พูดคุยกับคุณแชมป์ ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย กับเรื่องราวการทำงานในบริษัท Startup รายใหญ่ การเป็น Angel investor และการเป็น VC ที่มาพร้อมกับโมเดลเชื่อมต่อซิลิคอนวัลเลย์กับไทยและ SEA และก่อนหน้านี้เขายังเคยเป็นนักเขียนรับเชิญใน Techsauce เล่าเรื่องราวที่เขาพบในซิลิคอนวัลเลย์มาแล้วอีกด้วย มาทำความรู้จักกับเขากันดีกว่า
ผมเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และช่วยทำธุรกิจที่บ้านซึ่งก็คือ SHARP กรุงไทยการไฟฟ้ามาก่อน โดยโจทย์ของผมคือจะขยายธุรกิจที่บ้านต่อไปได้ยังไง ผมเลยตัดสินใจไปเรียนต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัย Berkeley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลปรากฎว่าการไปที่นั่นทำให้ผมได้ฝึกเรื่อง Design Thinking ซึ่งเป็นการคิดโดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และจากปัญหาที่เคยเจอในประสบการณ์ทำงานทั้งจากธุรกิจของครอบครัว หรือกรณีศึกษาจากบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลก นั่นคือรูปแบบขององค์กรไม่ค่อยเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ผมเลยสนใจไปลงเรียนเรื่อง Business Model Innovation เพิ่มเติม ซึ่งมีการนำ Startup ต่างๆ มาลองวิเคราะห์หาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ทำให้ผมเห็นชัดเจนว่า วิธีคิดของ Startup กับ Design Thinking ซึ่งผมสนใจนั้นเหมือนกันมาก เลยตั้งใจหาโอกาสทำงานร่วมกับ Startup ดูครับ
จนผมได้มาเจอกับ 99designs ซึ่งเป็น Startup ใหญ่แห่งหนึ่งที่ทำ Crowdsourcing platform ให้นักออกแบบทั่วโลกมาแข่งกันออกแบบตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ แล้วให้ลูกค้า Feedback ว่าชอบงานของนักออกแบบคนไหน เพื่อขายงานออกแบบนั้นให้กับลูกค้าในท้ายที่สุด ซึ่งรูปแบบการทำธุรกิจจะเป็นแบบ B2C เป็นหลัก ตัวบริษัทเองในขณะนั้นมีแผนจะขยายธุรกิจไปยัง B2B เพิ่มเติม โดยตั้งเป้าจะขยับขึ้นไปตลาด Agency/Enterprise ซึ่งเป็นตลาดบน ผมเลยได้เข้าไปทำงานในการช่วยขยายธุรกิจในส่วนนี้ ดูแลทั้งในด้านสินค้า และการตลาดให้กับทาง 99designs ครับ
ผมสนใจในด้านการลงทุนอยู่แล้ว สมัยที่เพิ่งเรียนจบวิศวกรรมจาก Michigan ก่อนหน้านี้ ผมมีโอกาสได้ลองลงทุนเองครั้งแรกกับโรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัว ซึ่งนอกจากจะได้เรียนรู้ด้านการลงทุนแล้ว ผมยังลงไปสอนเองด้วย การสอนนี้ทำให้ผมเรียนรู้ว่า “ผมมี Passion ในการช่วยสร้างคนให้เติบโต” ซึ่งมันกลายมาเป็นวิธีคิดหลักของการทำ VC ในภายหลัง ถึงแม้ว่าสุดท้ายการลงทุนครั้งนั้นของผมจะล้มเหลวก็ตาม
และในช่วงระยะเวลา 2 ปี ของการเรียน MBA ที่ Berkeley ผมก็ได้ลองสังเกตเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกันตลอดว่าคนไหนที่มีความสามารถ และกำลังทำ Startup อยู่เพื่อมองหาโอกาสในการลองลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยผมมีหลักเกณฑ์เลือกคนที่จะลงทุนด้วยอยู่ 3 ข้อหลักๆ คือ
ปรากฎว่าผมบังเอิญได้ไปนั่งข้างๆ กับคนๆ นึงในวันจบการศึกษาพอดี ผมสนใจ Startup ที่เขาทำมานานแล้วและตัวเขาก็ตรงกับเกณฑ์ในใจผมพอดี ผมก็เลยเสนอว่าผมอยากลงทุนกับเขา ทั้งที่ตัวเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในด้านการลงทุนใน Startup มาก่อน ผมจึงอาศัยการไปลงเรียนเพิ่มเติม บวกกับเข้าไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์ใน Berkeley ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้ แล้วผมก็โชคดีมากว่าผู้ประกอบการคนนั้นที่ผมอยากลงทุนด้วย เขามีความรู้มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน เขาช่วยสอนผมเสียด้วยซ้ำ เขาจะโกงผมก็ยังได้ แต่เขาไม่ได้ทำแบบนั้น Term sheet ที่ให้ก็ดีมาก เป็นบุคคลที่เชื่อใจได้มาก และทำให้ผมได้เข้าสู่เส้นทางของการเป็น Angel investor นั่นเอง
วันที่เรียนจบ มีเพื่อนแนะนำผมว่า สิ่งที่ผมควรจะทำในเวลาที่ยังอยู่ที่นี่คือ การเรียนรู้จาก ซิลิคอน วัลเล่ย์ ให้มากที่สุด นั่นทำให้ผมได้ตั้งเป้าหมาย และลงมือทำอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งทำงานกับ Startup อย่าง 99designs เริ่มทำ Angel investing ตอนเย็นก็ไปลงเรียนคอร์สต่างๆ นานา ตกดึกก็ไป Network กับคนในวัลเล่ย์ ใครน่าสนใจผมคุยหมด ผมทำแบบนี้อยู่ราวปีกว่าๆ จนสุดท้ายผมมานั่งถามตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของผมจริงๆ” คำตอบมันกลับไปอยู่ที่ “ผมมี Passion ที่อยากจะช่วยสร้างคนให้เติบโต” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้จากการเปิดโรงเรียนศิลปะการต่อสู้ เพราะว่าศิลปะการต่อสู้ไม่ได้สอนให้เราต่อสู้ทางร่างกายกับคนอื่นอย่างเดียว แต่เป็นการช่วยให้เราเติบโตขึ้นด้วยการต่อสู้ทางจิตใจกับตัวเอง ผมอยากจะช่วยกลุ่มคนที่ต่อสู้ มุ่งมั่นเดินตามความฝันของตัวเองซึ่งผมก็มาหาเจอในกลุ่มผู้ก่อตั้ง Startup
ผมไม่ได้ต้องการจะสร้าง Billion-dollars company แต่ผมอยากจะช่วยให้คนที่มีความฝันประสบความสำเร็จ ผมจะทำอย่างอื่นไปก่อน 10-20 ปี เรียนรู้หาประสบการณ์แล้วค่อยมาช่วยคนทีหลังก็ได้ แต่เคยมีคนกล่าวว่า ศัลยแพทย์จะยังไม่ใช่ศัลยแพทย์ จนกว่าจะถึงวันที่เขาลงมือผ่าตัด นั่นทำให้ผมตัดสินใจว่าเริ่มเลยดีกว่า ออกมาทำ VC ของตัวเองแบบเต็มเวลา
ชื่อ Creative Ventures คนจะคิดว่าเราจะลงทุนในสินค้า Creative แต่จริงๆ แล้ว Creative ในความหมายของผมคือ ‘ความหลงใหล’ เราเชื่อว่า คนที่มีความหลงใหลในสิ่งที่ทำอย่างสุดขั้วนั้น ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร สุดท้ายแล้วเขาจะสามารถแก้ปัญหา และเดินต่อไปข้างหน้าได้ ผมเชื่อว่าความหลงใหลคือสิ่งที่จะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ก็ตาม
ผมตั้งบริษัทร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เรียน MBA มาด้วยกัน ตัวเขาเองมีทั้งพื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการและการเป็น VC ซึ่งครอบครัวของเขาทำ Venture Capital ในฝั่งวัลเลย์อยู่แล้ว ส่วนตัวผมเองจะมาสาย Corporate Innovation และมีพื้นมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)
โดยผมมองว่าตัวผมเองมีความเป็น ‘Investorpreneur’ คือเป็น Investor ที่เป็นเหมือน Entrepreneur ช่วยทำบริษัทไปด้วย
ถึงจะทำธุรกิจด้าน VC แต่เรามองบริษัทของเราว่าเป็น Startup บริษัทนึง ฉะนั้นเราเลยทำ User Interview สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ Startup ต่างๆ ว่าเขาต้องการอะไรนอกเหนือจากเงิน เราช่วย Add Value อะไรให้กับ Startup ได้บ้าง
เราพบปัญหาใน US ว่า แทบไม่มีงานในเชิงการผลิต(Manufacture)สินค้า Hardware เหลืออยู่ Tech ของที่นั่นล้วนแต่เป็น Software ทำให้ขาดแคลนความรู้ความสามารถด้าน Hardware และการผลิตมาพัฒนาสินค้าในหมวดหมู่ Internet of Things (IoT) เป็นไปได้ยาก แต่ความรู้ด้านการผลิต กลับเป็นสิ่งที่หาได้ง่านใน SEA พวกเราจึงถามตัวเองว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสามารถเชื่อมต่อระหว่าง SEA กับ US เข้าด้วยกันได้?”
เราสามารถช่วยเป็นช่องทางการผลิต และจัดจำหน่ายได้ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วย Corporate ในเมืองไทย และ SEA ด้วย หา Startup Soulmate ช่วยให้เขาขยายธุรกิจได้
C ใน Creative ventures จึงเป็นการผสมผสานสามคำ Creativity, Connection และ Collaboration นี่จึงกลายมาเป็นโมเดลธุรกิจแบบ Partnership-based ซึ่งทำหน้าที่เป็น Matchmaking Platform ระหว่างบริษัทใน SEA กับ Startup ใน US เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่า และขยายธุรกิจให้กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยผ่านทาง Venture Funding ซึ่งเน้นไปที่ Hardware ในด้าน IoT นั่นเองครับ
Steve Jobs เคยพูดว่า ในทุกเช้าที่เขาตื่นนอน เขาจะถามตัวเองหน้ากระจกว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เขายังอยากจะทำสิ่งที่กำลังทำอยู่นี้ใช่หรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่หลายวันติดต่อกัน นั่นหมายความว่า มันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว ซึ่งตลอดเวลาที่ผมอยู่ที่ US นั้น ผมทั้งเรียน ทั้งทำงานหนักหลายๆอย่าง “ถึงขนาดเคยกลับไปถึงที่พักแล้วอาเจียนออกมา” แต่เช้าวันถัดมาที่ผมตื่นขึ้น ผมก็ยังมีความสุข และยังอยากจะกลับไปทำมันอยู่ดี นี่คือแรงบันดาลใจสำคัญที่ช่วยให้ผมไปลงมือทำสิ่งต่างๆได้
อย่างไรก็ตาม แค่การทำสิ่งที่รักอย่างเดียวมันยังไม่พอ เราต้องกลับมาถามตัวเองด้วยว่ามันเป็น Unfair Advantage (ข้อเด่นที่คนอื่นไม่มี) ของเราหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น Bill Gates ได้มีโอกาสไปเรียนในโรงเรียน 3 แห่งที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้โดยไม่ต้องใช้ระบบ punch card ตั้งแต่อายุ 15-16 ปี ทำให้มีชั่วโมงบินในการ coding มากกว่าคนทั่วไปหลายพันชั่วโมง สิ่งนี้มันเป็น Unfair Advantage ของเขา พอเรากลับมาถามตัวเองเรื่องนี้ เราพบว่าพื้นฐานของเราคือ การมีธุรกิจครอบครัวใน SEA มีพาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการและ VC ในซิลิค่อนวัลเลย์ และรักในด้านการช่วยเหลือกลุ่มคนที่มี Passion ให้เติบโต เราจึงเอาทั้งหมดนี้มาผสมกันจนเกิดมาเป็น Creative Ventures ที่กำลังทำอยู่นี้
สุดท้ายรากฐานหรือแบ็กกราวด์ ของเรานี่แหละคือสิ่งที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามไป ผมเชื่อว่ารากเป็นสมบัติมากกว่าเป็นภาระ เป็นสิ่งล้ำค่าที่ทำให้เราแตกต่างจากคนอื่นๆในโลก และเมื่อเราสามารถนำรากมาผสมผสานกับ Passion ของตัวเองได้ ผมว่าเราก็จะสามารถหาเจอว่าท้ายสุดแล้ว เราเกิดมาเพื่อทำอะไร
ผมหวังว่าถ้าคุณหามันเจอแล้วคุณจะทำอะไรสักอย่างกับสิ่งที่คุณหาเจอ อะไรก็ได้ แต่ “ทำ”
ผมเชื่อว่าคุณจะมีความสุขกับมันอย่างน่าประหลาดใจ
ระหว่างที่สนทนากับคุณแชมป์ พวกเราเองก็ได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มมาไม่น้อย บทสัมภาษณ์นี้คือเรื่องราวชีวิตของเขาในต่างแดน แต่นอกจากนั้นแล้ว เขายังเป็นคนหนุ่มผู้เก่งเรื่องการวางกลยุทธิ์ และมีมุมมองการทำงานที่น่าสนใจมากท่านหนึ่ง
ภาคต่อของบทความ คือการลงรายละเอียดเชิงลึก ว่าการทำการเชื่อมต่อระหว่าง IoT Startups ในวัลเลย์ กับ SEA มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งทุกท่านสามารถพบกับหัวข้อ "Bridging the Gap between Thailand and Silicon Valley : The Story behind Creative Ventures" ในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม ได้ที่งาน Techsauce Summit 2016 ค่ะ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด