คุยกับ Peter Rankl จาก Continental Automotive ชวนดูภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน | Techsauce

คุยกับ Peter Rankl จาก Continental Automotive ชวนดูภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน

อุตสาหกรรม Automotive เรียกได้ว่ากำลังเบ่งบานอย่างมากในทั่วโลก แต่ด้วยวิกฤต Covid-19 ที่เข้ามาทำให้ตลาดยานยนต์ก็รับผลกระทบไปไม่น้อยเช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็มีการคาดการณ์ว่าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ 

นับตั้งแต่การพัฒนาของเทคโนโลยีก้าวล้ำไปอีกขั้น เราได้เห็นหลายอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปอย่างที่เราอาจนึกไม่ถึงหากย้อนกลับไปสักสิบปีก่อน และอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ชวนให้ผู้คนบนโลกตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอก็คืออุตสาหกรรมยานยนต์ที่พลิกโฉมโลกใบนี้ไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามามีบทบาทในเรื่องของพลังงานทางเลือก หรือการพัฒนาด้านความปลอดภัยในการเดินทาง และที่น่าจับตามองสุดๆ ก็คือระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่เริ่มมีการพัฒนาให้เห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมา วันนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกในหัวข้อนี้กันมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียของเรากับผู้เชี่ยวชาญจาก Continental Automotive

ถึงแม้หลายคนพอได้ยินชื่อ Continental ก็มักจะคุ้นหูว่าเป็นแบรนด์ของยางรถยนต์แต่ในความจริงแล้ว Continental เรียกได้ว่ามีผลิตภัณฑ์บริการที่ครอบคลุมและหลากหลายอย่างมาก เป็นทั้งผู้อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังในวงการยานยนต์ซึ่งก่อตั้งมาแล้วอย่างยาวนานและจะมีอายุครบ 150 ปีในปีหน้านี้ เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ พัฒนาต่อเนื่องในระบบเบรคและระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ขยายสู่โมเดลธุรกิจรูปแบบอื่นๆ ทั้งด้านระบบเชื่อมต่อทั้งภายนอกและในรถยนต์ การทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า พัฒนาชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถ และอีกมากมาย ครอบคลุมในรถหลายประเภท ทำให้ในปัจจุบันมีบริการด้านเทคโลยีใหม่ๆ ทั้งหมดในอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยระยะเวลายาวนานในอุตสาหกรรมนี้แน่นอนว่า Continental Automotive คือหนึ่งในองค์กรที่ผ่านมาหลายยุคสมัยและปรับตัวมาโดยตลอด เราจึงขอชวนผู้อ่านมารู้จักอุตสาหกรรมยานยนต์กับ คุณ Peter Rankl ประธานบริหารภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทำงานในวงการนี้มานานกว่าหลายสิบปีเลยทีเดียว และยังทำหน้าที่มาแล้วในหลายประเทศตั้งแต่เยอรมัน สหรัฐอเมริกา จีน และปัจจุบันในประเทศไทย โดยคุณ Peter Rankl มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้าน Automotive เป็นพิเศษ 

ภาพรวมของ Automotive ในเอเชีย 

ถึงแม้ในปัจจุบันนี้จะมีผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นจำนวนมากกระจายไปทั่วเอเชียและแทบจะครอบครองพื้นที่และมีบทบาทอย่างมากในตลาดเอเชีย แต่อีกด้านหนึ่งนั้นจีนกลับเป็นผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังมีความสามารถสูงสุดในการไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากมีกฏหมายมารองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศรวมถึงผู้คนต่างยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเป็นจำนวนมากส่งผลให้ระบบการทำงานของรถยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเทียบกับในยุโรปที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความเป็นห่วงในข้อมูลส่วนตัวของตน และจีนเองก็ได้นำเราไปไกลมาก จนต้องมารอดูกันว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะสามารถก้าวตามจีนได้หรือไม่

ในปัจจุบัน Continental Automotive นอกจากร่วมเป็นผู้ผลิตให้กับรถยนต์เเบรนด์ยุโรปแล้ว ก็ได้ร่วมเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นจำนวนมาก และส่วนใหญ่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เข้ามาทำการผลิตอยู่ในไทยและอาเซียน ซึ่งเราได้เห็นการเติบโตอย่างมากทั้งในอินโดนีเซียและจีน และตอนนี้ทาง Continental Automotive ก็ได้ร่วมทำงานกับบริษัทเหล่านี้เพื่อผลักดันเทคโนโลยีเข้าไปในรถยนต์

3 เทรนด์สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยที่น่าจับตามองในอีก 5 ปีข้างหน้า

  • Electrification เทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าถือว่ามาแรงอย่างมาก เริ่มจาก Tesla ผู้เข้ามาปฏิวัติวงการยานยนต์และผลักดันให้หลายผู้ผลิตต้องปรับตัวตาม ทำให้เราจะได้เห็นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ 

  • Autonomous driving รถยนต์ไร้คนขับ ถึงแม้อาจจะยังไม่มาถึงในเร็วๆ นี้เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น กฏหมายรองรับต่างๆ ในด้านความปลอดภัยนั้นมีการทดลองที่สมบูรณ์แล้ว เเต่ในประเทศไทยนั้นยังไม่สามารระบบอัตโนมัติมาใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบได้เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่รองรับ และมีมอเตอร์ไซค์หรือรถเล็กประเภทอื่นๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการขับเคลื่อนยานยนต์อัตโนมัติได้ แต่เราจะได้เห็นบางฟีเจอร์บางส่วนที่อาจจะถูกปล่อยออกมาก่อนอย่าง การเข้าจอดเองหรือระบบผู้ช่วยคนขับ 

  • Connectivities เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยเชื่อมต่อยานยนต์กับสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับรถ การนำเอาข้อมูลหลายอย่างในรถมาใช้งานเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ หรือการที่รถกับรถสามารถสื่อสารถึงกัน และในประเทศที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนาแล้ว สามารถสื่อสารระหว่างรถและระบบโครงสร้างพื้นฐานได้อีกด้วย ซึ่งการเชื่อมต่อที่กล่าวมานี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทั้งสองฟังก์ชันก่อนหน้าอีกด้วย

การพัฒนาและเตรียมพร้อมเพื่อตอบรับกับเทรนด์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นถึงสามเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น Continental Automotive ได้มุ่งเน้นไปที่ยานยนต์ไฟฟ้าและการพัฒนาระบบต่างๆของยานยนต์ให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ผลักดันให้ระบบสามารถทำงานเองอย่างอัตโนมัติมากขึ้น เพิ่มความปลอดภัย และพัฒนาการเชื่อมต่อต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งทาง Continental ได้แยกออกมาเป็นสองเรื่องคือการขับขี่อัตโนมัติและความปลอดภัย (Autonomous Driving and Safety) และการส่งผ่านของข้อมูลและระบบเชื่อมต่อ (Vehicle Networking and Information) การที่จะพัฒนาทั้งสามด้านที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราต้องพร้อมเปิดรับความร่วมมือ เนื่องจากเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากขึ้น บางเรื่องเราไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง เราได้ร่วมมือกับบริษัทเครือข่ายมือถือรายใหญ่ในจีน ยุโรป และอเมริกา เพื่อเชื่อมต่อ 4G และ 5G กับหน่วยงานของเรา เพราะการเตรียมพร้อมทั้งด้านซอฟต์แวร์และความปลอดภัย

โดยในด้านความปลอดภัยของข้อมูลเราได้ร่วมมือกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ยกตัวอย่างคือ รถยนต์ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลต้องไม่มีคนสามารถเจาะเข้าถึงข้อมูลรถได้ 

เรามองหาความร่วมมือไปทั่วโลก อาจเป็นบริษัทเล็กๆ หรือ Startup ที่มีไอเดียที่ดีและวิธีการทำงานที่มีความใกล้เคียงกับเรา ซึ่งใน Ecosystem ที่ Continental Automotive ได้ไปเยี่ยมชมทั้งในอเมริกา ยุโรป อิสราเอล สิงคโปร์จนไปถึงจีน มีหลากหลายบริษัทที่น่าร่วมงานทั้งนั้น แต่ท้ายสุดแล้วเราค้นพบว่าแต่ละ Startup กลับตอบโจทย์เฉพาะพื้นที่ของตนเอง อย่างเช่น Startup หนึ่งที่เราเจอใน Shenzen ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ Startup ในจีน พวกเขามีวิธีแก้ไขปัญหาที่เยี่ยมมากสำหรับผู้ใช้งานในจีน และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในจีนที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งผลลัพธ์และวิธีการบางอย่างเหล่านี้อาจไม่สามารถนำมาปรับใช้เป็นมาตรฐานได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ยังมุ่งมั่นที่จะมองหาข้อมูลที่น่าสนใจอยู่เสมอ 

การผลักดันการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น

คุณ Peter Rankl มีความเห็นว่าการที่จะผลักดันให้ผู้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นจำเป็นจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้กับคน ซึ่งสามารถสร้างได้โดยการที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าหรือการชักจูงในรูปแบบต่างๆ อย่างในเยอรมัน รัฐบาลมีนโยบายช่วยจ่ายเงินให้กว่า 7,000 ยูโรเมื่อคุณซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และการมีโครงสร้างที่พร้อมในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า เช่น มีจุดชาร์จไฟที่รองรับทั่วเมือง นอกจากนี้สิ่งที่ได้เห็นในเมืองใหญ่ๆ ของจีน ที่กรุงเทพฯ สามารถนำมาปรับใช้ได้คือ การมีถนนสามเลนสำหรับรถโดยสารสาธารณะ รถยนต์ไฟฟ้า และรถทั่วไป ซึ่งนั่นสร้างความสะดวกให้กับผู้ขับขี่และช่วยจูงใจให้คนอยากใช้งาน หรือการช่วยให้คนที่ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ไม่ต้องชำระค่าทางด่วน 

อะไรคือปัจจัยสำคัญในการพาองค์กรให้อยู่รอดและปรับตัวให้ทันกับยุค Disruption นี้ 

ในอดีตอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างปรับเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เนื่องจากรถแต่ละโมเดลจะมีวงจรการผลิตอยู่ที่ 4-5 ปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลักๆ เมื่อรถออกรุ่นใหม่มักจะเน้นไปที่รูปลักษณ์ภายนอกของรถ ส่วนฟีเจอร์และฟังก์ชัน หรือระบบต่างๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงด้านระบบต่างๆ เข้ามามีความสำคัญมากขึ้น และพัฒนาการเชื่อมต่อให้เป็นดิจิทัลอย่างชัดเจน ทุกอย่างผันเข้าสู่ความเป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นและเสริมซอฟต์แวร์เข้าไปอีกในยานยนต์ มันเหมือนกันกับสมาร์ทโฟนที่คุณคงจะไม่ซื้อเครื่องใหม่ทุกปีแต่คุณจะคอยอัปเดต ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อการใช้งานที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งมันพัฒนาขึ้นใหม่ตลอด และสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นและยืดหยุ่นกว่าเดิม รวดเร็วกว่าเดิม นี่ทำให้คุณต้องเร็วที่สุดเพื่อแข่งขันในธุรกิจ อย่างที่ผู้บริหารของเราเคยกล่าวว่า เรามีสองทางในตอนนี้คือเราจะมีคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องไปพัฒนาทักษะด้านซอฟต์แวร์ หรือคนในสายงานซอฟต์แวร์ที่อยากผันตัวเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Microsoft และ Google นี่คือการแข่งขันที่สำคัญว่าใครคือคนที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ยานยนต์ได้ดีที่สุด เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ใช้ในยานยนต์นั้นมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนกว่าปกติ ลองคิดดูว่ามันล้มเหลวไม่ได้เพราะมันคือชีวิตของผู้คน คือความปลอดภัย 

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากอดีตถึงปัจจุบัน

ผมเริ่มอยู่ที่นี่ในไทยได้สองปีครึ่ง และก่อนหน้าห้าปีในจีน รวมๆ แล้วก็เจ็ดถึงแปดปี ทำให้ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมจากที่แต่ก่อนเป็นการพัฒนาทีละขั้น ทีละก้าว แต่ทุกวันนี้ลูกค้าคาดหวังมากกว่านั้น อย่างเช่นพวกเขาอยากได้อะไรใหม่ๆ ในทุกๆ 5 ปี ทำให้ Continental Automotive ต้องคอยหาช่องทางในการอัปเดต ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าในระหว่างที่เราพัฒนาอยู่ด้วย ดังนั้นหน้าที่ของเราคือการพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ ให้กับผู้บริโภค

วิกฤต Covid-19 กับอุตสาหกรรมยานยนต์

วิกฤตครั้งนี้ถือว่ายิ่งใหญ่พอสมควรเนื่องจากเราแทบไม่เคยประสบปัญหาเหล่านี้มานานแล้วตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หรือแม้กระทั่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของเอเชียที่เคยผ่านมาก็ยังมียอดการขายรถยนต์สูงถึง 70-90 ล้านคัน แต่หลังจากพบกับสถานการณ์ Covid-19 ยอดการขายก็ตกลงไปถึงครึ่ง ซึ่งอาจใช้เวลากว่า 2-4 ปีกว่าตลาดจะกลับมาคงที่อีกครั้ง และเป็นไปได้ว่าจีนจะเป็นเจ้าแรกๆ ที่สามารถกลับมายืนหยัดอย่างมั่นคงก่อนใคร อย่างที่เราเห็นกันว่ายุโรปกำลังจะมีล๊อคดาวน์อีกรอบซึ่งอาจส่งผลต่อเอเชียด้วยเช่นกัน 

หากมองอีกมุมหนึ่งการเกิดขึ้นของวิกฤตนี้ก็เข้ามาขับเคลื่อนระบบการทำงานของคนในองค์กรอย่างการทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ ถ้ามองย้อนกลับไปเราอาจจะมองว่านี่เป็นกระบวนการที่ช้าแต่ปัจจุบันนี้เราไม่ได้มีทางเลือกอื่นแล้ว ทำให้ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ ดังนั้นบริษัทที่สามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้และปรับกระบวนการทำงานได้ก็จะกลายเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมต่อวิกฤตอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

คุณ Peter ยังเสริมอีกว่า ภายในปี 2030 น่าจะมีสิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็นกันมาก่อนเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งอาจจะมีมากกว่าแค่เทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้า และแน่นอนว่าซอฟต์แวร์จะถูกนำมาใช้ในรถ ซึ่งอาจจะมีการใช้จ่ายในด้านการซื้อซอฟต์แวร์ของรถยนต์เพิ่มขึ้นมา เรากำลังขับเคลื่อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้ารถยนต์ธรรมดามาสู่อะไรที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน ดังนั้นการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าก็จะปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน อย่างในเรื่องความปลอดภัยในรถยนต์ไฟฟ้า Continental Automotive ก็ได้ทำการพัฒนามาตลอดทำให้เราค่อนข้างได้เปรียบกว่าแบรนด์อื่นๆ โดยเราได้ดึงซอฟต์แวร์จากบริษัทต่างๆ ถึง 18 ซอฟต์แวร์มาพัฒนา ตั้งแต่การสื่อสาร จนไปถึงความบันเทิง และเรามีทีมงานกว่า 400 คนที่มาร่วมกันทำงานในโครงการนี้

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...