2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้ | Techsauce

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

การตลาดแบบเก่าไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ ชอบ ‘คอนเทนต์เข้าใจง่าย’ มากกว่า ‘โฆษณาและโปรโมชั่นลดราคา’ ถ้าจะชูแต่ภาพลักษณ์แบรนด์คงขายของไม่ได้ในยุคนี้ 

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ กลยุทธ์ 2C (Content& Convenience) ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล

เทรนด์ใหม่ Shoppertainment ธุรกิจไทยต้องจับตา

ตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียแปซิฟิกโตแรงไม่หยุดโดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งวิจัยล่าสุดจาก TikTok ที่ทำร่วมกับ Accenture Song ชี้ชัดว่า Shoppertainment คือ เทรนด์ใหม่ที่ธุรกิจไทยต้องจับตาในปี 2024 

Shoppertainment คือการทำการตลาดที่ดึงดูดผู้บริโภคด้วย คอนเทนต์ ความบันเทิงหรือการให้ความรู้คำแนะนำเข้ากับการขายสินค้า ซึ่งปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างมากในผู้บริโภคฝั่งเอเชียแปซิฟิก และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย คาดว่าอาจสร้างรายได้จากเทรนด์นี้ถึง 12.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.4 แสนล้าน) ภายในปี 2025 โดยหัวใจหลักของเทรนด์นี้ คือ กลยุทธ์ 2C ที่หมายถึง การมีคอนเทนต์ที่ปัง และยังสั่งซื้อง่ายด้วย 

กลยุทธ์ 2C : คอนเทนต์ปัง สั่งซื้อง่าย โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย

กลยุทธ์ 2C คือ การสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้น่าสนใจ ไม่ขายตรง และคอนเทนต์เหล่านั้นจำเป็นต้องแทรกช่องทางการสั่งซื้อสินค้าที่กดซื้อง่าย กดจ่ายสะดวกเอาไว้ด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าต้องสามารถ ‘ดู & ช้อป จบในที่เดียว’  โดยแต่ละ C สำคัญหรือมีรายละเอียดยังไงบ้าง 

C1: Content ต้องปัง

ผลศึกษาจาก TikTok พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 88% ตัดสินใจซื้อสินค้าจากคอนเทนต์ที่ไม่ส่งเสริมการขาย โดยคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้บริโภคชาวไทยได้ดีที่สุด คือ คอนเทนต์ที่เป็นการรีวิวแบบจริงใจ ไม่ขายตรง รูปแบบของ Content ที่วิจัยพบว่าสามารถกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภคชาวไทยได้ มีดังนี้

  • สื่อสารอย่างจริงใจ: สื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์สามารถช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ๆ ซึ่งควรนำเสนอในเชิงที่สมจริงและน่าเชื่อถือ อาจผ่านการแชร์ประสบการณ์จากลูกค้าจริงหรือผู้เชี่ยวชาญที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์
  • เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์: คอนเทนต์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ตรงกับไลฟ์สไตล์และตัวตนของพวกเขา โดยการเชื่อมโยงการใช้งานผลิตภัณฑ์กับเหตุการณ์ใกล้ตัว ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับพวกเขาในด้านใดบ้าง
  • สื่อสารผ่านตัวอย่างที่เข้าถึงง่าย: การแสดงผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์จริง เช่น จำลองวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้คนเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับพวกเขาอย่างไร

การนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบนี้ตอบโจทย์คนไทยส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยตัดสินใจซื้อจากความเชื่อและสัญชาตญาณ เมื่อรู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะซื้อโดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งความจริงใจและไม่ประดิษฐ์ใน Contnet แนวนี้ คือ กุญแจชิ้นสำคัญที่ธุรกิจไทยสามารถใช้ดึงดูดลูกค้าได้

C2: Convenience สั่งซื้อง่าย

จากผลสำรวจของ TikTok ชี้ว่า ผู้บริโภคถึง 81% คาดหวังให้แพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยคอนเทนต์ (Content-Driven Platforms) เช่น TikTok, Facebook, IG รวบรวมคอนเทนต์ของแบรนด์หลัก ข้อมูลผลิตภัณฑ์จากครีเอเตอร์ รวมถึงช่องทางการสั่งซื้อและชำระเงินที่สะดวกปลอดภัยไว้ภายในแอปพลิเคชันเดียวกัน

เนื่องจากในการซื้อของออนไลน์ปี 2024 เกิดสิ่งที่เรียกว่า The new regular หรือการที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการช้อปที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่

  • แหล่งหาข้อมูลเปลี่ยนไป: แต่ก่อนเมื่ออยากซื้อของสักชิ้น ผู้บริโภคส่วนมากมักจะหาข้อมูลจากหน้า Google Search แต่ในปัจจุบันผู้คนถึง 71% ใช้แพลตฟอร์ม เช่น TikTok, Instagram และ Facebook ในการค้นหา
  • คอนเทนต์ขายของต้องสนุก: การขายของเมื่อก่อนลูกค้าส่วนมากอาจสนใจแค่สรรพคุณ ราคา และความน่าเชื่อถือ ซึ่งตรงข้ามกับปัจจุบันที่ผู้คนกว่า 69% ชื่นชอบคอนเทนต์ขายของที่สนุก ตลก และจริงใจ

การเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ส่วนนี้ทำให้แพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยคอนเทนต์กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะนอกจากผู้คนจะค้นหาข้อมูลสินค้าจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น คอนเทนต์บนแพลตฟอร์มยังสามารถทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เมื่อความสนใจ การกระตุ้น และความต้องการซื้อเกิดขึ้นพร้อมกันในที่เดียว หน้าที่สำคัญของธุรกิจ คือ การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์คอนเทนต์และส่งเสริมอีคอมเมิร์ซได้ โดยจัดหาช่องทางที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและชำระได้ง่ายและปลอดภัยที่สุด 

อ้างอิง: ข้อมูลจากวิจัยที่ TikTok ทำร่วมกับ Accenture Song เรื่อง Shoppertainment 2024: The Future of Consumer & Commerce

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...

Responsive image

รัฐบาลเวียดนามขยับ SME ได้เวลาทวงคืนตลาดแฟชั่นจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Shein และ TEMU

รัฐบาลเวียดนามเตรียม "บล็อก" แอปพลิเคชันและโดเมนช้อปปิ้งออนไลน์ของจีนอย่าง Shein และ Temu ถ้าไม่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทวงคืน “อุ...

Responsive image

AI ไม่ได้แทนที่คุณ แต่จะช่วยให้คุณ 'ดีกว่าเดิม'

สำรวจแนวคิด "จิตวิทยาไซบอร์ก" ในการออกแบบระบบมนุษย์-AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมบทบาทของ AI ในการพัฒนาไทยให้เป็น “AI Land” จากมุมมอง ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร ในงาน THE STANDARD ...