Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ | Techsauce

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทำให้ความมั่นคงทางอาหารของมวลมนุษยชาติ เริ่มสั่นคลอน จนปัจจุบัน เริ่มกลายเป็นภาวะวิกฤติ ที่เรียกว่า ‘Global Food Crisis’ ที่สภาพอากาศส่งผลต่อภาคการเกษตรโดยตรง พืชท้องถิ่นเริ่มสูญพันธุ์ ประชากรขาดสารอาหาร และปศุสัตว์ไม่ได้ผลผลิตตามความต้องการอีกทั้งยังมีราคาที่พุ่งสูงขึ้นตามความต้องการของประชากรโลก จึงทำให้หลายภาคส่วนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ของอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะ ‘โปรตีนทางเลือก’

Food Biotechnology ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

มีคำที่ปรากฎในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านคือ Food Biotechnology เป็นการนำเอาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นพื้นฐาน เพื่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการสำหรับการใช้งานด้านอาหาร หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางด้านอาหาร ซึ่งกระแสเกี่ยวกับ เนื้อเทียม (Meat analogue) หรือ โปรตีนทางเลือก (Alternative protein) เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกที่เริ่มมีการใช้เนื้อ เทียมในเครือร้านอาหารขนาดใหญ่อย่าง McDonald’s, Burger King, Starbucks, และ KFC เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งโปรตีนทางเลือกอาจไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสอีกต่อไปเท่านั้น แต่อาจกลายเป็น Future Food อาหารแห่งอนาคต ด้วย 3 เหตุผลหลัก ที่อุตสาหกรรมอาหารทางเลือกจะได้รับความนิยมและขยายตัวออกไปได้อย่างมากในอนาคต คือ 

  1. สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เพราะอุตสาหกรรมปศุสัตว์คือตัวการหลักที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม กว่า 1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากการผลิตอาหารและเกษตรกรรม อีกทั้งในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงให้ความสำคัญกับการบริโภคมากขึ้นเช่นกัน สุขภาพและวิถีชีวิตยุคใหม่ 
  2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้สร้างความตื่นตัวและทำให้คนจำนวนมากเริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง เช่น กลุ่มคนที่เข้าสู่วัยสูงอายุ รวมทั้งกลุ่มคนในเมืองและคนที่มีรายได้สูงที่พร้อมจะจ่ายในราคาที่แพงขึ้นเพื่อบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
  3. เทคโนโลยี พัฒนาการด้านเทคโลยีโดยเฉพาะในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร (Food biotechnology) นวัตกรรมอาหาร (Food innovation) รวมถึงเทคโนโลยีด้านการเกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) ทำให้การคิดค้นอาหารทางเลือกเพื่อมาทดแทนกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิมเป็นจริงได้มากขึ้น อีกทั้งในระยะต่อไป เทคโนโลยีจะนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ถูกปากผู้บริโภค ในขณะที่ต้นทุนของการผลิตจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจะได้รับความสนใจและเข้าถึงได้ในวงกว้างยิ่งขึ้น

โปรตีนทางเลือก โอกาสทางธุรกิจ

ในปัจจุบัน เนื้อเทียมที่ทำมาจากพืชที่เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศตะวันตกมาจาก 2 บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทนี้โดยเฉพาะ ได้แก่ Beyond Meat และ Impossible Foods ความสำเร็จของบริษัทสตาร์ทอัพ ทั้งสองรายนี้ทำให้บริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Nestle และ Cargill เริ่มเข้ามาทำตลาดเนื้อสัตว์เทียมอย่างจริงจัง 

สำหรับในประเทศไทย เริ่มเห็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ เข้ามาทำตลาดกันอย่างจริงจังมากขึ้นเช่นกัน จนมีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งผู้ประกอบการต่าง ๆ มากขึ้น แม้อุตสาหกรรมอย่างโปรตีนทางเลือกจะมีสัดส่วนในตลาดเพียง 2.5% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และขยายธุรกิจออกไปในตลาดอย่างเป็นวงกว้าง (อ้างอิงจาก KKP Research)

