ถอดความคิด CEO Agoda กับมุมมองต่อการดำเนินธุรกิจ Tech ในประเทศไทย | Techsauce

ถอดความคิด CEO Agoda กับมุมมองต่อการดำเนินธุรกิจ Tech ในประเทศไทย

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งมีข่าวเกี่ยวข้องกับ Agoda ที่ว่ารมว.ท่องเที่ยว ต้องการหารือเรื่องไม่ให้ Agoda กดราคาผู้ประกอบกิจการโรงแรม ประจวบเหมาะพอดีกับที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปร่วมงาน Bangkok Post Conference ในหัวข้อ Thailand’s Startup: Learning from Unicorns จัดโดย Bangkok Post โพสต์ทูเดย์ และ M2F  เมื่อวันที่ 22 มีนาคม

หนึ่งในไฮไลท์สำคัญในงานก็คือช่วงเวลา Fireside chat กับคุณ Robert Rosenstein CEO และ Founder ของ Agoda และเราก็ได้เก็บรายละเอียดการพูดคุยนั้น มาฝากทุกท่านแล้วในวันนี้

Robert Rosenstein

ภาพจาก Flightswatcher

ทำไม Agoda ถึงเลือกตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย

คุณโรเบิร์ตได้อธิบายว่า ตัว Agoda นั้นอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ประเทศไทยมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก และสาเหตุสำคัญในการตั้งบริษัทที่นี่ก็คือ เขาหลงรักเมืองไทย และคิดว่าอยากจะใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ เขาได้ย้ายมาอยู่ไทย และจากนั้นก็ได้ก่อตั้ง Agoda ขึ้นในปี 2005

มุมมองต่อข่าวที่ออกมา

ผู้ดำเนินรายการถามต่อทันทีว่า "ประเทศไทยน่าอยู่ แล้วคุณคิดว่าน่าทำธุรกิจด้วยหรือเปล่า? และจากประเด็นเรื่องกฏหมายในไทยที่เป็นข่าวออกมา คุณจะมีการรับมืออย่างไรบ้าง" คุณโรเบิร์ตตอบว่า เดี๋ยวทาง Agoda จะมีการพูดคุยและดูเรื่องการปรับตัวต่อไป อย่างไรเราก็ยังต้องพึ่งพากันและกัน เอกชนต้องการรัฐบาล และรัฐบาลก็ต้องการเอกชน

แต่สำหรับประเด็นที่มองว่า Agoda กดราคาผู้ประกอบการนั้น คุณโรเบิร์ตกล่าวว่า นั่นเป็นเพราะเป้าหมายของ Agoda คือการมอบประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค และต้องบอกว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคเองก็มี Expectation ที่คาดหวังสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อยๆ และ Agoda เพียงแต่ทำหน้านี้ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภค

ผมยังมองโลกในแง่บวกมากๆ กับเรื่องนี้ และยิ่งถ้าคุณเป็น Startup คุณต้องมองโลกในแง่บวกมากๆ ไว้ก่อนอยู่แล้ว

การหา Talents ในไทย

ใครๆ ก็บอกว่าเมืองไทยมีปัญหาเรื่องขาด Talents แล้วทำไม Agoda ถึงสามารถดึงตัว Talents มากมายเข้าไปทำงานด้วยได้? ผู้ดำเนินรายการได้ยิงคำถามนี้ออกไป

เรื่อง Talents คุณโรเบิร์ตมองว่ามันไม่ใช่ Zero-sum game เขาอธิบายว่าสิ่งที่ Agoda ทำไม่ใช่การดึงตัว Talents แต่เป็นการสร้าง Talents ขึ้นมา เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเช่น Big Data ยังเป็นเรื่องใหม่มากเสียจนเราไม่สามารถหาคนที่ทำเป็นอยู่แล้วมานั่งในบริษัทได้

เราไม่ได้เลือกจ้างคนที่ทำเป็นแล้ว แต่เราจ้างคนที่สามารถเรียนรู้ เพื่อจะกลายเป็นคนที่ทำได้ในอนาคต เราจึงมักมองหาคนรุ่นใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มากมาย แต่เปี่ยมไปด้วยความรู้อยากเห็น และเรียนรู้ได้ไว

นอกจากนี้เขายังให้คำแนะนำว่า "การได้มาซึ่งคนเหล่านั้น วัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงคิดเห็น และกล้าที่จะเข้าคุยกับ CEO แม้ว่าผมกำลังยืนรอลิฟต์อยู่ ผมว่านี่สำคัญมากสำหรับ Startups"

บทบาทต่อวงการ Startup

คุณโรเบิร์ตเปิดเผยว่า Agoda มีความสนใจที่จะลงทุนใน Startup เขาได้ยกตัวอย่าง Uber ซึ่งก็มีกองทุนที่จะลงทุนใน Startup ดังนั้นหากมี Startup รายไหนที่อยากคุยกับ Agoda ก็สามารถติดต่อได้ผ่านแผนก Corporate Development นอกจากนี้โดยส่วนตัวแล้ว เขาเองก็เป็น Angel Investor อยู่บ้างเช่นกัน โดยสนใจลงทุนในรายที่มีเป้าหมายในการสร้างอิมแพคต่อสังคมให้โลกน่าอยู่ขึ้น รวมถึงดูผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญ

คำแนะนำสำหรับ Startup สาย B2C คุณโรเบิร์ตบอกว่า เสน่ห์ของ B2C คือ ความสามารถในการ Scale ถ้าคุณสามารถทำในสิ่งที่ผู้บริโภคชอบได้ คุณจะ Scale ได้เร็วมาก อีกข้อได้เปรียบคือเรื่อง Data คุณสามารถสะสม Data ได้มาก และมีโอกาสทำ Insight จากลูกค้าได้มากกว่า

การทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง คือคำแนะนำที่คุณโรเบิร์ตมอบให้กับบริษัท Startup ตอนนี้มีบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่อยู่มากมาย เรื่องเทคโนโลยีเขาอาจจะเก่ง แต่เรื่องการเข้าถึงลูกค้า ยังเป็นเรื่องที่ทีมเล็กๆ ยังมีโอกาสที่จะได้โฟกัส และใกล้ชิดกับลูกค้าบุคคลมากกว่าบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ

Agoda จะพัฒนาอะไรต่อไป

เนื่องจากตลอด Panel นี้ มีการคุยเรื่องประเด็นราคาที่พักกันค่อนข้างมาก เราจึงได้ถามคุณโรเบิร์ตว่า นอกจากประสบการณ์ด้านการได้ราคาที่ถูกแล้ว ตอนนี้ทาง Agoda กำลังมีแผนที่จะมอบประสบการณ์ในแง่มุมอื่นๆ อีกหรือไม่ ทำให้ได้รับทราบมาเบื้องต้นว่า Roadmap ในตอนนี้คือ การพัฒนาประสบการณ์การชำระเงิน (Payment) รวมถึงประสบการณ์ในการเช็คอินที่ที่พัก

robert agoda at post forum

ปิดท้าย

ท้ายสุดผู้ดำเนินรายการได้ถามคุณโรเบิร์ตว่า ตั้งแต่ตอนที่ขายกิจการให้กับ Priceline พาร์ทเนอร์ผู้ร่วมก่อตั้ง Agoda กับเขา ล้วนแต่เกษียณไปใช้ชีวิตอย่างสุขสบายกันหมดแล้ว ทำไมเขาถึงยังอยู่?

คุณโรเบิร์ตตอบว่า "It's not about money. It’s about learning." เขาเลือกให้ Priceline ลงทุนเพราะว่าชอบปรัชญาการทำงานของ Priceline และอยากเรียนรู้จากพวกเขา และที่สำคัญคือยังรักในงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดรหัส 3 โมเดลธุรกิจทุนจีนบุกไทย จะรับมืออย่างไร ให้ธุรกิจไทยอยู่รอด?

กระแสทุนจีนกำลังรุกคืบหลายประเทศทั่วโลกไม่เว้นแต่ประเทศไทย นับเป็นปรากฏการณ์ที่เด่นชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นจากสินค้าและบริการจากแดนมังกรที่แทรกซึมเข้าสู่ทุกซอกมุมของส...

Responsive image

Sea (ประเทศไทย) เดินหน้าเสริมทักษะการเงินเยาวชนไทย ผ่านบอร์ดเกม “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน”

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงแนวคิดของบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” และความสำเร็จของการใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือเพิ่มพูนทักษะด้านการเงินในเยาวชนไทย...

Responsive image

Copilot มองเห็นแล้ว ! มัดรวม 7 อัปเดตล่าสุด

Microsoft ปล่อยอัปเดตครั้งใหญ่ของ AI เรือธงอย่าง Copilot เรียบร้อยแล้ว! โดยทาง Yusuf Mehdi รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดผู้บริโภค ได้ออกมาเผยว่าอัปเดตครั้งนี้จะเปลี่ยนประสบการณ์การใช้...