COVID-19 Vaccine Tracker รวมข้อมูลวัคซีนทั่วโลกที่ประชาชนควรรู้ | Techsauce

COVID-19 Vaccine Tracker รวมข้อมูลวัคซีนทั่วโลกที่ประชาชนควรรู้

COVID-19 Vaccine Tracker นี้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจ และเก็บข้อมูลของ Bloomberg ซึ่งทีมงาน Techsauce อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2563 ปรากฎว่าวัคซีนป้องกัน COVID-19 ฉีดไปแล้วกว่า 42.2 ล้านโดส ใน 51 ประเทศทั่วโลก อัตราการฉีดล่าสุด 2.43 ล้านโดสต่อวัน และมีการจองไปแล้ว 8.33 พันล้านโดส โดยในสหรัฐอเมริกาได้มีการฉีดวัคซีนแล้ว 14.3 ล้านโดส และมีคนอเมริกัน 1.8 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้ง

วัคซีนป้องกัน COVID-19  จาก 9 บริษัททั่วโลก คุณสมบัติต่างกันอย่างไร

COVID-19 Vaccine Tracker

Pfizer/ BioNtech (สหรัฐอเมริกา)

Pfizer ถือเป็นบริษัทแรกที่ออกมายืนยันว่าวัคซีนตัวนี้สามารถใช้การได้ใน Phase 3 ของการทดลอง โดยวัคซีนตัวนี้ถูกทำการทดลองมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 และได้มีการอนุมัติให้ฉีดแล้วในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา และใน EU เมื่อธนวาคมที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้วัคซีนของ Pfizer นำออกมาใช้งานจริงแล้ว และมีการวางแผนที่จะผลิตวัคซีน 1.3 พันล้านโดสในปีนี้

  • ปริมาณการทดลอง: 44,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: -70 องศาเซลเซียส อยู่ได้นาน 15 วัน และสามารถอยู่ในความเย็นของตู้เย็นธรรมดาได้ 5 วัน

  • ความมีประสิทธิภาพ: 95%

Moderna (สหรัฐอเมริกา)

ทั้ง Moderna และ Pfizer ได้มีการใช้เทคโนโลยี MRNA ในการผลิตวัคซีน ทาง Moderna ได้เริ่มการทดลองเมื่อกรกฎาคม 2020 และมีการอนุมัติใช้วัคซีนที่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา และใน EU เมื่อธันวาคม 2020 และมกราคมปีนี้ และตามแผนของ Moderna จะต้องผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสให้ทันภายใน Q1

  • ปริมาณการทดลอง: 30,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส อยู่ได้นาน 30 วัน และอยู่ได้นาน 6 เดือนในความเย็น -20 องศาเซลเซียส

  • ความมีประสิทธิภาพ: 95%

AstraZeneca/ Oxford (อังกฤษ-สวีเดน )

สำหรับ AstraZeneca เป็นบริษัทที่มีการวางแผนจะผลิตวัคซีนให้ได้ 3 พันล้านโดส ก่อนที่จะมีการยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีนใน Stage 3 ซึ่งถือเป็นการผลิตที่มากกว่าบริษัทอื่นๆ ถึง 2 เท่า โดยทาง AstraZeneca ได้เริ่มต้นทดลองเมื่อกรกฎาคม 2020 และได้ผลิตออกมาใช้จริงเมื่อปลายธันวาคมปีเดียวกัน โดยจำหน่วยให้กับสหราชอาณาจักร และอินเดียแล้ว

  • ปริมาณการทดลอง: 65,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส

  • ความมีประสิทธิภาพ: 70%

Novavax (สหรัฐอเมริกา)

Novavax เป็นบริษัทด้านไบโอเทคโนโลยีขนาดเล็กที่ยังไม่เคยผลิตสินค้าออกสู่ตลาด แต่ได้รับเงินสนับสนุนจากทางสหรัฐฯ 1.6 พันล้าน และจากทางหน่วยงานอื่นๆ อีก 399 ล้าน เพื่อใช้ผลิตวัคซีน ซึ่งทาง Novavax ในตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการทดลองประสิทธิภาพของวัคซีน

  • ปริมาณการทดลอง: 45,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส

  • ความมีประสิทธิภาพ: - (อยู่ในช่วงการทดลอง)

Johnson & Johnson (สหรัฐอเมริกา)

