กรณีศึกษา MailChimp เน้นสร้างธุรกิจอย่างมั่นคง ไร้การระดมทุน ไม่ตามกระแส Silicon Valley | Techsauce

กรณีศึกษา MailChimp เน้นสร้างธุรกิจอย่างมั่นคง ไร้การระดมทุน ไม่ตามกระแส Silicon Valley

Startup, ธุรกิจขนาดเล็กและนักการตลาดหลายท่านน่าจะเคยรู้จักแพลตฟอร์มอีเมลที่มีโลโก้รูปลิงอย่าง Mailchimp  ธุรกิจนี้เกิดมานานแล้วตั้งแต่ยุคหลังฟองสบู่ดอทคอมแตกไม่นาน "ด้วยแนวคิดไม่มีนักลงทุน ไม่ได้มีออฟฟิสในย่าน Bay Area ไม่ต้องใช้เงินหนักๆ แบบ Startup จากเงินระดมทุน" นี่คือวิถีทางของ MailChimp บริษัทที่ค่อยๆ เติบโตมาตั้งแต่ปี 2001 พัฒนา Product ตามความต้องการของผู้ใช้ และสัญชาติญาณของพวกเขา

Startup ในอเมริกาบางรายเริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการอายุน้อยจาก Stanford หรือ Harvard ที่มาพร้อมไอเดียที่อยากปฏิวัติสารพัดวงการตั้งแต่ร้านอาหาร ยันธุรกิจพาสุนัขเดิน หลังจากนั้นก็พัฒนา Prototype และเข้าร่วม Startup Boothcamp อย่าง Y Combiniators ดึงนักลงทุนกลุ่มแรกมาร่วม และบางทีก็เปิดตัวใน Kickstarter ถ้าแผนเริ่มต้นไปได้ก็เริ่มเข้าสู่โหมดการขยาย ทำการระดมทุนแลกกับหุ้นให้กับ VC หลังจากนั้นไม่กี่ปี ถ้าเป็นไปตามแผนก็เตรียม exit ในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการถูกซื้อกิจการ หรือ IPO และนี่เป็นเส้นทางที่พบเห็นบ่อยๆ แต่ก่อนไปถึงตรงนั้นก็ล้มหายตายจากกันไปเพียบ หรือถึงออก IPO ไปแล้วก็ยังมีปัญหาได้อย่าง Twitter ที่ตอนนี้เตรียมตัวขายเต็มที่

วันนี้เราจะมาดูบทเรียนของธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตอย่างมั่นคง ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีธุรกิจอีกมากที่เติบโตโดยไม่ต้องมีนักลงทุน โตได้แม้ไม่ได้อยู่ในศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยีอย่างซานฟรานฯหรือ Silicon Valley หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ MailChimp บริษัทที่อยู่มากว่า 16 ปีแล้ว แม้จะไม่ค่อยมีข่าวเปริ๊ยงปร้างอะไร ค่อยๆ เติบโต แต่ปัจจุบัน MailChimp เป็นผู้นำในการให้บริการด้านนี้ โดยปีที่ผ่านมามีรายได้ถึง 280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในสิ้นปี 2016 นี้  ปัจจุบันธุรกิจสามารถสร้างกำไรได้แล้ว ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานกว่า 550 คน และภายในสิ้นปีนี้จะถึง 700 คน (บริษัทปฏิเสธที่จะเผยข้อมูลกำไรที่แท้จริง)

mailchimp founders

ภาพจาก zapier

Startup ที่ไม่ตามกระแส Silicon Valley

MailChimp มีแนวคิดที่แตกต่างกับ Startup กลุ่ม Silicon Valley มาก  Ben Chestnut ผู้ร่วมก่อตั้งกล่าวว่า ถ้าต้องการบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องตามเส้นทางของ Silicon Valley เสมอไป คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้  ทำ Product ที่ตอบโจทย์ลูกค้า สร้างให้เติบโต โดยไม่ต้องพึ่งนักลงทุน เขามีความเชื่อเช่นนั้น..ซึ่งทุกอย่างก็มีผลได้ผลเสีย พวกเขาอาจจะไม่ได้โด่งดังอะไรในเชิงของการระดมทุนดังเช่นบริษัทอื่นๆ

