เราทุกคนล้วนมีชีวิตอยู่ในระบบที่เราไม่สามารถเข้าใจได้อย่างเต็มที่ อาหารมื้อสุดท้ายที่คุณกิน อาจมีผลผลิตที่ปลูกในประเทศหนึ่ง แต่กลับถูกแปรรูปและบรรจุหีบห่อในอีกประเทศหนึ่ง ส่งแล้วขายให้คุณ รวมถึงโทรศัพท์มือถือในมือของคุณก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีห่วงโซ่ที่ซับซ้อนมาก โดยอาจอาศัยแรงงานมนุษย์จากเหมืองในแอฟริกา นำมาผลิตและประกอบตัวเครื่องในประเทศจีน และตั้งโชว์บนโต๊ะในกรุงเทพ
ซึ่งแน่นอนว่าการอธิบายอะไรที่เชื่อมโยงกันอยู่แบบซับซ้อนซึ่งมีผลต่อโลกใบนี้ ต้องยอมรับว่าไม่ง่ายนักที่อะไรอธิบายอะไรแบบนี้ออกมาได้ง่ายๆ แต่ Kate Crawford อาจารย์ประจำ New York University รวมถึงยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันที่ชื่อว่า AI Now Institute องค์กรที่ตรวจสอบความเกี่ยวข้องทางสังคมในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และ Vladan Joler อาจารย์ประจำ Academy of Arts at the University ที่เมืองนอวีซาด ประเทศเซอร์เบีย ตัดสินใจอธิบายอะไรบางอย่างที่ไม่ง่าย โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI)
ทำให้อาจารย์ทั้ง 2 คนตัดสินใจสร้างแผนภาพที่ชื่อว่า “Anatomy of an AI System” โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาสร้างแผนภาพนี้ขึ้น เพราะในเวลานี้ทุกคนขาดความตระหนักในโครงสร้างที่สนับสนุนอุปกรณ์ Gadgets สมัยใหม่ โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่มีอยู่ในนั้น
โดยแผนภาพนี้เลือกเอาระบบ AI ภายในอุปกรณ์ Amazon Echo ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของโลกยุคใหม่ที่ระบบอันทรงพลังและซับซ้อน มีการใช้เส้นแผนภาพสีขาวและพื้นหลังสีดำ ให้ความรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังดูแผนภาพของระบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่อยู่ใน Echo ตัวเล็กอยู่ พร้อมทั้งเขียนคำอธิบายไว้ในภาพว่า “Amazon Echo เป็นแผนที่ทางกายวิภาคของแรงงานมนุษย์ ข้อมูล และทรัพยากรของดาวเคราะห์”
Crawford: พวกเราอยากให้มีบทสนทนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการสร้างปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ ที่ลึกและซักซ้อนมากขึ้น และด้วยแผนภาพนี้จะทำให้คุณสามารถมองเห็นและเริ่มเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบของภาพใหญ่ได้จริงๆ
ซึ่งทำให้เห็นว่า Echo มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยความสะดวกสบายให้เราได้มากมาย แต่เมื่อเราดูเบื้องหลังของระบบจะเห็นว่าต้องแลกมากับการลงทุนระดับมหาศาลเพื่อให้ได้ระบบเหล่านี้ออกมา
โดยเป้าหมายสูงสุดของแผนภาพนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของความโปร่งใส (Transparency) แม้ทั้งสองจะระบุว่าความโปร่งใสจะไม่ช่วยได้มากนัก หากบริษัทต่างๆ ปราศจากรูปแบบของทางเลือกที่แท้จริง และความรับผิดชอบขององค์กร ซึ่งพวกเขามองว่าความโปร่งใสเพียงอย่างเดียวก็จะไม่ทำให้น้ำหนักของความสมดุลระหว่างผู้บริโภคและองค์กรเกิดขึ้นได้
แม้ว่าบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ จะชอบบอกว่าตัวเองมีความโปร่งใส แต่ในความเป็นจริงก็ยังคงปิดบังระบบการทำงานด้านเทคโนโลยีทั้งแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ โดยอาจให้เหตุผลว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นความลับทางการค้า หรือเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้สาธารณะดูไม่ได้ ต้องเก็บไว้เท่านั้น
สำหรับใครที่สนใจแผนภาพดังกล่าวสามารถชมได้ทั้งแบบออฟไลน์ที่ Victoria and Albert Museum ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดนิทรรศการในชื่อ "Artificially Intelligent" รวมถึงสามารถชมทางออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ Anatomy.ai
อ้างอิงข้อมูลจาก The Verge และ Fast Company
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด