หนุ่มสาวจีนที่จบปโทและเอก เริ่มสนใจละทิ้งชีวิตเมืองกลับมาทำเกษตร หวังพัฒนาภาคการเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิต | Techsauce

หนุ่มสาวจีนที่จบปโทและเอก เริ่มสนใจละทิ้งชีวิตเมืองกลับมาทำเกษตร หวังพัฒนาภาคการเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิต

  • คนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาสูงในประเทศจีนละทิ้งชีวิตในเมืองไปเป็นเกษตรกร เนื่องจากต้องการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของประเทศ และได้รับแรงกดดันจากชีวิตในเมือง
  • พวกเขาเรียนรู้อีกทั้งสอนวิธีทำฟาร์มแบบออร์แกนิคและการอนุรักษ์น้ำ หวังฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมเพื่อเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรุ่นหลัง

Zheng ชาวมณฑลส่านซี จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ จากมหาวิทยาลัยเทียนจิน เป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาสูงจำนวนมากที่เลือกที่จะละทิ้งชีวิตในเมืองไปทำงานในภาคการเกษตร South China Morning Post รายงาน

เมื่อต้นปี 2556 เขาได้อยู่ในเหตุการณ์กลุ่มชาวนาโยนซากหมูกว่าพันตัวทิ้งลงแม่น้ำหวงฝู ซึ่งไหลผ่านนครเซี่ยงไฮ้ ภาพซากหมูเน่าอืดลอยเป็นแพมันทำให้เขาสะอิดสะเอียนจนแทบจะอาเจียน

หากคุณอยู่ในเหตุการณ์นั้น คุณจะไม่อยากกินอะไรเลยเป็นเวลาหลายวัน” Zheng กล่าว

เหตุการณ์นั้นทำให้เขาเริ่มเป็นห่วงภาคการเกษตร อีกทั้งทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากจะออกมาทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยประเทศตัวเอง

สามปีต่อมา Zheng พร้อมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอีก 4 คน รวบรวมเงินกว่าสองล้านหยวนกลับมายังบ้านเกิด เช่าที่ดิน 13 เฮกเตอร์ หรือราว 80 ไร่ ในอำเภอลี่เฉวียน มณฑลส่านซี พวกเขาต้องการทำให้เกษตรกรท้องถิ่นเห็นถึงประโยชน์ของการทำเกษตรแบบอินทรีย์

ในตอนนั้นคุณภาพของดินไม่ค่อยดีนัก และต้องใช้เวลากว่า 2-3 ปีในการฟื้นตัว ซึ่งการปนเปื้อนของดินเกิดจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และการใช้ปุ๋ย อีกทั้งของเสียจากภาคอุตสาหกรรมและการกำจัดขยะก็เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

ฟาร์มของ Zheng ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ทำจากมูลไก่ และมูลสุกร) เท่านั้น ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นี่ทำให้เกษตกรรายอื่นยังไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำตามดีหรือไม่

เราจะไม่หยุดจนกว่าจะสามารถพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สามารถขายในราคาที่สูงได้

การทำการเกษตรสมัยใหม่เป็นหนึ่งในสิ่งที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญ ในเดือนมีนาคมประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้กล่าวถึงความพยายามในการผลักดันนักศึกษาที่จบในจีนและต่างประเทศ ในการย้ายไปยังชนบทเพื่อพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ห่างไกล และผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม

นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้ออกมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการในชนบท ได้แก่ การยกเว้นภาษี การให้เงินทุนสนับสนุนที่ง่ายขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ปัจจุบันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจีนอาศัยในเมือง คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2533 อย่างไรก็ตามก็ยังคงต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 75 เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว

เมื่อปีพ.ศ. 2560 กระทรวงการเกษตรประกาศว่าคนจีนกว่า 7 ล้านคนได้กลับไปยังพื้นที่ชนบท แม้จะไม่ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนในเรื่องการย้ายถิ่นฐาน แต่ในจำนวนนี้กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ได้หันมาทำงานในภาคการเกษตรมากขึ้น

Zheng มีความฝันที่จะปลูกพืชคุณภาพสูงเพื่อส่งออก เหมือนอย่างเกษตรกรญี่ปุ่นและในตะวันตก

ประเทศจีนนั้นใหญ่มาก ซึ่งสามารถปลูกผลไม้ได้เกือบทุกชนิด แต่เราไม่สามารถขายองุ่นที่เราปลูกแม้มีราคาพวงละไม่กี่สิบเหรียญ ในขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถขายในราคาพวงละหลายร้อยเหรียญ

อีกหนึ่งกรณี Ma Yanwei จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านนิเวศวิทยา จากมหาวิทยาลัย นอร์มัล ยูนิเวอร์ซินตี้ กรุงปักกิ่ง (Beijing Normal University) เมื่อปีพ.ศ. 2558 เขาได้มีพื้นที่ครอบครองในเขต Alashan ของมองโกเลีย กว่า 60 ไร่  ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลกำลังสนับสนุนเกษตรกรในการอนุรักษ์น้ำในพื้นที่แห้งแล้ง

"แม้ Alashan จะโดนภัยคุกคามจากความแห้งแล้ง แต่สภาพอากาศและดินนั้นกลับดีมาก เกษตรกรท้องถิ่นใช้น้ำใต้ดินเพื่อการชลประทาน แต่พวกเขาปลูกข้าวโพดซึ่งต้องใช้น้ำจำนวนมาก

รัฐบาลได้ช่วยเหลือเกษตรกรท้องถิ่น ในเรื่องการกักเก็บน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง โดยการให้ท่อน้ำแก่เกษตรกร และ Ma เองก็ได้เป็นคนสอนวิธีการใช้งานกับเกษตรกร ซึ่งวิธีนี้ใช้ปริมาณน้ำเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

Ma มาจากเมืองฮาร์บินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ก่อนหน้านี้เขาทำงานในองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปีพศ. 2547 งานของเขาได้พาเขามายังเขต Alashan “ที่นี่ทั้งสวยงามและชาวบ้านก็เป็นมิตร" เขากล่าว

Yixi Kanzhuo นักศึกษา MBA จาก University of International Business and Economics (UIBEชาวต้าเหลียน เธอเคยทำงานด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้กับ See Foundation หน่วยงาน NGO ที่ใหญ่ที่สุดของจีน เธอได้ย้ายมายังมณฑลชิงไห่กับสามีชาวทิเบต ที่นี่เธอได้สอนเกษตรกรถึงเทคนิคการทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ฉันได้มาทำงานที่นี่ ในตอนแรกมันยังเป็นพื้นที่รกร้าง ระบบการเดินทางยังไม่สะดวก อีกทั้งยังไม่มีทางมอเตอร์เวย์

ในช่วงแรกที่ได้ย้ายมา พวกเขาต้องอาศัยในบ้านที่รัฐมอบให้ ซึ่งไม่มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ การดูแลผู้สูงอายุ การกำจัดขยะ และระบบชลประทาน

พวกเขาได้รับการสัญญาว่าถ้าย้ายถิ่นฐานจะได้รับเงินชดเชย แต่บางครอบครัวอ้างว่าพวกเขาไม่ได้รับเงินมากเท่าที่ควรจะได้รับ ปกติแล้วชาวทิเบตมีอัตรการเกิดสูง และแต่ละครอบครัวจะมีลูกโดยเฉลี่ย 8 คน ทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในความยากจนอย่างรวดเร็ว

"ก่อนปีพ.ศ. 2528 ผู้เร่ร่อนในยูซูได้เป็นเจ้าของจามรีมากกว่า 100 ตัว พวกเขาไม่เคยต้องกังวลเรื่องเงิน สามีของฉันอาศัยอยู่ในฟาร์มจนกระทั่งอายุ 15 ซึ่งตอนนั้นชีวิตก็สะดวกสบายดี แต่หลังจากย้ายถิ่นฐาน เขาต้องถูกตัดจากวิถีชีวิตดั้งเดิมและไม่สามารถหางานได้

เธอและสามีสร้างบ้านโดยใช้ปูนที่ทำจากดินและปูนขาว ซึ่งนี่ก็เป็นการแสดงให้คนอื่นเห็นถึงการมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งคู่ได้ทำการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือกับอีก 7 ครอบครัว และกับฝ่ายปศุสัตว์อีก 300 คน เพื่อที่ทุกคนจะได้ผลัดหน้าที่กันทำงาน

ส่วนใหญ่แล้วผลผลิตที่ได้จะขายเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น เนื่องจากคนนอกพื้นที่จะไม่ทานเนื้อจามรี

สิ่งที่เราทำไม่เพียงช่วยผู้อื่นด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีที่ผู้คนสามารถอาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สามารถนั่งสมาธิ เล่นโยคะ และมีชีวิตที่เงียบสงบในฟาร์มได้ นี่คือสิ่งที่เราต้องการ

เรายังสอนชาวพื้นเมืองทำอาหารต้อนรับผู้ที่มาเยือนอีกด้วย บรรยากาศที่นี่ดีและสวยงามมาก เนื่องจากมันอยู่ติดแม่น้ำหวง ถนนกำลังสร้างและจะเสร็จในปีหน้า และตอนนี้รัฐบาลก็เริ่มสร้างสนามบินเล็กๆ

สำหรับสาวที่มาจากเมืองใหญ่อย่าง Yixi การใช้ชีวิตในชนบทที่ห่างไกลดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่เธอคุ้นชินไปแล้ว เธอพูดติดตลกว่าในช่วงแรกที่ฉันได้มาที่นี่ ฉันไม่ได้สระผมเลยเป็นเวลา 20 วัน

แม้ในตอนแรกจะทุลักทุเลและยากลำบาก เธอบอกว่าชีวิตใหม่ของเธอดีขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับเมื่อตอนอยู่ในเมืองใหญ่

"การที่คนเราจะต้องเดินทางโดยรถไฟที่แออัดทุกวัน และใช้เงินทั้งเดือนหมดไปกับค่าครองชีพ พวกเขามีชีวิตอยู่เพื่อทำงานเท่านั้น ฟังดูไม่มีศักดิ์ศรีเอาเสียเลยเธอกล่าว

"ฉันหวังว่าลูก ของเราจะเติบโตในบ้านที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ และนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุขในปั้นปลาย"

อ้างอิง South China Morning Post

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...