให้บริการที่ได้รับยกเว้น เช่น บัตร e-Money ที่ใช้ซื้ออาหารในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้า
  • e-Money บัญชี ข - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน ได้แก่
    • ธุรกิจ Franchise หรือตัวแทนการจัดจำหน่าย ซึ่งมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าเดียวกัน เช่น ปั๊มน้ามัน
    • ธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการเดียวกัน เช่น ระบบขนส่งมวลชน
    • ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบาย บริหารจัดการในลักษณะกลุ่มเดียวกัน เช่น กิจการในเครือ
    • ธุรกิจที่ประกอบกิจการอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่การจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น ศูนย์การค้า
  • e-Money บัญชี ค - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-Money เป็นต้น

ข้อมูลจากแบงก์ชาติ เมื่อ 14 ธันวาคม 2560 ระบุว่ามีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวน 30 ราย แบ่งออกได้ดังนี้

  • e-Money บัญชี ก มี 1 ราย ได้แก่
    • บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: BTT Blue Card)
  • e-Money บัญชี ข มี 7 ราย ได้แก่
    • บริษัท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด (ชื่อทางการค้า: ไอแอมบีทู/I am B2)
    • บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด (ชื่อทางการค้า: star CASH)
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: BEM, M)
    • บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: MCASH)
    • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: BTS Sky Smartpass)
    • บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด (ชื่อทางการค้า: Central Gift Card)
    • บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์)
  • e-Money บัญชี ค
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: บัตรเงินสดเชลล์)
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: KTB e-Money Card, KTB e-Money Gift Card, Welfare Card/บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: Krungsri Gift Card)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: K+ WALLET, K-Cash Card, PTT TOP-UP CARD, PTT Privilege Card, Bangchak Cash Card)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB (ชื่อทางการค้า: ESSO Prepaid Card, PTT Top up Card, PTT Prepaid Plus Card, Bangchak Prepaid Card)
    • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: TISCO Direct Purse)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: SCB Virtual Prepaid Card, SCB CASH, SCB EASY APPLICATION, SCB UP2ME)
    • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (ชื่อทางการค้า: True Money Wallet)
    • บริษัท ทีทูพี จำกัด (ชื่อทางการค้า: DeepPocket, Samsung Galaxy Gift Card)
    • บริษัท ทูซีทูพี พลัส (ประเทศไทย) จำกัด (ยังไม่มีชื่อทางการค้า)
    • บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (ชื่อทางการค้า: Thai Smart Card Co., Ltd., Smart Purse, Smart Plus, all smart pay)
    • บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (ชื่อทางการค้า: แรบบิท/rabbit)
    • บริษัท เพย์สบาย จำกัด (ชื่อทางการค้า: Paysbuy)
    • บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: Be Wallet, บุญเติม)
    • บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: Rabbit LINE Pay)
    • บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: zGoldMOLPoints, โซนี่ เพลย์สเตชั่นพลัส, โซนี่ เพลย์สเตชั่น พรีเพดการ์ด)
    • บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด (ชื่อทางการค้า: บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด)
    • บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด, mPAY)
    • บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อทางการค้า: AirPay)
    • บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (ชื่อทางการค้า: PayforU)
    • บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: LAZADA WALLET powered by helloPay)

สุดท้าย คุณพรทิพย์ ให้แสดงความเห็นว่า "ในอนาคตอาจจะมี Startup เข้ามาแก้ปัญหา [ผู้ให้บริการ e-Money ที่มีมากราย] ตรงนี้"

อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2), (3) และ (4)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...