สัมภาษณ์พิเศษ AWS การใช้ AI และ Machine Learning สร้างประโยชน์ให้ลูกค้า | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ AWS การใช้ AI และ Machine Learning สร้างประโยชน์ให้ลูกค้า

Techsauce ได้เข้าร่วมงาน Amazon Web Services Summit Singapore 2018 ซึ่งทำให้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณนิค วอลทัน กรรมการผู้จัดการของ AWS และ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการใหญ่ของ AWS ประเทศไทย ถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning ให้เกิดประโยชน์กับลูกค้า

ความท้าทายในยุคดิจิตอล

อะไรคือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับองค์กรที่ต้องการปฏิรูปในยุคดิจิตอลและความท้าทายนี้ช่วยพวกเขาอย่างไร

นิค: ผมคิดว่าความท้าทายหนึ่งก็คือลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ใช้งานคลาวด์ (cloud) เข้าใจระบบโดยรวมยาก ลูกค้าส่วนใหญ่รู้ดีว่ามีความจำเป็นที่จะต้องย้ายไปใช้งานคลาวด์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากข้อเสนอน่าสนใจมาก คลาวด์ของ AWS มีความสามารถในการลดต้นทุนและเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นและคล่องตัว  คลาวด์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการพื้นฐานของประสบการณ์ลูกค้า ลูกค้าต้องการใช้งานและต้องการใช้งานอย่างรวดเร็วด้วย ความท้าทายที่พวกเราพบคือพวกเขาขาดทักษะที่จำเป็น ทักษะวิศวกรรม และทักษะสถาปัตยกรรมคลาวด์ นี่ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ AWS กำลังเผชิญหน้าอยู่ วิธีที่เราวางแผนที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการใช้การบริการชั่วคราวของเรา เจ้าหน้าที่บริการชั่วคราวของเรามีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ เรายังจัดเทรนนิ่งให้ลูกค้าที่ไม่คุ้นเคยกับระบบคลาวด์ของ AWS อีกด้วย จริงๆแล้ว เราได้จัดเทรนนิ่งให้ลูกค้าไปกว่า 25,000 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดช่วงเวลา 7 ปีหลังมานี้ การมีผู้ปฏิบัติงานที่มากขึ้นของ AWS ทำให้ลูกค้าเข้าถึง AWS ได้มากขึ้นด้วย แต่พวกเราก็ตระหนักดีว่ามีปัญหาการขาดแคลนเกิดขึ้น เรายังจำเป็นต้องมีการเทรนนิ่งเพิ่มเติมอีก เรามีโปรแกรมการศึกษาที่ให้ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์แก่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผู้ที่เข้าเรียนจะได้รับความรู้ละทักษะที่เกี่ยวกับการประมวลผลแบบคลาวด์มากขึ้น รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่งด้วย ถ้ามีสิ่งหนึ่งที่เรากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยพัฒนา มันก็คือการสร้างระบบที่ใหญ่ขึ้นของวิศวกรที่ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี

ชวพล: ผมคิดว่ามุมมองอื่นอย่างที่นิคกล่าวถึงซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้กันดี คือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่าและต้องการให้บริษัทต่าง ๆ สร้างนวัตกรรมออกมาให้รวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ดังนั้นบริษัทจึงต้องตามให้ทันความต้องการของผู้บริโภค ต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เร็วมากขึ้น โดยทั่วไปก็จะนำเสนอในรูปแบบใหม่ และกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม คุณจะเห็นได้ว่าแนวทางนี้มีในทุกอุตสาหกรรม การบริการทางการเงิน การค้าปลีกและสื่อบันเทิง แม้ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอยู่แล้ว อุตสาหกรรมที่ต่างกันเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายแบบเดียวกัน เช่น ความเปลี่ยนแปลงที่มาจากบริษัทนวัตกรรม นอกเหนือจากความรู้ในการทำธุรกิจ บริษัทจำเป็นต้องหาหนทางที่ดีที่สุดในการบริการลูกค้าด้วย

หลายปีก่อน มันก็โอเคสำหรับธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีและปรับให้เข้ากับสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจทุกวันนี้จำเป็นต้องไปให้เหนือกว่านั้น โดยการคาดเดาว่าลูกค้าจะต้องการอะไรในอนาคต คุณต้องรู้ก่อนที่ลูกค้าจะรู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขาต้องการอะไร และนั่นก็คือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญกันอยู่ การแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการระบุโครงสร้างค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถทดลองการบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้บ่อยเท่าที่จะเป็นไปได้ มันสำคัญมาก ๆ สำหรับธุรกิจที่จะต้องสร้างอะไรบางสิ่งที่ทุกวันนี้ยังไม่มีออกมา เพื่อให้มนุษยชาติก้าวต่อไปข้างหน้า”

นิค: ผมคิดว่านั่นเป็นความคิดเห็นที่ดีมาก ตอนนี้ธุรกิจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีมาตอบสนองในการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ AWS น่าสนใจมาก เพราะคุณสามารถทำการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา คำพูดแบบเดิม ๆ “โปรเจ็คนี้ใช้เวลา 2 ปี และพวกเราต้องการใช้เงิน 10 ล้านดอลลาร์ในการทำ” นั่นไม่ใช่การทำธุรกิจอย่างทุกวันนี้ ในประเทศไทย เราเห็นว่าในส่วนของการบริการทางการเงินได้รับความสนใจอย่างมาก และเมื่อผมได้มองดูความสามารถของเราที่ในการให้บริการแพล็ตฟอร์มที่มีความปลอดภัย ผมมั่นใจว่าบริการระบบคลาวด์ของเรามีผู้ใช้งานที่ทำธุรกิจทางด้านการเงินหลายราย เช่น DBS และ OCBC ซึ่งใช้งานแพล็ตฟอร์มของเราอยู่ในขณะนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือเมื่อลูกค้าเริ่มทำความเข้าใจกับวิธีรักษาความปลอดภัยของเรา ยอดเงินลงทุนที่พวกเราใช้ไปกับด้านความปลอดภัย ลูกค้าบอกเลยว่าพวกเขารู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยของ AWS มากกว่า data center ของตนเองเสียอีก และหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของเราในอเมริกาเหนือ “Capital One” COO ของพวกเขาได้กล่าวไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้วว่า “พวกเรารู้สึกปลอดภัยกับ AWS มากกว่ากับ data center ของพวกเราเสียอีก” ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดที่แตกต่างกันมากทีเดียว

การรักษาความปลอดภัยข้อมูล

ทุกวันนี้ลูกค้าไม่ไว้วางใจผู้ให้บริการคลาวด์ในการดูแลข้อมูลของพวกเขา พวกคุณมีแผนเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าบ้างไหม?

นิค: พวกเราได้ยินจากลูกค้าเราตั้งแต่วันแรกว่าการเป็นเจ้าของและการควบคุมข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ และเช่นเดียวกัน บนแพล็ตฟอร์มของ AWS ลูกค้าเป็นผู้ควบคุมการให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ พวกเราจัดชุดเครื่องมือที่เพียบพร้อมไว้ให้เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าพวกเขาจะมีสิทธิทุกอย่างในการควบคุมข้อมูลของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถควบคุมได้ทุกรายละเอียด การเข้ารหัสคือตัวอย่างที่ดี พวกเรามีตัวเลือกในการเข้ารหีสข้อมูลมากมายไว้ให้ลูกค้า  อะไรก็ตามที่เป็นความลับหรือละเอียดอ่อนได้ถูกเข้ารหัสโดย AWS หมดทั้งสิ้น ซึ่งในอดีตการเข้ารหัสข้อมูลนั้นมีความซับซ้อนและมีราคาแพงมาก ลูกค้าก็ตัดปัญหาโดยการที่ไม่เข้ารหัสข้อมูลซะเลย ทุกวันนี้พวกเราเลยทำให้การเข้ารหัสเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถมีสิทธิในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น อีกทั้งเรายังให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เรามั่นใจได้ว่า AWS สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

โลกาภิวัฒน์ของ AWS

คุณมีแผนที่จะตั้ง data center ในประเทศไทยหรือไม่?

ชวพล:  มีปัจจัยหลายอย่างที่ใช้ในการตัดสินใจสำหรับการลงทุน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น ก็หวังว่าธุรกิจในประเทศไทยจะเติบโตต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะช่วยทำให้การดำเนินงานเร็วขึ้น

นิค: พวกเรารับฟังข้อเสนอแนะของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วเราก็คาดว่าจะมีการลงทุนในทุก ๆ ประเทศ แต่ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เรากำลังปรับตัวและรับฟังข้อเสนอแนะจากลูกค้า ทุกวันนี้พวกเรามีลูกค้าในประเทศไทยทั้งองค์กรใหญ่และบริษัทสตาร์ทอัพ พวกเขาใช้ระบบสำคัญ ๆ ก็คือ SAP HANNA และมันก็มีประสิทธิภาพดีมาก อีกทั้งยังตอบสนองกับความต้องการได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นได้ว่าลูกค้าชาวไทยของเรา ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากโครงสร้างระบบไอทีของเรา

การรวมเข้ากับตลาดท้องถิ่น

ประเทศไทยสามารถเป็นประตูสู่ตลาดในประเทศอื่น ๆ ได้ เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนามและพม่า คุณได้พิจารณาที่จะหาลูกค้าเพิ่มจากการบริการทางการเงินของคุณหรือไม่ เพื่อจะได้มีลูกค้าในกลุ่ม SME ในประเทศไทยมากขึ้น?

ชวพล: กลุ่มลูกค้าจากภาคการเงินเป็นหนึ่งในรายได้ที่โตไวที่สุดของ AWS อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมทางการเงินในประเทศไทยก็มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว การแข่งขันที่สร้างนวัตกรรมเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการและผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นและตรงกับความต้องการมากขึ้น ลูกค้าก็จะได้รับการบริการที่เร็วขึ้นและถูกลงด้วย

การนำ Machine Learning นิ่งมาใช้ทำประโยชน์ให้กับลูกค้า

คุณนำ Machine Learning นิ่งมาใช้กับระบบคลาวด์ของคุณอย่างไรเพื่อจะให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด?

Amazon เริ่มทำงานในปี 1995 พวกเราทำสิ่งต่าง ๆ เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางสำหรับการจัดส่งสินค้า พวกเราใช้โดรนในการส่งสินค้าให้ลูกค้าซึ่งพวกเขาจะได้รับสินค้าภายใน 30 นาทีหรือน้อยกว่านั้น ซึ่งระบบอย่าง computer vision และโดรน ก็จะทำงานอย่างอิสระ พวกนกและสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เป็นอุปสรรคในการขนส่ง ถ้าโดรนจะมาส่งของอะไรสักอย่างและที่สวนหลังบ้านลูกค้ามีสุนัขอยู่ล่ะก็โดรนจะทำอย่างไรต่อไป? ซึ่งสิ่งที่พวกเราทำอยู่ก็คือการขยายความสามารถของสิ่งเหล่านี้ออกไป โดยการให้บริการ A.I. และ M.L. แก่ลูกค้า เพื่อที่พวกเขาจะสามารถสร้างความสามารถแบบเดียวกันได้ และพวกเราก็ตื่นเต้นที่จะได้มอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านทางเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ลูกค้าด้วย

แนวคิดของ AmazonGo เกิดจากการที่เราคิดได้ว่าลูกค้าเข้ามาในร้านของเรา เลือกสินค้า ซื้อสินค้า และต่อแถวจ่ายเงิน พวกเราให้ลูกค้าต่อคิวและเสียเวลาอันมีค่าของพวกเขาเพื่อที่จะจ่ายเงินให้เรา ซึ่งพวกเราคิดว่ามันตลกดี พวกเราเลยตัดสินใจนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยภาพ (Computer Vision) มาใช้เพื่อลูกค้าจะได้ไม่ต้องต่อคิว ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ทำไมจึงมี AmazonGo เกิดขึ้นมา

ตัวอย่างอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ OCBC ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์ ได้สร้างแล็บขึ้นมาเพื่อใช้ทดลอง A.I. และ M.L. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่มาใช้บริการสาขา ทำให้มีความคล่องตัวและมีประโยชน์มากขึ้น จุดมุ่งหมายของ AWS คือการทำให้ A.I. และ M.L. เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะตอนนี้น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า A.I. และ M.L. ทำงานอย่างไร เพราะมันค่อนข้างสับสน ดังนั้นกลยุทธ์ของพวกเราคือการทำให้ A.I. และ M.L. ง่ายขึ้นสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมทั่ว ๆ ไป เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าใจ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนทั่วไปด้วย

อนาคตของอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IOTs)

คุณคิดอย่างไรกับอนาคตของการใช้งานอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IOTs) ในเอเชียและคุณวางแผนที่จะสนับสนุนมันอย่างไร?

นิค: ลูกค้าหลายรายและบริษัทหลาย ๆ แห่งกำลังทดลองอยู่ตอนนี้ เพื่อหาการใช้งานที่น่าสนใจจริง ๆ พวกเราเห็นการใช้งาน IOT มากขึ้นในภาคเกษตรกรรม เช่น การใช้งาน IOT เพื่อที่จะขับรถแทร็คเตอร์ในอเมริกาเหนือ และ IOT แทร็คเตอร์เหล่านี้เก็บข้อมูลจำนวนมากโดยใช้เซนเซอร์จำนวนมากเช่นกัน ผู้เก็บเกี่ยวรายใหญ่จะสามารถคิดถึงประสิทธิภาพการเพาะปลูกได้ดียิ่งขึ้น ถ้าพิจารณาจากจำนวนการทำเกษตรกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ผมคิดว่าเป็นโอกาสอันดีทีเดียวที่จะได้ใช้ IOT ในภาคการเกษตร ผมคิดว่ากำลังมีการติดตั้ง IOT ในการจัดการจราจรด้วย รถแท็กซี่กว่า 200,000 คันในกรุงเทพฯ ได้ถูกติดตั้งเซนเซอร์ที่จะช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะทำให้สภาพการจราจรในกรุงเทพฯดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ IOTs ก็ยังค่อนข้างสับสนอยู่ เพราะว่าคุณต้องนำส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ มาติดตั้งไว้ด้วยกัน แถมคุณจะต้องจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น AWS จึงเป็นแพล็ตฟอร์มยอดเยี่ยมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพราะการทำให้ระบบที่ค่อนข้างสับสนเข้าใจได้ง่ายขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของพวกเรา พวกเรามีเครื่องมือการจัดการเช่น Green Grass เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราจัดการอุปกรณ์ IOT ของพวกเขาได้ง่ายขึ้น

ชวพล: เพียงเพิ่ม A.I. และ IOT AWS จะมีแพล็ตฟอร์มที่กว้างซึ่งพวกเรากำลังพัฒนาและเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ ๆ บนแพล็ตฟอร์มเราอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นปีที่แล้วพวกเราได้เปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ ๆ กว่า 1400 อย่าง เราต้องการให้ผู้ใช้งานของเราสามารถใช้เทคโนโลยร A.I. และ M.L. แบบอัตโนมัติด้วยตนเอง สิ่งที่ไม่เหมือนใครของเราคือเรามีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ทำงานด้านารพัฒนาที่ปรับแต่งโดยเฉพาะให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน พวกเรารับฟังความต้องการของลูกค้าและเราทำงานย้อนกลับจากตรงนั้น ตอนนี้ผมยังเปิเดเผยอะไรไม่ได้มาก อาจจะสัก 3-4 เดือน หวังว่าจะได้เห็นเคสอะไรที่น่าสนใจในประเทศไทยของ AWS ที่ได้ใช้ A.I. M.L. และ IOT เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม มันต้องน่าสนใจมากแน่นอน

นิค: ใช่ครับ ผมเห็นด้วย ที่ AWS พวกเราเชื่อในการให้ตัวเลือกกับลูกค้า พวกเราไม่ต้องการบังคับลูกค้าว่าเค้าต้องทำอะไรบ้างตามแบบของเรา พวกเราต้องการให้ตัวเลือกแก่ลูกค้าเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาของพวกเขาได้

และทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นช่วงที่น่าจดจำกับคุณนิค วอลทันและดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ที่ Amazon Web Services Summit Singapore 2018 ซึ่งทั้งสองท่านนี้ได้มอบมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับ A.I. M.L. และ IOT พวกเราหวังว่าบทสัมภาษณ์ของพวกเราจะเป็นแรงบันดาลให้ผู้อ่านได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...