ช่วงที่ผ่านมาบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกปลดพนักงานจำนวนมหาศาล รวมถึงในฝั่งอาเซียนก็มีการปลดพนักงานเช่นกัน เช่น Sea group มีการปรับลดพนักงานใน Shopee ไปกว่า 7,000 คน GoTo ของอินโดนีเซียก็ปลดพนักงานราว 12% เมื่อปีที่แล้ว
แต่ถึงแม้ว่าจะมีการปลดพนักงานไปมากแค่ไหน ธุรกิจสตาร์ทอัพในภูมิภาคก็กำลังกำลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรที่มีทักษะ
ปัจจัยแรกคือธุรกิจดั้งเดิม (Traditional business) มีการจ้างงาน tech talent มากขึ้น เพราะภาคส่วนดังกล่าวก็กำลังเปลี่ยนตัวธุรกิจไปสู่โลกดิจิทัลเช่นกัน และสองคือค่าตอบแทนที่บริษัทสตาร์ทอัพสามารถจ่ายให้ได้มันไม่สูงมากพอจะแข่งขัน
การศึกษาตำแหน่งงานด้านเทคโนโลยีของธุรกิจสตาร์ทอัพในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดย Glints แพลตฟอร์มจัดหาพนักงานในสิงคโปร์ และ Monk's Hill Ventures ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลจากประกาศรับสมัครงานในฐานข้อมูลของพวกเขามากกว่า 10,000 จุด รวมถึงทำผลสำรวจในบริษัทและพนักงานที่อยู่ในระยะ early stage มากกว่า 500 แห่ง พบข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น
“ตอนนี้มีการจัดสรรผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และบริษัทที่อยู่ในระยะเติบโตไปสู่สตาร์ทอัพในช่วงเริ่มต้น ซึ่งเราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับระบบนิเวศ และเมื่อเทียบกับสองปีที่ผ่านมานั้นจะมีการแข่งขันน้อยลงเล็กน้อยสำหรับผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี" Oswald Yeo ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Glints ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia
อย่างไรก็ตาม Oswald Yeo กล่าวเสริมว่าธุรกิจแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร ค้าปลีก ก็ต้องการบุคลากรที่มีทักษะทางเทคโนโลยีสูงเช่นกัน เพราะพวกเขาต้องการเปลี่ยนธุรกิจให้ไปสู่ดิจิทัล
Justin Nguyen หุ้นส่วนทั่วไปของ Monk's Hill Ventures ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia ว่าเขาเห็น ช่องว่างที่ค่อนข้างใหญ่ในอุปสงค์และอุปทานของตำแหน่งงานด้านนี้ ซึ่งในเวียดนามขาดแคลนวิศวกรประมาณ 100,000 คนในทุกๆปี
นอกจากต้องแย่งชิงคนเก่งกับธุรกิจอื่น ๆ แล้ว ท่ามกลางแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและโอกาสในการระดมทุนที่ลดลง สตาร์ทอัพยังถูกบีบให้ต้องคัดเลือกพนักงานละเอียดมากขึ้น และพิจารณาจ่ายค่าจ้างได้น้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนมากกว่านี้
จากรายงานของ Glints คาดว่าการขึ้นเงินเดือนระดับสูงสำหรับตำแหน่งงานด้านเทคโนโลยีจะ "ช้าลง" ในปีนี้ อัตราการเติบโตของ GDP อินโดนีเซียคาดว่าจะสูงถึง 10% กลับลดลงจาก 25% เป็น 40%ในช่วง ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในสิงคโปร์และเวียดนาม ขีดจำกัดบน(Upper limit) อาจลดลงเหลือเพียง 15% และ 10% ตามลำดับ
บริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีการให้ส่วนแบ่งของบริษัทแก่สมาชิกในทีมโดยมีบริการแผน ESOPs (Employee Stock Ownership Plans) ซึ่งผลสำรวจพบว่ามีบริษัทประมาณ 86% ให้แผนนี้แก่ พนักงาน แต่อย่างไรก็ตามรายงานระบุว่า สิ่งนี้จำกัดอยู่เพียงหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง
อ้างอิง : Nikkei Asia
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด