เทียบ Clubhouse และ Twitter Spaces แชทเสียงของใคร น่าใช้กว่ากัน ? | Techsauce

เทียบ Clubhouse และ Twitter Spaces แชทเสียงของใคร น่าใช้กว่ากัน ?

ตั้งแต่เปิดตัวมาเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2020 กับแอปพลิเคชัน Clubhouse ความนิยมก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนหันมาให้ความสนใจในการเปิดคลับสำหรับพูดคุยและเข้าร่วมฟังในแพลตฟอร์มนี้ รวมไปถึงคนดังหลายคนอย่าง Elon Musk และ Mark Zuckerberg ที่เข้าร่วมใน Clubhouse เช่นกัน ทำให้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน Clubhouse ก็สามารถกลายเป็น Unicorn และรู้จักไปทั่วโลก จากจำนวนผู้ใช้งานเพียง 600,000 คนในเดือนธันวาคม ปี 2020 ตอนนี้มีผู้ใช้งาน Clubhouse แล้วกว่า 6 ล้านคน

clubsauce

ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ Clubhouse ทำให้แพลตฟอร์มโชเชียลมีเดียอื่น ๆ หันมาเล่นกับฟีเจอร์แชทเสียงเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Facebook ที่กำลังวางแผนเพิ่มฟีเจอร์นี้ใน Messenger และตอนนี้ทาง Twitter ก็ได้เปิดตัวฟีเจอร์สนทนาผ่านเสียงออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานกันแล้ว โดยฟีเจอร์นี้มีชื่อว่า Spaces ที่มีขั้นตอนการใช้งานคล้ายกันกับ Clubhouse ดังนั้น ในบทความนี้จึงได้ยกเอา 2 แอปพลิเคชันนี้มาเปรียบเทียบกันในแต่ละประเด็น ว่าสรุปแล้ว Clubhouse หรือ Twitter Spaces ที่มีดีกว่า น่าสนใจกว่า และจะมีโอกาสได้เปรียบกว่าในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ และเข้าใจการใช้งานของทั้ง 2 แอปฯ นี้

clubhouse

การเข้าใช้งาน

Clubhouse

ตอนนี้ยังเป็น Invitation-only เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่จะเข้าใช้งาน Clubhouse จะต้องได้รับคำเชิญจากผู้ใช้งานที่มีบัญชีใน Clubhouse เท่านั้น อีกทั้งผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้นที่สามารถดาวน์โหลดแอปฯ นี้ได้ โดยในอนาคตจะมีการเปิดให้ผู้ใช้งานในระบบ Android แน่นอน แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าจะเป็นเมื่อไหร่

Twitter Spaces

ผู้ใช้งาน Twitter ทุกคนสามารถเข้าใช้งานใน Spaces ได้ทันที โดยผู้สร้างห้องสนทนาสามารถเชิญให้เพื่อน ๆ เข้าร่วมเป็น Speaker ได้เช่นกัน และคนอื่น ๆ ที่ต้องการจะเข้าฟังสามารถเข้าร่วมได้ทันที เนื่องจากทาง Twitter ได้เปิดให้ Spaces เป็นสาธารณะ นอกจากนี้ในหน้า Fleets จะเห็นได้ว่ามีใครบ้างที่กำลังใช้งาน Spaces อยู่ และสามารถกดเข้าไปร่วมฟังได้เลย

เมื่อมองในแง่ของการเข้าใช้งานแล้ว ทาง Clubhouse ยังถือว่าเป็นรอง เพราะอาจจะมีความยุ่งยากของการขอ Invite ในครั้งแรกที่จะเข้าร่วมแพลตฟอร์ม และตอนนี้มีเฉพาะผู้ใช้งานในระบบ iOS เท่านั้นที่จะเข้าร่วมได้ทำให้มีโอกาสที่ Twitter Spaces จะขึ้นแท่นมาเป็นผู้นำในแพลตฟอร์ม Audio Chat

การแชร์เรื่องราวทั้งในและนอกแอปฯ

Clubhouse

จะเห็นได้ว่าการจะโปรโมทเรื่องราวต่าง ๆ ของ Clubhouse ผู้ใช้งานจะต้องโปรโมทผ่านแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาจจะเป็น Twitter, Facebook และ Instagram โดยในโปรไฟล์ของ Clubhouse จะสามารถเชื่อมต่อกับบัญชี Twitter และ Instagram ได้ทำให้เราสามารถติดตามเพื่อน ๆ และห้องสนทนาอื่น ๆ จากบัญชีเหล่านี้ได้เช่นกัน

Twitter Spaces

สำหรับการโปรโมทของ Spaces นั้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าผู้ใช้งานจะเห็นได้ว่ามีใครกำลังเข้าใช้งานในฟีเจอร์นี้ในหน้า Fleets อีกทั้งผู้ใช้งานใน Spaces ยังสามารถแชร์ข้อความ Tweet ต่าง ๆ เข้ามาใน Spaces ได้เช่นกัน เพื่อให้คนในห้องสนทนาถกกันในประเด็นนั้น ๆ ได้

จากความหลากหลายของฟีเจอร์ใน Twitter Spaces ในเรื่องของการแชร์เรื่องราวห้องสนทนาไปด้านนอกเพื่อให้คนได้มาเข้าร่วม และการแชร์เนื้อหาต่าง ๆ กันภายในแอปฯ เอง ทำให้ตอนนี้ Spaces มีความน่าสนใจในจุดนี้มากกว่า ซึ่งในอนาคตทั้งสองแอปฯ จะพัฒนาต่อไปอย่างไรก็ต้องมารอดูกันต่อไป

การแสดงความเห็นผ่าน Emoji 

Clubhouse

สำหรับ Emoji แล้วตอนนี้ใน Clubhouse ยังไม่มีฟีเจอร์นี้เข้ามาให้ผู้ใช้งานได้ใช้กัน จะมีก็เพียงแต่ปุ่มกดยกมือเพื่อเข้าร่วมสนทนาเท่านั้น

Twitter Spaces

ตอนนี้ใน Spaces มี Emoji ให้เลือกใช้ด้วยกัน 3 แบบคือ 👋, 💯 และ ✌️ 

จากความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้ง Spaces และ Clubhouse ทาง Transistor คิดว่าการมีฟังก์ชันให้กด Emoji ได้นั้นจะเพิ่มสีสันให้กับห้องสนทนา อีกทั้งยังเป็นการส่ง Feedback ให้กับผู้พูดว่า ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร และหวังว่าในอนาคตทั้งทาง Twitter และ Clubhouse จะเพิ่ม Emoji เข้าไปให้คนได้ใช้งานกันมากขึ้น

คุณภาพของเสียง

จากบทความรีวิวของ Transistor พบว่า คุณภาพของเสียงในห้องสนทนาของ Twitter Spaces นั้นค่อนข้างจะมีคุณภาพกว่าของ Clubhouse แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสองแอปฯ ก็ยังมีปัญหาของเสียงที่มาจากตัวผู้ใช้งานเอง ทั้งเรื่องของสัญญาณที่ไม่เสถียร และอุปกรณ์ที่ใช้ นอกจากนี้ยังพบว่า Spaces ของ Twitter ที่เป็นน้องใหม่กว่า Clubhouse นั้นบางครั้งยังพบปัญหาที่ผู้ฟังจะไม่ได้ยินเสียงของผู้พูดเป็นครั้งคราว

ตัวเลือกสำหรับ Podcaster ใช้แพลตฟอร์มไหนดี ?

Clubhouse

เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการผู้ฟังในวงกว้าง เหมาะกับการพูดคุยกับคนใหม่ ๆ หรือคนแปลกหน้าที่มีความสนใจแบบเดียวกัน

Twitter Spaces

ถ้าผู้ใช้งานมีจำนวนผู้ติดตามเยอะ แพลตฟอร์มนี้ก็เหมาะสำหรับขยายการติดตามผ่านการเปิดห้องใน Spaces ซึ่งคนที่จะเข้าไปฟังส่วนใหญ่จะมาจากการติดตามบนบัญชี Twitter ดังนั้นหากต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ กับคนกลุ่มใหม่ ๆ Clubhouse จะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการขยายช่องทางให้คนที่รู้จักได้มาเข้าร่วมพูดคุย Spaces ของ Twitter จะเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับการใช้งานแนวนี้

ถึงแม้ว่า Twitter Spaces จะเป็นน้องใหม่กว่า Clubhouse แต่หลังจากเปิดตัวมาไม่นานหลายคนก็พบว่าฟีเจอร์นี้มีดีไม่แพ้กับ Clubhouse ในอนาคตแอปพลิเคชันเหล่านี้จะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไรให้คนได้เข้าไปใช้งาน หรือจะมีการแข่งขันกันต่อไปในรูปแบบไหน หรือจะแพลตฟอร์มอื่นเข้ามายืนในสปอตไลท์แทนสองแอปฯ นี้หรือไม่ อันนี้ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป


อ้างอิง: Transistor, Twitter




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...