เมื่อวงการก่อสร้างก็โดน Disrupt สัมภาษณ์พิเศษ 'ไผท ผดุงถิ่น' Startup ผู้พลิกวงการ | Techsauce

เมื่อวงการก่อสร้างก็โดน Disrupt สัมภาษณ์พิเศษ 'ไผท ผดุงถิ่น' Startup ผู้พลิกวงการ

หากพูดถึง Startup รายแรกๆที่ประสบความสำเร็จในไทย หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ Builk แพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ช่วยคนในวงการก่อสร้างตั้งแต่ผู้รับเหมา ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ไม่ได้ทำเพียงเเค่หน้าบ้านแต่รวมถึงการทำซอฟแวร์ในวงการก่อสร้างด้วย นับได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างการเปลี่ยนเเปลงให้วงการก่อสร้างกันเลยทีเดียว

Techsauce ได้รับคำเชิญจากคุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk ให้ไปร่วมงาน รักเหมา Fest 2019 หนึ่งในงาน Event สำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ นักออกเเบบสถาปนิก เมื่อได้ยินแบบนี้ จึงต้องชวนคุณไผทมานั่งอัพเดทถึงวงการก่อสร้าง , เทคโนโลยีและ Solution ใหม่ๆ พร้อมการจัดงานที่กำลังจะเกิดขึ้น

วงการก่อสร้างถูก disrupt ด้วยวงการดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน

เรื่อง Construction Tech ที่อเมริกาก็พูดมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี ช่วงหลัง Disruption มันมาจากสายอื่นๆ หมดแล้ว แต่ทำไม Construction ถึง Disrupt ได้ยากและกลับมาใน SEA ยากหนักเข้าไปอีก แต่ก็มีสัญญาณว่าฝั่งอเมริกาเริ่มถูก Disrupt ขึ้นเรื่อยๆ เรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนไม่อยากทำงานในวงการนี้ เพราะมันสกปรก ร้อน และอันตราย ต่างชาติเรียกว่า 3D “ Dirty Dangerous Dull”

เด็กวิศวะจบใหม่ไม่มีใครอยากอยู่ไซท์กันแล้ว ขณะเดียวกันคนเก่าๆ ก็โรยราลงไป แต่มันมีข้อดีอย่างหนึ่งคือเทคโนโลยีมันถูกลงเรื่อยๆ สมัยก่อนไซท์ก่อสร้างไม่มีเงินซื้อ video conference แบบทุกวันนี้ แต่วันนี้ 4G 5G หรือ sensor ที่ติดอยู่ไซท์ก่อสร้างมันเริ่มถูกลงเรื่อยๆ เรากำลังทำระบบ Face Recognition ให้ไซท์ก่อสร้างเดินดูคนงาน 600 คนทั้งตึกได้ โดยใช้ Startup ไทยและเทคโนโลยีเรา

ผมเชื่อว่ามันใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น ค่าแรงไม่ถูกเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็หาคนงานยากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีถูกลง ฉะนั้นมันจะเป็นจุดตัดกันได้ของ Construction Tech เพียงแต่ความยากคือวงการนี้มี supply chain ที่ยาวและซับซ้อน ไม่เหมือนโรงงานธรรมดา 

การที่จะไป Disrupt มันไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด Builk ทำมาจะเข้าปีที่ 10 เราเห็นว่ามันจะต้องทำตั้งแต่ fundamental วงการอื่นไปเร็วมากเพราะ fundamental ของ industry นั้นมันดี Retail เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ Healthcare กำลังเปลี่ยน เพราะ fundamental ดีขึ้น มีระบบและ data, software ที่เชื่อมโยงกัน แต่ที่วงการก่อสร้างขยับช้า เพราะ fundamental ไม่ดี ถนนที่คนในวงการนี้สิ่งอยู่เปรียบเสมือนถนนลูกรัง วิ่งติดหล่ม ติดๆ ขัดๆ ขณะที่คนอื่นวิ่งอยู่บนถนน Highway กันแล้ว 

ฉะนั้นสิ่งที่เราตั้งใจจะทำคือทำให้ถนนเส้นนี้มันดี จากนั้นเปิดโอกาส ไม่ว่าจะเป็น Corporate, Construction Tech หรือคนใหม่ๆ เข้ามาวิ่งอยู่บนถนนเส้นนี้ให้มันดี เพราะมันไม่มีกระทรวงที่จะมาทำ Fundamental ให้มันดีจริงๆ 

ด้วยความที่เราทำมานานก็พอจะมี Contribution เป็นแนวล่างๆ เปรียบเหมือนกระทรวงก่อสร้างภาคเอกชน และ Connect ผู้รับเหมาใหญ่ๆ ผู้รับเหมา SMEs และ Supply Chain มาอยู่บนนี้แต่ถึงอย่างไรสิ่งหนึ่งที่เห็นได้จากตัวอย่างต่างประเทศ คือ ในบริษัทเทคโนโลยีต่างประเทศเขาจะมีงาน User Conference พา user มาเจอและอัพเดทกันว่าปีนี้เป็นอย่างไร ปีหน้าจะมีอะไรใหม่บ้าง ขณะเดียวกันเราก็เปิดให้คนอื่นมาใช้ เพราะเราเอาเรื่อง Knowledge, Innovation, Promotion ต่างๆ มาให้เขาด้วย 

ก่อนหน้านี้ทำ Startup ด้านก่อสร้าง อะไรเป็นจุดเริ่มต้นในการมาจัดงาน Event 

สิ่งที่ทำให้อยากจัด Event  คือ ผมรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของพวกเราในวงการ Startup ส่วนใหญ่เรา Connect กันผ่านทางออนไลน์ ในแต่ละปีเราก็มีงานสำคัญๆ อย่าง Techsauce ที่เราได้เจอกัน และมีเจอกันในออฟไลน์บ้าง แต่ทุกวันนี้โลกมันไม่ใช่เจอกันแค่ช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์อย่างเดียว อย่างสมัยก่อนเราเจอกันทางออฟไลน์อย่างเดียว ในงานสถาปนิก  Builk เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยคนในวงการก่อสร้างตั้งแต่ผู้รับเหมา ร้านค้าวัสดุก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราเจอกันทางออนไลน์อยู่แล้ว แต่ถ้าเราจะเจอกันทางออฟไลน์เพื่อมาอัพเดทและ Networking ซึ่งมาเจอทางออนไลน์มันจะดีกว่าออนไลน์แน่ๆ จริงๆ 

จากแรงบรรดาลใจสู่งานเพื่อเหล่าคน “รับเหมา ที่ รักเหมา”

คุณไผทได้เล่าถึงการเป็นคนที่อยู่ใน 2 Industry คือ เทคโนโลยีและก่อสร้าง จึงได้นำทั้งความสนใจและประสบการณ์ที่มีทั้งสองด้านมารวมกันกลายเป็นงาน Conference ที่จัดปีนี้เป็นปีที่ 4 ซึ่งเมื่อก่อนนี้ได้จัดที่สยามพิฆเนศโดยมีรูปเเบบของงานเป็นการเสวนา ซึ่งในปัจจุบันงานที่มีรูปแบบการบรรยายหรือเสวนามีเยอะแล้วจึงทำให้คุณผไผทเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเเบบเดิมมาเป็นรูปแบบใหม่ที่เเตกต่างอย่างงาน รักเหมา Fest 2019 ที่ไม่ใช่เเค่งานเสาวนาความรู้ของคนที่รักในด้านอสังหาริมทรัพย์แต่เป็นงานที่รวมเหล่าคนรักเหมาให้มาพบกันเเละได้ความรู้รวมถึงเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจได้ 

“เราก็คิดว่า Talk มันมีเยอะแล้ว ทำอย่างไรให้งานที่เราอยากจัดไม่เหมือนกับ Talk ทั่วๆ ไป เวลาไปงาน Construction Expo ต่างประเทศ สิ่งที่มีอย่างหนึ่งคือเบียร์ เจอแต่คนลุยๆ เราก็เอามา mix กันแต่ทำให้มันเป็นตัวเรา ด้วยความที่ Builk มีคอนเซปท์แบบไม่อยากแก่ เราอยาก keep energy ความสดความกล้า หรือมีความกบฏนิดๆ ในอุตสาหกรรม เราก็อยากให้เป็นแบบนี้ในงานเรา ฉะนั้นเราจึงจัดงานที่ไม่ได้ใช้ format งานหรือบูทที่เป็นมาตรฐานเหมือนงานทั่วไป รวมถึงปีนี้เราท้าทายตัวเองด้วยการเชิญ Speaker ที่ไกลตัวเรามากที่สุด เมื่อก่อนเราทำได้แค่เชิญแค่คนที่เรารู้จักในประเทศแต่ปีนี้เราเล่นใหญ่ โดยการเชิญ Speaker มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ก็ได้ partner หลายๆ คนมาช่วยกันให้ Developer/ Designer ช่วยหาคนที่เจ๋งๆ และคิดว่าจะเป็นอนาคตของวงการ construction หรือวงการ Tech ของไทยมาเล่าให้ฟัง”

ใครควรจะมางานนี้

คนที่เกี่ยวข้องกับงานนี้จริงๆ มีอยู่หลายวิชาชีพ แต่เราอยากจะเชิดชูวิชาชีพที่เป็น Builder คือคนสร้าง เรามีคนออกแบบ วิศวกร ที่ออกแบบโครงสร้างและระบบต่างๆ แล้ว หลายครั้งเรามักจะมองว่าผู้รับเหมาเป็นตัวปัญหา เราเก็บเงินมาทั้งชีวิตเพื่อสร้างบ้านสร้างเสร็จแล้วบ้านไม่เรียบร้อย งบประมาณบานปลาย งานล่าช้า ส่วนใหญ่จะมีเรื่องไม่ดีมากกว่าเรื่องดี เราคิดว่าน่าจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีหรือ motivate คนในวงการนี้ให้รู้สึกว่ามาทำภาพลักษณ์ที่ดีร่วมกันและคนที่อยากให้เข้ามาจะเป็น B2B เป็นหลัก อย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทสถาปนิก วิศวกร มาได้แน่นอน แต่คนอื่นๆ ถ้าสนใจและอยากเข้ามาดู เราจัดโซนไว้ให้เจ้าของบ้าน SMEs เจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่วางแผนจะสร้างโรงงาน โกดัง อยากจะ renovate ในส่วนของ store หรือ warehouse ก็สามารถมาได้ 

ในยุค Technology Disruption งานนี้ตอบโจทย์การปรับตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างไร

เปลี่ยนผู้รับเหมาบ้านๆ ด้วยการเปิดโลกจากงาน รักเหมา Fest 2019 ให้กลายเป็นผู้นำความคิดด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งธีมในปีนี้เราจะเห็นว่ามันแตกต่างจากงานทั่วไปเพราะเป็นการรวมกันของ Tech Construction  ด้วยเเนวคิดของผู้จัดที่มองว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะท้าทายทั้งเศรษฐกิจด้วยความไม่เเน่นอน คุณไผทได้พูดเปรียบให้เห็นภาพชัดขึ้นด้วยการยกกรณีการก่อสร้างรถไฟฟ้าไว้ว่า “ เรื่องที่คิดว่าจะเกิดอย่างรถไฟความเร็วสูงก็ยังไม่แน่นอน ถึงแม้น่าจะเข้ามาเปลี่ยนประเทศได้เยอะ” นอกจากธีมงานที่โดดเด่นแล้วเเต่งานนี้มีไฮไลน์ด้านเทคโนโลยีอีกมากที่อัดเเน่นด้วยเรื่องเจ๋งๆ โดยมี 

  • Big data ที่ screen ผู้รับเหมาดีๆ ไว้ให้ผู้ที่กำลังมองหากลุ่มธุรกิจรับเหมาดีๆสามารถมา matching หาคนไปประมูลงานได้และงานเนี้เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาดูได้ 

  • มีโซนที่เป็น Exclusive zone เป็น Speaker ที่ออกแบบสนามบินนาริตะ รวมถึงคนที่ทำ G-Vel ที่สิงคโปร์ และคนที่ทำโตเกียวโดม Developer

  • Guest Speaker ระดับโลก งานนี้รวบรวมSpeaker ด้านงานออกแบบสถาปัตยกรรมระดับโลกมาไว้เยอะที่สุด

  • เพิ่มทางเลือกในการสรรหา Subcontractor ที่มีคุณภาพ ร่วม Networkingกับเพื่อนในวงการก่อสร้าง

  • พบกับเทรนสินค้าใหม่ๆ เพื่อผู้นำเข้าสินค้า ผู้จำหน่ายสินค้าและร้านวัสดุก่อสร้างได้ต่อยอดไอเดีย  และนวัตกรรมสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำทั่วประเทศ 

ทำไมต้อง “รักเหมา” ?   ชื่อนี้มีความหมายถ่ายทอดความมุ่งมั่นของคนสร้างงาน

คุณไผท ได้บอกไว้ว่า “รักเหมาเฟส” ชื่อนี้บิดมาจาก รับเหมา ที่เราคิดว่ามันเป็นคำที่ค่อนข้างไปในทางลบ มีอะไรก็เหมาหมด แต่รักเหมา เราอยากจะบอกว่าวงการนี้ก็มีเรื่องดีๆ น่ารักอยู่เหมือนกัน ด้วยเเนวคิดอยากจะเชิดชูวิชาชีพที่เป็น Builder คือคนสร้างซึ่งงานนี้ด้วยธีมงานเเละความท้าทายที่มากกว่าปีก่อนหน้าทำให้ปีนี้เป็นความตั้งใจของทุกคนที่อยากถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ของกลุ่มผู้รักเหมา งานนี้จึงจัดให้ตอบโจทย์ผู้คนที่หลากหลาย รวมถึงสถานที่ในการจัดงานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสะดวกในการเดินทางโดย งานจัดที่ Airport link มักกะสัน ตั้งเเต่วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2562 มีเวทีที่เป็น free event และโซนนิทรรศการไม่เสียค่าใช้จ่าย และ exclusive zone เป็น speaker จากต่างประเทศ มีหูฟังแปลภาษาให้ และ speaker ไทย มีรองอธิบดีกรมราง พูดเกี่ยวกับทิศทางการขนส่งในไทย มีบัตรเข้า 599 บาท เข้าฟังวันไหนก็ได้ ถ้าใครอยากอัพเดทความรู้ ก็น่าจะได้ความรู้อย่างเต็มที่ ในราคาที่จับต้องได้ จะได้เห็น case ต่างๆ ของ digital transformation ว่ามันเป็นอย่างไร 

หากสนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://rakmao2019.com/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...