ถอดบทเรียน ปัจจัยผลักดันให้จีนก้าวกระโดดสู่ผู้นำ 'สังคมไร้เงินสด' Cashless Society | Techsauce

ถอดบทเรียน ปัจจัยผลักดันให้จีนก้าวกระโดดสู่ผู้นำ 'สังคมไร้เงินสด' Cashless Society

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ผลักดันให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนอาจจะได้เห็นพัฒนาการและตัวอย่างของกระแสสังคมไร้เงินสด หรือเป็นอีกคนที่ได้รับอิทธิพลกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบ Contactless Payment ที่เพียงแค่แตะบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือ Smart Card ก็สามารถชำระเงินได้ทันที นาฬิกาฝังชิพอัจฉริยะผูกกับบัตรเครดิต การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์บน PayPal ไปจนถึงการเข้ามาปฎิวัติโลกการเงินอย่างเทคโนโลยี Blockchian

ในทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยกระแสเทคโนโลยีใหม่ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งการทำธุรกรรมออนไลน์ไม่เพียงแต่จะช่วยผู้บริโภคให้ได้รับความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย ยังช่วยลดอัตราการฉกชิงวิ่งราว อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นที่น่ากังวลในเรื่องของความเป็นส่วนตัว เนื่องจากทั้งทางผู้ประกอบการธนาคารหรือแม้แต่รัฐบาลเองก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมส่วนบุคคลได้

กระแสไม่พกเงินออกจากบ้านในจีน

เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลจีนประกาศระงับการเทรด Cryptocurrency รวมถึงแบนเว็บเทรดต่างชาติ อีกทั้งเว็บ BTCC บริษัท Bitcoin ที่ใหญ่ที่สุดในจีนก็ได้หยุดให้บริการซื้อขายเหรียญคริปโต เนื่องมาจากรัฐบาลจีนมองว่า Bitcoin จะถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย การแข่งขันนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่สกุลเงินดิจิตอลเท่านั้น การต่อสู้ระหว่างผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในจีนก็กำลังเป็นที่น่าจับตาเช่นกัน

ในประเทศจีน เทรนด์ของการออกจากบ้านโดยไม่พกอะไรติดตัวนอกจากโทรศัพท์มือถือกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงมีเจ้าเครื่องเล็กๆ นี้ ทุกคนก็สามารถใช้จ่ายได้กับเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่ซื้อบัตร Metrocards ไปจนถึงจองตั๋วเครื่องบิน แม้แต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ดข้างทางก็ยังรับชำระเงินผ่านมือถือ การชำระเงินไม่เคยง่ายขนาดนี้มาก่อน จากรายงานปี 2017 พบว่ากว่า 660 ล้านคนใช้อินเตอร์เน็ตได้ใช้จ่ายผ่านมือถือรวมมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ และตัวเลขก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจัยผลักดันจีนในการขึ้นเป็นผู้นำ Mobile Payment

การที่เทรนด์สังคมไร้เงินสดกำลังมาแรงในจีนมีปัจจัยอะไรเป็นตัวผลักดันบ้างมาดูกันค่ะ

  • แนวโน้มของผู้ใช้งานมือถือมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรายงานล่าสุดปี 2017 ของ China Internet Network Information Center พบว่าจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตของจีนอยู่ที่ 772 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือชำระเงินออนไลน์มี 527 ล้านคน โดยในสายตาของคนจีนแล้วการใช้จ่ายผ่านมือถือดูจะเป็นอะไรที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากกว่าการใช้เงินสด
  • ความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลจีนในการออกนโยบายและระเบียบข้อบังคับในการสนับสนุน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปรากฎในแผนพัฒนาห้าปี โดยมีเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจโดยการเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตเป็นระบบ 5G
  • นอกจากการเข้าถึงสัญญาณแล้วราคาของมือถือที่ถูกลง ก็ได้เป็นอีกแรงที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้คนในทุกชนชั้นได้เข้าถึงการใช้สมาร์ทโฟน
  • แอพพลิเคชันเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยหลักในการผลักดันการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ โดยมีสองผู้เล่นหลักๆ คือ Alipay (ของ Alibaba) และ WeChat Pay (ของ Tencent) ซึ่งผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กด "จ่าย" หรือสแกน QR โค้ด นอกจากนี้ยังสามารถโอนเงินระหว่างบุคคลโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งก็เป็นกรณีที่น่าสนใจว่าบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคารนั้นเข้ามาทำการปฏิวัติการชำระเงินและสินค้าบริการได้อย่างไร

ภาพจาก: Blog HQ Wharton FinTech Han 

นอกจากนี้ Alipay ยังดำเนินธุรกิจ Taobao ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ชที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ส่วน WeChat Pay เป็นแอพพลิเคชันรับส่งข้อความที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งข้อได้เปรียบเหล่านี้ทำให้ Alipay และ WeChat Pay กลายเป็นสองระบบการชำระเงินที่ได้รับความนิยมที่สุดในตลาดจีน โดยตามรายงานของ iResearch คิดเป็นร้อยละ 54 และ 40 ตามลำดับ

  • การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ชที่ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มหนุ่มสาวที่เป็น Early Adopters ในการใช้จ่ายผ่านมือถืออีกทั้งกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความสามารถในการใช้จ่ายมากขึ้นก็ได้เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันเช่นกัน โดยสิ่งที่ถือเป็น pain point หลักๆ ที่ทำให้คนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเนื่องจากความยากลำบากในการเข้าถึงสินค้าและบริการของประชาชนในหลายพื้นที่นั่นเอง
  • สัดส่วนประชากรในเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และปักกิ่ง
  • การเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมทางการเงินและการมีระบบ Ecosystem ด้าน FinTech ที่มั่นคง
Source: Goldman Sachs

นอกจากการใช้ QR code ในการใช้จ่ายและโอนเงิน ซึ่งความสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งการไม่มียอดโอนขั้นต่ำในแต่ละครั้งทำให้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ค้าและผู้บริโภคอีกทั้งยังรวมไปถึงคนที่อาศัยอยู่ในแถบชนบทด้วยเช่นกัน เหนือกว่านั้นคือระบบ Face Recognition การจดจำใบหน้าของ Alibaba ที่แค่เพียงสแกนใบหน้าก็สามารถชำระเงินผ่าน Alipay Account ได้ทันที

ประเทศไทยอยู่ในจุดไหนในการเป็น Cashless Society?

เส้นทางสังคมไร้เงินสดในประเทศไทยนั้นยังคงมีให้ได้เห็นข่าวความพยายามในการผลักดันให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลและกระทรวงการคลังได้พยายามผลักดันแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เพื่อทำการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคารในประเทศไทย และมีแผนยกระดับให้ประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจยุค Cashless society เหมือนในหลายๆ ประเทศ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการที่มีบริการโอนเงินแบบ ‘พร้อมเพย์ (PromptPay)’ ที่ผู้ใช้แค่ใส่เลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์ก็สามารถทำธุรกรรมได้ทันที นับว่าเป็นอีกหนึ่งการช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามเรื่องของความปลอดภัยยังคงเป็นเรื่องสำคัญ คนไทยจำนวนมากยังคงวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของการชำระเงินออนไลน์อยู่ อีกทั้งเรื่องการขยายการชำระเงินแบบไร้เงินสดออกไปในพื้นที่ชนบทก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องค่อยๆ พัฒนากันไป ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่ประเทศที่ได้รับการพัฒนาได้เผชิญกันมาแล้วทั้งนั้น

อ้างอิงข้อมูลจาก: UBS, Financial Times, Techsauce

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากแรงงานสู่นวัตกรรม ยกระดับ SMEs และสตาร์ทอัพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ สู่ประเทศรายได้สูง

Mr. Cristian Quijada Torres ร่วมอภิปรายในหัวข้อ Innovation in a Changing World: Empowering SMEs And Startup วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อุปสรรคที่ทำให้การพัฒนานวัตกรรมแ...

Responsive image

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2024 วิเคราะห์ความท้าทายและโอกาส จากงาน Thailand Economic Monitor by World Bank

ในงาน Thailand Economic Monitor ดร. เกียรติพงษ์ อริยปรัชญานักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ณ ธนาคารโลก วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างละเอียด โดยชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญท...

Responsive image

เจาะ 4 แนวทางเศรษฐกิจไทยที่จะให้ SME และ Startup เป็นพระเอก ฟังพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์

เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโต! นักลงทุนแห่ลงทุนใน AI, Semiconductor และ Data Center ขณะที่รัฐบาลเร่งลดการผูกขาด เปิดโอกาส SME และ Startup สู่ตลาดโลก พร้อมดันไทยเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเ...