HUAWEI CLOUD เปิดตัว AI วิเคราะห์ COVID-19 ทราบผลแบบ CT ภายในไม่กี่วินาที | Techsauce

HUAWEI CLOUD เปิดตัว AI วิเคราะห์ COVID-19 ทราบผลแบบ CT ภายในไม่กี่วินาที

ในการรับมือกับการระบาดของโรค “COVID-19" สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (National Health Commission – NHC) ระบุในรายงานอย่างเป็นทางการของสำนักงาน เกี่ยวกับวิธีวินิจฉัยและการรักษาโรค ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมาว่าการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เป็นหนึ่งในวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรค COVID-19 ที่มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่ช่วยตัดสินในการวินิจฉัยและรักษาโรค COVID-19

การตรวจด้วย CT สามารถวินิจฉัยและประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากรอยโรคในปอดมีจำนวนมากและและสามารถเกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จึงต้องตรวจซ้ำและอ่านภาพซ้ำหลายครั้งภายในเวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มงานเป็นอย่างมากให้กับรังสีแพทย์ สิ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือจำนวนรังสีแพทย์ที่สามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค COVID-19 ได้อย่างแม่นยำนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพของการวินิจฉัยจึงไม่สามารถยกระดับไปได้มากเท่าใดนัก

เมื่อเร็วๆ นี้ HUAWEI CLOUD จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Huazhong University of Science & Technology และบริษัท Lanwon Technology พัฒนาและเปิดตัวบริการผู้ช่วย AI วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณสำหรับโรค COVID-19 ด้วยเทคโนโลยี AI ชั้นนำของ HUAWEI CLOUD อย่างคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) และ การวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์ บริการดังกล่าวจะสามารถรายงานผลการตรวจ (CT quantification) ให้แก่รังสีแพทย์และอายุรแพทย์ได้โดยอัตโนมัติ รวดเร็ว และถูกต้อง ช่วยแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนรังสีแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรค COVID-19 อย่างแม่นยำ รวมทั้งช่วยลดความกดดันในงานด้านการกักตัวผู้ป่วย และช่วยลดภาระงานของแพทย์ได้เป็นอย่างมาก บริการดังกล่าวยังใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านการคำนวณอันทรงพลังของชิป AI ในซีรีส์ Ascend ของหัวเว่ยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและลดขั้นตอน (quantization) ของเคสหนึ่งภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ระบบการใช้ "AI การวินิจฉัยของแพทย์" รวดเร็วกว่าการวิเคราะห์ภาพเชิงปริมาณด้วยมนุษย์เพียงอย่างเดียวหลายสิบเท่า ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคขึ้นอย่างมาก

HUAWEI CLOUD ใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เพื่อแยกแยะระหว่างจุดขาวพร่าในปอด (ground glass opacities - GGOs) จำนวนมาก กับการรวมตัวกันของเนื้อปอด (consolidation) แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณจากผลการตรวจ CT ปอดผู้ป่วย กระบวนการดังกล่าวเป็นการรวมข้อมูลทางอายุรกรรมและผลแล็บเพื่อช่วยให้แพทย์ระบุได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นว่าโรค COVID-19 อยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะลุกลาม หรือระยะรุนแรง ทั้งยังช่วยคัดกรองและป้องกันควบคุมโรคได้ในเบื้องต้น สำหรับเคสผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วในโรงพยาบาล บริการผู้ช่วย AI จะสามารถ ขึ้นทะเบียนและวิเคราะห์เชิงปริมาณต่อข้อมูลประมวลผล 4 มิติ (4D dynamic data) ที่ได้จากการตรวจสอบซ้ำจำนวนหลายครั้งได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ช่วยให้แพทย์ประเมินอาการของผู้ป่วยและผลกระทบจากการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการวิเคราะห์เคสผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 และเคสที่ไม่ติดเชื้อจำนวนหลายร้อยเคส บริการตรวจหาเชื้อเชิงปริมาณด้วยผู้ช่วย AI ของ HUAWEI CLOUD ได้บรรลุค่าสัมประสิทธิ์ความละม้ายไดซ์ (Dice Similarity Coefficient) ในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม (ซึ่ง DICE คือการซ้อนทับระหว่างรอยโรคที่คาดการณ์ว่าจะเกิดกับรอยโรคที่เกิดขึ้นจริง) รวมทั้งบรรลุ Absolute Volume Difference (AVD) หรือความต่างเชิงปริมาณระหว่างรอยโรคที่คาดการณ์ว่าจะเกิดกับรอยโรคที่เกิดขึ้นจริง ในการแยกแยะบริเวณที่เกิดรอยโรค ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับการวาดด้วยมืออย่างแม่นยำโดยแพทย์ นอกจากนี้ ด้วยชิปซีรีส์ Ascend AI ของหัวเว่ย บริการดังกล่าวสามารถบอกผล CT Quantification ได้ภายในไม่กี่วินาที เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่แพทย์ต้องวาดบริเวณที่สนใจ (ROI) เองเพื่อวิเคราะห์ผลเชิงปริมาณ บริการนี้จึงสามารถยกระดับประสิทธิภาพการตรวจหาเชื้อโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...