ทำความรู้จัก Blockchain Landscape ในโลกของ FinTech กันเถอะ | Techsauce

ทำความรู้จัก Blockchain Landscape ในโลกของ FinTech กันเถอะ

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2008 มีเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งสะเทือนวงการเทคโนโลยีในทุกวันนี้ เอกสารดังกล่าวเผยแพร่ภายใต้ชื่อ Satoshi Nakamoto กับหัวข้อ Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System ที่กล่าวถึงกระบวนการใช้โครงข่าย Peer-to-Peer สร้างระบบสำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้คนกลาง

ในเดือนมกราคม 2009 โครงข่าย Bitcoin ก็เกิดขึ้นและเปิดให้มี Open Source Bitcoin Client และออก Bicoins ออกมา นับจากวันนั้นถึงวันนี้ Bitcoin กลายเป็นแอปพลิเคชั่นที่ประสบความสำเร็จแอปฯ แรกของ Blockchain ทุกวันนี้ Startup ใช้เทคโนโลยี Blockchain เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มความโปร่งใส ปลอดภัย ในหลายๆ ภาคธุรกิจ และที่เห็นได้ชัดแบบสุดๆ คือธุรกิจการเงินการธนาคาร อย่างไรก็ตามหลายคนคงอยากเห็นภาพรวม Landscape ว่ามีผู้เล่นในกลุ่มไหนบ้าง บริษัทดังๆ ในตลาดโลกทำอะไร และจัดอยู่ในกลุ่มใด บทความนี้จะมาเจาะกันถึงตัว Landscape ของ Blockchain ในกลุ่ม FinTech กัน

ก่อนอื่นมาดูนิยามของ Distributed Ledger กันอีกครั้ง ที่จริงแล้วมันคือประเภทของฐานข้อมูล (Database) ที่กระจายไปทั่ว ไม่มีการรวมศูนย์ คือกำจัดส่วนกลางในการให้สิทธิ หรือประมวลผล โดย Ledger คือ บัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยบัญชีนี้จะถูกเก็บไว้ในเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า Node และแต่ละ Node จะมีสำเนาบัญชีธุรกรรมของตัวเอง โดยบัญชีจะกระจายศูนย์ (Distributed) โดยข้อมูลบัญชีจะถูกคัดลอกเก็บไว้ในทุกๆ Node ของเครือข่าย เมื่อมีการอัพเดตใหม่เกิดขึ้น การบันทึกจะประกอบไปด้วยวัน เวลา และ cryptographic signature เฉพาะ ซึ่ง Blockchain เป็นรูปแบบหนึ่งของ Distibuted Ledger ที่สามารถกำหนด business logic ให้กับ transaction ได้

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Blockchain ลองอ่านบทความทำความรู้จัก Blockchain ใน 5 นาที ก่อนได้ที่นี่

blockchain-technology-landscape-infographic-xbrl-us-1024x791Infrastructure

รูปแบบของ Blockchain network นั้นมีด้วยกัน 3 ประเภท

Non-permissioned public ledgers (หรือบางรายเรียกว่า Permissionless Ledgers) เป็น Blockchain ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ อนุญาตให้ใครๆ สามารถอ่านเดต้า ส่ง Transaction เดต้าได้, เปิดให้ใครๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการอันประกอบด้วยการระบุว่า block ไหนถูกเพิ่มเข้าไปใน chain ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มของสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Currency) อย่าง Bitcoin และ Ethereum ที่มองภาพกว้างกว่า Bitcoin โดยไม่จำกัดอยู่แค่สกุลเงิน แต่เป็นระบบประมวลผลแบบไร้ศูนย์กลาง

Permissioned public ledgers เป็น Distributed ledger ที่มีการถูกคัดเลือกผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องไว้ก่อน เครือข่ายนั้นอาจจะมีเจ้าของ ซึ่งเหมาะกับแอปฯ ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีความโปร่งใส ตัวอย่างเช่น Ripple ซึ่งเป็นระบบแลกเปลี่ยนหน่วยเงินและการโอนเงินข้ามประเทศ

Permissioned private ledgers เป็น Private Blockchain เต็มตัว ทั้งการเข้าถึงข้อมูลและการ submit transaction ถูกจำกัดให้กับกลุ่มที่ถูกกำหนดไว้ก่อน ตัวอย่างเช่น Bankchain ซึ่งเป็นระบบ Clearing และ Settlement ที่ทำงานบน Blockchain

Bitcoin network-based products and services

กลุ่มนี้รวมถึงบริษัทที่ใช้ Bitcoin protocol ที่ให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin เช่น

  • Bitcoin และ Cryptocurrency Payment Processors อย่าง BitPay, Circle
  • Bitcoin exchanges อย่าง Bitstamp, Kraken
  • Bitcoin Trading Platform อย่าง Hedgy, TeraExchange
  • Bitcoin-based issuance platform อาทิเช่น Nasdaq's private market Trading Platform บน Blockchain อย่าง Linq และ Overstock’s t0

Bitcoin tool providers

นอกเหนือจากบริษัทกลุ่ม B2C แล้ว ยังมีกลุ่ม B2B Blockchain Company ที่กำลังพัมนาเครื่องมือเป็น Blockchain Tools ให้กับบริษัทต่างๆ ตัวอย่างเช่น Chain ที่พัฒนา Enterprise Blockchain Infrastructure ให้กับภาคธุรกิจการเงิน, Symbiont ซึ่งเป็น Smart Security trading platform และ Blockstream บริษัทเทคโนโลยีที่โฟกัสบน sidechains ซึ่งเป็นเทคโนโลยีส่วนขยายจาก Blockchain อีกที เพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยให้กับธุรกิจการเงิน โดยการเพิ่มฟีเจอร์อย่าง Smart Contracts และ Confidential Transactions

Non-Bitcoin network-based tool providers

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นบริษัทอื่นๆ ที่พัฒนาบริการบน Blockchain technology ที่ไม่ได้อยุ่บนเครือข่ายของ Bitcoin กลุ่มบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่สร้างอยู่บน Infrastructure ของตัวเอง อาทิ

  • Eris Industries เป็นบริษัทเทคโนโลยี เบื้องหลัง Eris ซึ่งเป็น Open source Blockchain Platform ที่ให้ใครก็ได้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่ปลอดภัย ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และทำงานได้ทุกที
  • Consensus Systems (ConsenSys) สร้าง Decentrized แอปฯ และเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาใน Blockchain Ecosystem โดยโฟกัสไปที่ Ethereum
  • ItBit เปิด API และเครื่องมือให้กับบริการด้านการเงินการธนาคาร ถือเป็น private distributed ledger ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินโดยตรง

ที่มา: XBRL US, FinTechnews.SG, BlockchainTechnologies

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นับถอยหลัง Bitcoin Halving Month พร้อมแนวคิดการลงทุนของคนรุ่นใหม่ ในงาน Bitkub Meetup 2024: The Halving Month

กลับมาอีกครั้งกับงาน Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ: The Halving Month ร่วมนับถอยหลังสู่เดือนแห่ง Bitcoin Halving บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงประวัติศาสตร์ของ Cryptocurrency แ...

Responsive image

6 เทรนด์ Gen AI ฉบับเข้าใจง่าย จาก Accenture พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ

รวมประเด็นน่ารู้จาก Accenture ที่จะทำให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจการนำ Generative AI ไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น 6 เทรนด์ Gen AI พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ, ผู้บริหารระดับ C-su...

Responsive image

ทักษะ AI ไม่มีไม่ได้แล้ว สำรวจพบใครใช้ AI เป็น เงินเดือนเพิ่ม อนาคตสดใส

ทักษะ AI วันนี้ไม่มีไม่ได้แล้ว ใครเก่ง AI นายจ้างไทยยินดีจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ 41% ด้านคนทำงานเร่งพัฒนาทักษะ หวังสร้างงาน สร้างอาชีพให้ดีขึ้น...