Blood Free บริษัทอาหาร Bio Technology น่าจับตามอง

เช่นเดียวกับบริษัท ‘Blood Free’ บริษัทด้าน Bio Technology ที่พัฒนาและคิดค้น ‘อาหารสังเคราะห์ (Cultured Meat)’ เพื่อทดแทนการขาดแคลนอาหาร รวมไปถึงการลดปริมาณในการพรากชีวิตสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อรักษา และคงอยู่ให้กับธรรมชาติอันสวยงามใบนี้ ซึ่ง ยุนจายู CEO ผู้ก่อตั้งบริษัท BF Group ได้จัดงานแถลงข่าวและแนะนำเทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่งนอกงานเปิดตัวนั้นได้มีกลุ่มคนมาชุมนุมกัน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ ‘ผู้สนับสนุแนวคิดของบริษัท BF’ และ ‘ผู้ต่อต้านแนวคิดของบริษัท BF’ ซึ่งตัว ยุนจายู จะต้องรับมือกับกระแสสังคมเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ไปจนถึงไม่ไว้วางใจในเทคโนโลยีล้ำสมัยตรงนี้ ทำให้ ยุนจายู เป็นที่จับตามองที่สุดในประเทศเกาหลี ภายในงานยังมี อูแชอุน ที่ได้เข้ามาปฏิบัติภารกิจในฐานะบอดี้การ์ดของแขกภายในงาน

แต่เมื่องานเปิดตัวจบลง ชีวิตของ ยุนจายู ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เริ่มจากเหตุการณ์อุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ที่มีบุคคลปริศนาพลัดตกจากที่สูง หล่นมาบนรถของ ยุนจายูท่ามกลางรถติดในช่วงเทศกาลวันคริสต์มาส, คอมพิวเตอร์ทั้งบริษัทโดนแฮ็กโดยกลุ่มคนปริศนา เพื่อเรียกค่าไถ่ 80 ล้านวอน, การเกิดอุบัติเหตุของเลขาส่วนตัว, โดนขู่ฆ่า และการเข้ามาของ อูแชอุน บอดี้การ์ดมากฝีมือ ในจังหวะเหตุการณ์อันเลวร้ายต่อชีวิตยุนจายู และบริษัท BF Group นี้อีกด้วย

อาหารแห่งอนาคต หรือ ภัยอันตรายใกล้ตัว

แม้กระแสของโปรตีนทางเลือกทดแทนเนื้อสัตว์จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบรับกับเทรนด์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจการพัฒนาโปรตีนทางเลือกเพื่อลดผลกระทบและสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคตให้มากขึ้น 

นอกจากนี้ BF Group จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว ก็ต้องรับมือกับอันตรายรอบตัว ที่ถูกกลุ่มคนปริศนาที่ได้ทำการแฮ็กระบบของบริษัท BF มีลักษณะเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ในอดีตสมัยอูแชอุนเป็นทหาร ทำให้อูแชอุนแนะนำให้ ส่งเงิน Bitcoin ตามที่เค้าต้องการ และขอความร่วมมือกับทางรัฐบาล เพื่อตรวจสอบการโยกย้าย หรือการเบิกถอนเงินจำนวน 80 ล้านวอนนี้ จะช่วยให้สามารถตีแคบบุคคลที่ว่าไปได้ แต่ด้วยความเฉลียวของ อูแชอุน อีกครั้งทำให้ได้พบความจริงที่ว่า คนที่แฮ็กระบบบริษัทนี้ ไม่ใช่กลุ่มคนปริศนาแต่อย่างใด แต่เป็นคนใกล้ตัวที่ยุนจายูไว้ใจ ที่ทำเลียนแบบกลุ่มคนพวกนี้ขึ้นมา ซึ่งยุนจายูจะทำอย่างไรต่อไป จะสามารถไว้ใจใครได้บ้าง และจะสามารถฝ่านวิกฤติครั้งนี้พาบริษัท Biotechnology รอดไปได้อย่างไร สามารถไปตามดูเรื่องราวของ Blood Free ต่อได้บน Disney+ Hotstar

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตำแหน่ง CRO คืออะไร ? พร้อมเจาะลึก 6 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จของผู้บริหารความเสี่ยงยุคใหม่

จากงานวิจัยของ McKinsey จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจ CRO ปัจจุบันและอดีตมากกว่า 30 รายของสถาบันการเงินหลักทั่วโลก โดยแต่ละรายมีประสบการณ์ในบทบาทนี้มาอย่างน้อย 5 ปี พบว่า CRO ที่ปร...

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...