สัมภาษณ์พิเศษ Creative Ventures เปิดทัศนะการลงทุนใน Deep Tech Startups เชื่อมต่ออเมริกาสู่เอเชีย | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ Creative Ventures เปิดทัศนะการลงทุนใน Deep Tech Startups เชื่อมต่ออเมริกาสู่เอเชีย

ผู้อ่าน Techsauce หลายๆ คนอื่นจะเคยคุ้นๆ ชื่อของคุณแชมป์ ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย ผู้ร่วมก่อตั้ง “Creative Ventures” VC แรกของคนไทยในซิลิคอนวัลเลย์ ที่ Techsauce เคยนั่งพูดคุยถึงแง่มุมการทำงานในบริษัท Startup ที่ซานฟรานซิสโก และการเป็น Angel investor กันมาแล้ว ในวันนี้เราอยากจะนำเสนออีกแง่มุมเกี่ยวกับ Deep Tech Startups ที่คุณแชมป์มองเห็นความสำคัญและเจาะลึกถึงแนวทางการเลือก startup เพื่อการลงทุนของ Creative Ventures

Creative Ventures ทำอะไร ?

เราเป็นบริษัท Venture Capital Funding ที่ลงทุนกับ Deep Tech หรือเทคโนโลยีที่มันล้ำมากๆ อย่างพวก AI หุ่นยนต์ หรือ Bio-tech ที่จะช่วยแก้ปัญหาใน Real Sector หรือ ภาคเศรษฐกิจจริง เช่น ภาคการผลิต ภาคตลาดแรงงาน

ถ้าจะให้เปรียบ Deep Tech ก็เหมือนกับกองไฟในยุคหิน ไฟฟ้าในปี 1800 คอมพิวเตอร์ในปี 1990 และ mobile ในปี 2010 ซึ่งก็คือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่ยุคสมัย และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทุกด้าน ทั้งการบริโภค การเรียน การทำงาน

ช่วยยกตัวอย่าง Deep Tech ให้หน่อยได้ไหม ?

ลองนึกถึงโทรศัพท์มือถือที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ดู สิ่งนี้มันเกิดขึ้นแล้ว ทำได้โดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อตรวจจับสัญญาน Wi-fi และแปลงสัญญานให้กลายเป็นพลังงานส่งกลับมาที่ตัวเครื่อง หรือ พวก 3D/4D Printing ที่เป็นมิติ และถูกโปรแกรมให้สามารถยืดหรือหดได้ด้วยตัวมันเอง หรือการใส่เลนส์ที่ดวงตาโดยสามารถซูมเข้าออกได้ เป็นต้น

ทำไม Deep Tech ถึงเกิดขึ้นตอนนี้ ?

มันเริ่มจาก mobile ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งแผนกขาย แผนก HR ระบบหลังบ้านต่างๆ มันต้องเปลี่ยนไปทั้งหมด เมื่อปี 2007 ที่เริ่มมีโทรศัพท์ Apple รุ่นแรก ทำให้หลังจากนั้นมีการสร้าง data หรือข้อมูลมากมายจนกระทั่งพัฒนาเป็นระบบ AI ซึ่งจริงๆ แล้ว AI มีมาค่อนข้างนานแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลที่มากเพียงพอเพราะบริษัทต่างๆ ต่างเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบกระดาษและเมื่อข้อมูลเหล่านั้นได้แปลงเป็นรูปแบบดิจิทัล ทำให้ทุกวันนี้ AI มีข้อมูลมหาศาลในการประมวณผลและมากพอที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ

ซึ่งตอนนี้ ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่ว่า mobile สามารถทำอะไรได้บ้าง แต่เป็นปัญหาอะไรบ้างที่ mobile ไม่สามารถแก้ไขได้