Startup ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน ต้องหาทางในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบปกติ พวกเขาเร่งที่จะเติบโตแต่ลืมที่จะสร้างรายได้ที่แท้จริง

มีบทเรียนเกิดขึ้นมากมายจาก Living Social, Pets.com หรือรายที่กำลังอยู่ในช่วงยากลำบากอย่าง Evernote, Dropbox และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ขอระดมทุนมากเกินไปและสุดท้ายก็ต้องพบกับปัญหา

ในมุมของผู้ร่วมก่อตั้งซอฟแวร์ดังอย่าง Basecamp Jason Fried กล่าวว่า "หนึ่งในปัญหาของการระดมทุนคือ มันสอนให้เรามีนิสัยเสียในตอนแรก ถ้าบริษัทของคุณถูกบังคับให้สร้างรายได้ตั้งแต่ต้น คุณจะเก่งในเรื่องการสร้างรายได้ และก็เป็นนิสัยที่ดีกว่าในการที่อยู่ได้ด้วยตัวของคุณเองมากกว่าการไปพึ่งเงินคนอื่น"

สำหรับ MailChimp แล้วมีออฟฟิสอยู่ที่ Atlanta ย่าน Old Fourth Ward โดยใช้ Warehouse เก่าของ Sears Roebuck หลายคนอาจจะบอกว่าดูเท่ ระเบิด ไปเลย แต่จริงๆ แล้ว Ben เลือกที่นี่เพราะไว้ใช้เตือนตนเองถึงการโดนปฏิวัติ ครั้งนึง Sears เคยยิ่งใหญ่ แต่ปัจจุบัน มันไม่ใช่เสียแล้ว..."

Mailchimp

ภาพบรรยากาศในออฟฟิสของ MailChimp

จุดกำเนิดของ MailChimp

MailChimp เกิดจากผู้ก่อตั้ง 2 คนคือ  และ  ที่เริ่มต้นธุรกิจในช่วงปี 2000 เป็นเหตุการณ์ช่วงที่ฟองสบู่ดอทคอมแตกพอดี และก็ถูก layoff จากบริษัทที่รับออกแบบเว็บไซต์ หลังจากนั้นพวกเขาไปเริ่มต้นธุรกิจภายใต้ชื่อบริษัท Rocket Science Group ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบกับบริษัทขนาดเล็กและขนาดใหญ่ใน Atlanta ในช่วงปลายปี 2000 ลูกค้าบางคนเริ่มถามถึงการเข้าถึงลูกค้าของพวกเค้าผ่านทางอีเมล Ben เลยนำเสนอว่าจะนำโค้ดเก่าที่เคยใช้ในการสร้าง online greeting card มาลองใช้ดูอีกที หนึ่งในการ์ดเก่าๆ มีภาพรูปลิงชิมแปนซีอยู่ ทำให้เค้าอยากเรียกบริการนี้ว่า ChimpMail แต่ไปไปมามาพอไปเช็คดูแล้ว domain ดังกล่าวถูกใช้แล้ว เลยเปลี่ยนเป็น MailChimp มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามในช่วงแรกๆ บริการนี้ก็ยังเป็น side project โดยที่มีธุรกิจหลักคือการออกแบบเว็บไซต์อยู่ จนกระทั่งปี 2006 แม้ธุรกิจกำลังเติบโต แต่พวกเขาหมดความหลงไหลในธุรกิจออกแบบเว็บฯ สิ่งที่ผู้ก่อตั้งทั้ง 2 กำลังสนใจคือการช่วยธุรกิจขนาดเล็กให้เติบโตได้ ทั้งคู่ต่างเกิดจากครอบครัวที่มีธุรกิจส่วนตัว แม่ของ Ben เปิดธุรกิจทำผม ในขณะที่ Dan พ่อของเขาเป็นคนทำขนมปังและธุรกิจต้องปิดตัวลงเมื่อมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Wonder Bread เข้ามาในเมือง และนั่นทำให้พวกเขาคิดอยากช่วยธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยอีเมลมันคือช่องทางการทำการตลาดที่มีต้นทุนต่ำ ในปีถัดมาพวกเขาหยุดดำเนินธุรกิจด้านการออกแบบเว็บฯ และหันมาโฟกัสที่ MailChimp เต็มตัว

ในเวลานั้น MailChimp มีคู่แข่งรายใหญ่ พร้อมเงินหนา แต่สิ่งที่คู่แข่งขาด คือการเข้าใจธุรกิจขนาดเล็กอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาก็เป็นธุรกิจขนาดเล็กเช่นกัน พวกเขาจึงเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรนอกจากเครื่องมือทางการตลาด นำเสนอ Product ราคาถูก และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะ Customize เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้

อนาคตต่อไปของ MailChimp

Ben ยังยืนยันว่าเขาไม่ได้กังวลเรื่องอีเมลจะกลายเป็นเครื่องมือที่ล้าสมัย หลายๆ คนทำนายกันมาหลายปีแล้วว่ามันจะตาย แต่มันก็ยังคงเป็นช่องทางที่สำคัญอยู่ ในเฟสถัดไป MailChimp จะกลายเป็นเครื่องมือการตลาดแบบครบวงจรให้กับธุรกิจขนาดเล็ก  แม้อนาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ เครื่องมือและช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ ที่ผุดขึ้นมาในท้องตลาดอาจเป็นคู่แข่งสำคัญของอีเมล รวมถึง Facebook Google ก็เป็นได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามตราบใดที่ MailChimp ยังคงอยู่ในการดูแลของผู้ก่อตั้ง 2 คนนี้เชื่อว่า MailChimp จะยังคงอยู่รอดได้ แทนที่จะถูกสั่งจากนักลงทุนภายนอกให้ทำตามพวกเขา "ทุกครั้งที่พวกเราคุยกับนักลงทุน พวกเขาไม่เข้าใจความต้องการจริงๆ ของธุรกิจขนาดเล็ก"  Ben กล่าว นักลงทุนหวังอยากให้พวกเขาทำเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานเป็นพัน และมีแนวโน้มว่าจะมีเงินจ่ายก้อนใหญ่ เปรียบเสมือนเหมืองทองคำ... แต่สำหรับพวกเราที่คลุกคลีวงการมาโดยตลอด และสัญชาติญาณของพวกเราไม่ได้คิดว่าเป็นเช่นนั้นเสียทีเดียว"

Mailchimp2

ที่มา: The New York Times อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงานของ MailChimp เพิ่มเติม

=========================================================

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

เป็นอีกบริษัท Startup แก่ๆ (เพราะเกิดมานานแล้ว) และน่าชื่นชม ในแง่ของผู้ใช้ กองบรรณาธิการ techsauce ก็ชื่นชอบบริการของ MailChimp เพราะใช้งานง่าย และตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กจริงๆ ในราคาที่ไม่แพง และมีรูปแบบของ Package ที่ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจยังคงยืนหยัดมาได้อย่างยาวนาน

ในแง่การดำเนินธุรกิจ คงต้องออกตัวว่ามันคงไม่มีอะไรถูกอะไรผิดเสียทีเดียว เส้นทางเดินของแต่ละรายก็ไม่เหมือนกัน เลือกที่อยากจะเติบโตในรูปแบบที่มีนักลงทุนหรือไม่ก็ตามแต่ แต่จุดสำคัญคือ Product ของคุณต้องตอบโจทย์ลูกค้า แก้ปัญหาให้กับลูกค้าให้ได้ สร้าง Traction ให้ได้จริงที่สามารถแปลง (Convert) ให้กลายเป็นรายได้อย่างแท้จริง การระดมทุนไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่จุดสำคัญของธุรกิจคือ คุณต้องยืนด้วยตัวเองให้ได้ เพื่อสร้างธุรกิจที่เข้มแข็งก่อนที่จะพึ่งลมหายใจคนอื่น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...