EDI (Electronic Data Interchange) จะเป็นพื้นฐานการเติบโตของธุรกิจ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด | Techsauce

EDI (Electronic Data Interchange) จะเป็นพื้นฐานการเติบโตของธุรกิจ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล EDI จึงกลายมาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำธุรกิจในปัจจุบัน

COVID-19 ได้ก่อให้เกิดโรคระบาดที่ไม่เพียงรบกวนการใช้ชีวิตของผู้คน แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานในระยะยาว โดยรายงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัลฉบับล่าสุดจาก UNCTAD เผยว่า รายได้ในตลาด E-Commerce ทั่วโลกได้พุ่งสูงถึง 26.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้การขับเคลื่อนของ E-Commerce และข้อจำกัดที่เกิดจากการแพร่ระบาดในภาวะนี้ ซึ่งตามรายงานเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2021 ได้แสดงให้เห็นว่า การระบาดของ COVID-19 ทำให้ส่วนแบ่งยอดขายจากการค้าปลีกออนไลน์จากยอดขายค้าปลีกทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 19% ในปี 2020 ซึ่งธุรกิจที่จะเอาตัวรอดได้ในยุคที่ E-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว ก็คือการสร้างยอดขายที่เกิดจาก B2B หรือธุรกิจกับธุรกิจ ที่รวมไปถึงการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

EDI ก้าวสู่การเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล

เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าระบบ EDI (Electronic Data Interchange) แพลตฟอร์มสำหรับรับ-ส่งข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล ในปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตของธุรกิจในทุกวันนี้ ด้วยประโยชน์มากมายที่เอื้อให้การทำธุรกิจกับผู้มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทให้เป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้น

ระบบ EDI ในฐานะระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทในยุคดิจิทัลด้วยราคาที่ไม่แพง สามารถปรับให้เข้ากับฐานข้อมูลนั้น ๆ ได้ และยังมีความรวดเร็วพร้อมช่วยให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง ช่วยให้เข้าถึงบันทึกในอดีตได้ง่าย รวมถึงไปลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจาก EDI มีการขับเคลื่อนด้วยคลาวด์ รวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรไอที ประกอบกับผู้ให้บริการคลาวด์ยังให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีทั่วโลก ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บและจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบคลาวด์ยังช่วยให้ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกำจัดข้อมูลที่ป้อนเข้าไปผิดพลาด เช่น ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและการเรียกเก็บเงินสินค้า และลดขั้นตอนในการป้อนข้อมูลซ้ำอีกครั้งของฝั่งปลายทาง ทั้งยังช่วยให้สามารถเข้าถึงเอกสารในอดีตได้อย่างง่ายดายโดยกระบวนการจัดการเอกสารด้วยระบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยยกระดับการปกป้องข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วในการรับข้อมูลประกอบกับข้อมูลที่ถูกเก็บรวมเข้าสู่ระบบของคู่ค้าจาก EDI นี้ จะช่วยลดรอบเวลาของการจัดการข้อมูลได้อย่างมหาศาล ทำให้ EDI เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิตแบบ just-in-time (ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ที่จะผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการซื้อจากลูกค้าเท่านั้น และจะส่งมอบให้ลูกค้าทันทีเมื่อผลิตเสร็จ)

"การสร้างระบบอัตโนมัติให้กับกระบวนการทางธุรกิจ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงาน พร้อมทั้งปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้บริษัทควบคุมการดำเนินงานทั้งหมดได้ โดย Comarch จะสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทว่า ถึงแม้โลกจะล่มสลาย บริษัทก็จะยังทำกำไรต่อไป” - Comarch

Comarch กับแนวทางการใช้ EDI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัท

Comarch คือ ธุรกิจแนวหน้าในการเสริมศักยภาพให้กับบริษัทด้วยการใช้ระบบ EDI ผ่านซอฟต์แวร์เฮาส์ระดับโลกที่ส่งมอบและผสานผลิตภัณฑ์ไอทีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมากกว่า 28 ปี และทีมงานของบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญชั้นนำกว่า 6,500 คนในสาขาการเขียนโปรแกรม วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเศรษฐศาสตร์ ในตอนนี้ ให้บริการ EDI แก่ลูกค้าทั่วโลก โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะจัดหาเทคโนโลยีที่อยู่ในงบประมาณ และปรับให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบริษัท ด้วยความเชี่ยวชาญในระบบการจัดการธุรกิจ ERP (การบริหารทรัพยากรขององค์กร), การจัดการความปลอดภัยของข้อมูล, CRM (การจัดการเรื่องความสัมพันธ์กับลูกค้า) และระบบสนับสนุนการขาย, การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์, การจัดการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย, โซลูชัน IoT (Internet of Things), การวิเคราะห์ข้อมูล และระบบธุรกิจอัจฉริยะ

วิศวกรไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจของบริษัทได้สร้างแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับแนวหน้าด้วย Comarch EDI ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม B2B บนคลาวด์ที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทและคู่ค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า บริษัทสามารพัฒนาประสิทธิภาพทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและข้อบังคับระดับโลกฉบับล่าสุด โดยแพลตฟอร์ม Comarch EDI ช่วยให้บริษัทต่างๆ  สามารถส่งและรับข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่แปลงเป็นรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย ด้วยผลิตภัณฑ์ไอทีที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าสูง ซึ่งสามารถรวมเข้ากับระบบไอทีภายในหรือจะใช้ในรูปแบบ Web-EDI ได้อย่างง่ายดาย จากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน, เทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ และเทคโนโลยี Machine Learning ทำให้ Comarch EDI รับประกันถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในระบบ Comarch EDI 2019 ที่ยืนยันประสิทธิภาพของระบบ พบว่า 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจรายงานว่างานธุรการลดลง 83% รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลลดลง และ 70% รายงานว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับคู่ค้าทางธุรกิจ 

พันธมิตรทั้ง 3 ที่ Comarch ได้นำสู่ความสำเร็จ

ลูกค้ารายใหญ่ทั้ง 3 รายของบริษัทที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม Comarch EDI พบว่ามีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ พิสูจน์ถึงผลตอบรับในเชิงบวก ซึ่งลูกค้าดังกล่าวประกอบไปด้วยบริษัท METRO-NOM, thyssenkrupp และ Danone

Comarch ประสบความสำเร็จในการเสริมศักยภาพให้กับบริษัท METRO-NOM ด้วยแพลตฟอร์ม EDI ที่ช่วยจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินงาน และการสนับสนุนด้วยบริการด้านไอที ภายใต้ METRO AG หนึ่งในบริษัทค้าปลีกและค้าส่งระหว่างประเทศที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในโลก มีสาขาใน 35 ประเทศ มีพนักงานมากกว่า 150,000 คน และสร้างรายได้ประมาณ 37,140 ล้านยูโร และมี EBIT หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีที่ 1,106 ล้านยูโร โดย Comarch จะหาทางแก้ไขสำหรับข้อผิดพลาดที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจและเอกสารในรูปแบบกระดาษระหว่างเครือข่ายค้าปลีกและซัพพลายเออร์ ที่ส่งผลให้มีต้นทุนสูงในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งพบว่า ภายในหนึ่งปี Comarch สามารถโยกย้ายและจัดการโครงสร้างพื้นฐาน EDI สำหรับ 24 ประเทศและ 35 สายการขาย Comarch EDI จึงทำให้ METRO-NOM ได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่น่าพอใจ พร้อมกับราคาที่เหมาะสม และฟังก์ชันการทำงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี

และยังมีความร่วมมือกับบริษัท thyssenkrupp ที่ได้นำไปสู่ความสำเร็จเช่นกัน โดย thyssenkrupp เป็นบริษัทซัพพลายเออร์ชั้นนำและพันธมิตรด้านวิศวกรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับสากล ที่มองว่าการเลือกผู้ให้บริการ EDI ที่เชื่อถือได้จะช่วยรักษาชื่อเสียง และส่งผลต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งกับผู้ให้บริการธุรกิจและผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ และสิ่งที่ทางบริษัทให้ความสำคัญคือการจัดระบบและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ EDI ระหว่างแผนกที่รับผิดชอบในการจัดหาชิ้นส่วนและบริการทางวิศวกรรมให้กับภาคส่วนยานยนต์รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งการใช้งานครั้งแรกกับพาร์ตเนอร์ของบริษัทอย่าง Commerce ก็เป็นไปได้ด้วยดี และการดำเนินการในปี 2019 ทาง Comarch ก็ได้เข้าไปช่วยปรับปรุงงานต่างๆ เช่น การคาดการณ์กำหนดการส่งมอบ (DELFOR) และให้บริการและสนับสนุนให้สอดคล้องกับกฎหมายทั่วโลกว่าด้วยข้อบังคับการออกใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรม B2B อย่างมืออาชีพ

สุดท้ายนี้ คือความร่วมมือกับ Danone บริษัทอาหารชั้นนำระดับโลกที่ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์จากนมและผลิตภัณฑ์จากพืช น้ำและเครื่องดื่ม และโภชนาการเฉพาะทาง ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีอยู่ในตลาดประมาณ 130 แห่ง และสร้างยอดขายรวมประมาณ 25.3 พันล้านยูโรในปี 2019 ซึ่ง Danone มีเป้าหมายที่จะเพิ่มความคล่องตัวในความร่วมมือระหว่างซัพพลายเออร์ คู่ค้า และลูกค้า ผ่านการใช้ระบบ EDI ที่มีความน่าเชื่อถือเพียงที่เดียว และบริษัทยังต้องการกำจัดเอกสารที่เป็นกระดาษ เพื่อปรับปรุงการจัดการข้อมูลและช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา โดย Comarch EDI ถูกนำมาใช้ใน 4 ประเทศที่บริษัทดำเนินการ ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก และมีการใช้บริการของ Comarch EDI ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ Comarch EDI, Comarch EDI Tracking และ Comarch EDI Archive

Comarch EDI พร้อมสนับสนุนการเติบโตของบริษัทต่อไป

ด้วยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบริษัทในการใช้เครื่องมือที่ยั่งยืนและเชื่อถือได้เพื่อก้าวไปข้างหน้า และ Comarch ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือดังกล่าวด้วย Comarch EDI

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Comarch’s website และสามารถดาวน์โหลด ebook พิเศษ ที่มีคำทักทายจาก Comarch ได้ที่นี่

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...