เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘Baby Shark’ เพลงเด็กฟังสนุกมูลค่าสูงหลายพันล้านดอลลาร์ | Techsauce

เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘Baby Shark’ เพลงเด็กฟังสนุกมูลค่าสูงหลายพันล้านดอลลาร์

"Baby shark, doo doo doo doo doo doo Baby shark, doo doo doo doo doo doo Baby shark, doo doo doo doo doo doo Baby shark!"

เนื้อเพลงคุ้นหูนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก ด้วยภาพการ์ตูนฉลามน่ารัก และเนื้อเพลงฟังง่าย ร้องง่าย ทำให้ Baby Shark ขึ้นติดชาร์ตในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุด Techsauce Global Summit 2019 ได้พาไปเจาะลึกความสำเร็จของ Baby Shark กับ Ryan Lee CFO & co-founder จาก SmartStudy EdTech Startup สัญชาติเกาหลี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ PinkFong ผู้ผลิตคอนเทนต์สื่อการสอนผ่านวีดีโอและเพลง และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังผลงานเพลง Baby Shark โดยมีคุณ วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา จาก Woody World รับหน้าที่เป็น Moderator

ทำความรู้จักกับ Baby Shark และปัจจัยแห่งความสำเร็จ

บทเพลง Baby Shark หรือแปลว่าเจ้าฉลามน้อย คือหนึ่งใน 9 อันดับวีดีโอยอดนิยมใน Youtube ที่มีผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จที่มุ่งเน้นในด้านการผลิต Content ที่ใช้งานได้กับ Smartphone หลังจากนั้นจึงเริ่มที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อๆ ไปในรูปแบบอื่นๆ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Baby Shark และเพลงอื่นๆ จาก Pinkfong

  • การสร้างตัวละครที่น่าสนใจทำให้เด็กๆ สนใจมากขึ้น Ryan Lee เล่าว่าเด็กๆ ส่วนใหญ่รักสัตว์ที่ดูอันตรายหรือน่ากลัวเล็กน้อยอย่างเช่น ไดโนเสาร์ทีเร็กซ์ สิงโต เสือ ฉลาม เราจึงนำเอาฉลามมาพัฒนาเป็นตัวละครในบทเพลง
  • การนำเอาเรื่องราวของครอบครัวเข้ามาผูกเนื้อเพลงซึ่งนี่ทำให้ดึงดูดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
  • กระแสของโลก Social Media การก้าวขึ้นมาสู่บทเพลงเด็กยอดนิยมของ Baby Shark เริ่มต้นที่อินโดนีเซียจากการทำวีดีโอ Baby Shark challenge ของผู้คน และกระแสก็ได้พัดไปต่อถึงฟิลิปินส์ ตามด้วยสหราชอาณาจักรและไปสู่ที่อื่นๆ ทั่วโลก
  • การใช้ภาษาอังกฤษในเพลงทำให้เพลงเป็นที่นิยม หากคุณฟังเพลงเกาหลีส่วนใหญ่ คุณจะพบว่าเนื้อเพลงพยายามจะแทรกช่วงที่มีภาษาอังกฤษเข้าไป ซึ่งนั่นทำให้เพลงมีความเป็นสากลมากขึ้นและเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น

SmartStudy มีปรัชญาสำคัญที่เรียบง่ายๆ เปรียบเทียบเหมือนตัวอักษร ABC

A คือ Adaptability (การปรับตัว) - เพื่อที่จะประสบความสำเร็จคุณจำเป็นจะต้องปรับ Content และแผนธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป B คือ Branding (การสร้างแบรนด์) - การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักคือกุญแจแห่งความสำเร็จ C คือ Connecting (การเชื่อมต่อ) - ต้องสร้าง Content ที่เข้าถึงผู้คนและเชื่อมต่อความสนใจที่พวกเขามีร่วมกัน

แผนงานอนาคตของ SmartStudy

Woody ได้ถามถึงแผนงานในอนาคตของ PinkFong และ SmartStudy หลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจาก Baby Shark Ryan Lee กล่าวว่า บริษัทจะเริ่มมองหาช่องทางใหม่ในการทำรายได้จาก Baby Shark เช่น รายการการ์ตูนทางทีวี ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุ 6-10 ปี หรืออาจเป็นการนำเสนอตัวละครใหม่ เรียกได้ว่ามีโอกาสและทางเลือกที่น่าสนใจมากมายในการเพิ่มรายได้ของเรา

ในตอนนี้ บริษัทกำลังมองหาความร่วมมือใหม่ๆ อย่างเช่น การร่วมงานกับองค์กรเด็ก และการขยายแบรนด์ Baby Shark และยังมีไอเดียที่น่าสนใจ เช่น การหาเพื่อนใหม่ให้ Baby Shark (ฉลามน้อย) อย่าง Baby Squid (ปลาหมึกน้อย) หรือ (Baby Dolphin)โลมาน้อยก็ได้

เมื่อพูดถึงการสร้างรายได้จาก Content อย่าง Baby Shark Ryan Lee แนะนำว่าแบรนด์ต่างๆ ควรแสดงความเป็นตัวตนออกมาให้ชัดเจน เขาเล่าถึงตัวละครต่างๆ อย่าง PinkFong ว่าควรมีการสร้างลักษณะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และควรเป็นตัวแทนในการสื่อสารถึงแบรนด์ของคุณด้วย

และ Ryan Lee ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าหากคุณอยากจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง จงแตกต่าง เป็นตัวเอง และทำในสิ่งที่คุณชอบอย่างแท้จริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...