J & J เป็นบริษัทแรกที่ออกมาบอกว่าสามารถผลิตวัคซีนที่ใช้เพียง 1 โดสต่อคนได้ แต่หลังจากนั้น เมื่อพฤศจิกายน 2020 ได้มีการออกมาแถลงว่าจะมีการทดลองแยกของวัคซีนที่ต้องใช้ 2 โดส ซึ่งตอนนี้ J & J กำลังอยู่ในช่วงของการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน

  • ปริมาณการทดลอง: 70,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 1 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส

  • ความมีประสิทธิภาพ: - (อยู่ในช่วงการทดลอง)

Sinovac Biotech (จีน)

โดยวัคซีนของ Sinovac นี้จะใช้เชื้อไวรัส COVID-19 ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีน โดย Sinovac ได้เริ่มต้นทดลองตั้งแต่กรกฎาคม 2020 และได้มีการนำไปใช้จริงแล้วหลังจากทำการทดลองเพียง 1 เดือนกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในราคา 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (หรือประมาณ 900 บาทต่อโดส)

  • ปริมาณการทดลอง: 26,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส อยู่ได้นานถึง 3 ปี

  • ความมีประสิทธิภาพ: 78%

Gamaleya (รัสเซีย)

บริษัทสัญชาติรัสเซียที่ผลิตวัคซีนอย่าง Sputnik V สามารถผลิตวัคซีนออกมาใช้งานจริงได้แล้ว แต่ยังมีในปริมาณที่จำกัด โดยตอนนี้มีทางอาร์เจนตินานำวัคซีนตัวนี้ไปใช้แล้ว

  • ปริมาณการทดลอง: 26,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส อยู่ได้นาน 6 เดือน

  • ความมีประสิทธิภาพ: 78%

CanSino Biologics (จีน)

วัคซีนของ CanSino ได้รับการอนุมัติใช้จากจีน โดยนำไปใช้ในกองทัพ ซึ่งเป็นการอนุมัติก่อนที่ผลการทดลองจะออกมาว่ามีประสิทธิภาพ และสามารถการใช้งานของวัคซีนตัวนี้ใช้ได้ 1 โดสต่อคน

  • ปริมาณการทดลอง: 40,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 1 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส อยู่ได้นาน 6 เดือน

  • ความมีประสิทธิภาพ: -

Sinopharm (จีน)

Sinopharm ได้ถูกสั่งซื้อกว่าแสนโดสก่อนที่ผลการทดสอบประสิทธิภาพจะชัดเจน 

  • ปริมาณการทดลอง: 50,000 คน

  • ปริมาณวัคซีน: 2 โดส

  • อุณหภูมิการเก็บรักษา: 2-8 องศาเซลเซียส 

  • ความมีประสิทธิภาพ: 50%

หลังจากที่ทราบถึงคุณสมบัติไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า ผู้ผลิตวัคซีนแต่ละรายปัจจุบันได้รับอนุมัติให้มีการใช้จากประเทศใดไปแล้วบ้าง

  • Pfizer/ BioNtech ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ในแคนนาดา สหรัฐอเมริกา  เม็กซิโก คอสตาริก้า เอกวาดอร์ ปานามา ชิลี อาร์เจนตินา เกาะบริเตรใหญ่และสหภาพ EU สวิสเซอร์แลนด์ จอร์แดน คูเวต UAE และสิงคโปร์  ในขณะที่ซาอุดิอาระเบีย และบาเรนห์ ได้มีการรับรองเรียบร้อยแล้ว
  • Moderna ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ในแคนนาดา สหรัฐอเมริกา  สภาพ EU  สวิสเซอร์แลนด์  และอิสราเอล
  • Gamaleya (Sputnik V) ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ในรัสเซีย โบลิเวีย อาร์เจนตินา อาจีเรีย เบลารุส เซอเบีย และปาเลสไตน์
  • AstraZeneca/ Oxford ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ในประเทศเม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ แถบอเมริกากลาง อาร์เจนตินา อินเดีย โมรอคโค และเกาะบริเตนใหญ่ ในหมู่เกาะบริติช รวมถึงประเทศไทยเอง อยู่ระหว่างเตรียมอนุมัติใช้เป็นกรณีฉุกเฉินจากจากอย. เช่นเดียวกัน
  • CanSino Biologics ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเฉพาะในจีน
  • Sinovac Biotech ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในจีน ตุรกี และอินโดนีเซีย
  • Sinopharm ได้รับอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในจีน และ UAE

อัพเดทข้อมูลว่าตอนนี้วัคซีน COVID-19 ฉีดไปเท่าไหร่แล้ว และมีที่ไหนบ้าง

โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ได้รวบรวมข้อมูลปรากฎเป็นตารางดังนี้ 

Vaccine Contracts

หลังจากที่ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว หลายๆ ประเทศก็ต้องการที่จะเข้าถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ทำให้มีการกักเก็บวัคซีนไว้แล้วที่ 8.33 พันล้านโดส ณ ตอนนี้ ซึ่งวัคซีนในปริมาณเท่านี้สามารถฉีดให้กับประชากรได้กว่าครึ่งซีกโลกถ้ามีการแจกจ่ายไปหลายๆ ประเทศอย่างเท่าๆ กัน แต่ก็มีปัญหาตรงที่ว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่าก็จะสามารถซื้อวัคซีนได้ในปริมาณที่เยอะกว่า นอกจากนี้วัคซีนบางตัวจำเป็นที่จะต้องเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ จึงทำให้เกิดความลำบากในการขนส่งไปประเทศที่อยู่ไกลจากฐานการผลิต และยังมีการคาดการณ์ว่าบางประเทศจะได้รับวัคซีนในช่วงปลายปี 2022 หรือหลังจากนั้น

โดยตอนนี้ทางบริษัท AstraZeneca ก็นับว่าเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำด้านการผลิตวัคซีน เพราะมีการสั่งจองและทำสัญญาซื้อวัคซีนล่วงหน้ากว่า 90 สัญญา และจะต้องผลิตวัคซีนออกมาให้กับประชากร 1.48 พันล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนตัวเลขที่มากกว่าบริษัทอื่นๆ ถึง 2 เท่า

แต่ไม่ใช่ว่าวัคซีนทุกตัวจะมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น วัคซีน 51 ล้านโดสที่สั่งจองโดยออกเตรเลียเพื่อไปฉีดให้กับคนในประเทศได้ถูกยกเลิก เพราะผลการทดลองทางการแพทย์ล้มเหลว และหลังจากนั้นไม่นานทาง Sanofi และ GlaxoSmithKline Plc ก็ออกมาประกาศเรื่องความล่าช้าในการทดสอบคุณภาพวัคซีนเช่นกัน

มาตรการสำหรับการเก็บ และหาซื้อวัคซีนก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกาก็จะต้องเป็นฝ่ายหาซื้อวัคซีนมากักเก็บเองทั้งหมด ในบางประเทศจะได้รับวัคซีนจาก Covax ที่เป็นหุ้นส่วนกับทาง WHO ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ก็จะมี Carlos Slim เศรษฐีชาวแม็กซิกันที่ออกมาบอกว่าจะเป็นผู้กวาดซื้อวัคซีนราคาถูกให้กับคนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และอย่างในอินเดีย จะมีการผลิตวัคซีน 2.2 พันล้านโดส และยังวางแผนที่จะส่งวัคซีนไปให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันอีกด้วย 

และในเรื่องของความรวดเร็วในการผลิตวัคซีนนั้น ตอนนี้ยังขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่จะไปช่วยสนุบสนุนในการผลิต จึงทำให้ประเทศที่ร่ำรวยกว่าได้เปรียบ อย่างในอเมริกาที่มีการตั้ง Operation Warp Speed โปรแกรมเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในการพัฒนาและผลิตวัคซีน และอย่างในแคนาดาที่มีประชากรเพียง 38 ล้านคน แต่ทำการสั่งจองวัคซีนในปริมาณที่ใช้ได้ถึง 112 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมวัคซีนที่ทำสัญญาซื้อขายกับทาง Covax อีก แต่ในทางกลับกันทางฝั่งรัสเซีย และจีนที่เป็นประเทศมหาอำนาจเช่นกัน ซึ่ง 2 ประเทศนี้ยังคงเดินหน้าต่อกับการผลิตและพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ โดยรัสเซียก็มีวัคซีน Sputnik V ที่ผลิตโดย Gamaleya และจีนก็มีวัคซีนที่ผลิตโดย Sinopharm ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางรัฐบาลจีนยังไม่มีการออกมาให้ข่าวเรื่องปริมาณการผลิตวัคซีน แต่ก็คาดเดาได้ว่าประเทศจีนจะผลิตออกมาเพียงพอกับจำนวนประชากรทั้งหมด


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...