และนั่นก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจจริงนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หรือ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเรื่องสุขภาพมากขึ้น ปัญหาประชากรล้นโลก ซึ่งมีทำนายว่าภายในปี 2040 เราจะต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอีก 50% ต้องการน้ำเพิ่มขึ้นอีก 40% และต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 30% หรือปัญหาโลกร้อน การแพร่ระบาดของโรคภัย สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นที่ mobile ไม่สามารถแก้ไขได้ และต้องการการช่วยเหลือจากเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทุกวันนี้ที่ซานฟรานซิสโกต้องจ่ายค่าจ้างภารโรงถึง 250,000 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งมาคิดๆ ดูแล้วมากกว่าค่าจ้างของ Google Engineer เสียอีก ซึ่งเป็นค่าแรงที่แพงมาก สาเหตุก็เพราะไม่มีใครที่อยากจะทำงานแรงงานอันนี้อีกแล้ว ดังนั้น Deep Tech ก็เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานตรงนี้ มันไม่ใช่เวลาเราจะไปแย่งงานจากใคร แต่มันจะมาแทนที่แรงงานที่หายากหรืองานที่ไม่มีใครอยากทำแล้ว

ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีท่าทีเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไร?

เมื่อก่อนนี้ไม่มีใครกล้าเป็นคนริเริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ตอนนี้ทุกคนกลับแย่งกันเพื่อเป็นคนแรก แย่งกันใช้ Solution จาก startup ในทุกองค์กรต่างมีศูนย์พัฒนานวัตกรรมเป็นของตัวเองเพื่อจะผลิตเทคโนโลยีใหม่ออกมาให้เร็วที่สุด และมีการแข่งขันกันสูงมาก ซึ่งในอเมริกาเป็นแบบนี้มาประมาณ 10 ปีแล้ว ในขณะที่ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น และในเอเชียก็เติบโตอย่างรวดเร็วมากๆ

ช่วยยกตัวอย่าง Startup ที่ Creative Ventures ลงทุนอยู่?

บริษัท Startup ที่พัฒนา AI สำหรับวางแผนการก่อสร้าง ชื่อว่า ArtificiaL Intelligence Construction Engineering หรือเรียกสั้นๆว่า ALICE ซึ่งบริษัทก่อสร้างสามารถใส่ข้อมูลของตึกที่ต้องการจะก่อสร้างลงไปในโปรแกรม โดยสามารถกำหนด จำนวนทีมงานก่อสร้าง ประเภทของเครน และรายละเอียดอื่นๆ แล้วระบบจะคำนวณหาแผนการสร้างออกมาหลายๆ แบบภายในเวลาแค่ครึ่งชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทก่อสร้างลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาต่างๆ ลงได้มากกว่า 33%

ทำไมถึงเลือกลงทุนกับ startup ในอเมริกา?

เราลงทุนกับบริษัทในอเมริกาเพราะว่ามันหา Deep tech ในเอเชียค่อนข้างยาก แต่ว่าเราทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมให้กับบริษัทในอเมริกาที่ผลิตสินค้าเข้ากับตลาดในเอเชีย ด้วยทีม operation ที่มีอยู่สองทีม คือทีมลงทุนอยู่ที่อเมริกาและทีม access ที่อยุ่เมืองไทย เราเห็นว่าฝั่งอเมริกามี supply มาก ในขณะที่ประเทศในเอเชียก็มี demand มาก ซึ่งมันเป็นจุดเริ่มต้นของ Creative Ventures ที่จะนำ solution ด้านเทคนิคจำเป็นต่างๆ ไปสู่บริษัทในเอเชีย เพราะเราเข้าใจวัฒนธรรมและสามารถช่วยในการสำรวจตลาดให้ได้

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Creative Ventures แตกต่างจาก VC อื่น?

อย่างแรกที่บอกไปคือเราโฟกัสใน Deep Tech ที่จะช่วยแก้ปัญหาในภาคเศรษฐกิจจริง และเวลาที่เราลงทุน เราจะค่อนข้าง Active และ Focus คือไม่ลงเยอะ ในแต่ละปีเราลงทุนแค่ประมาณ 4-6 บริษัท

มีวิธีในการเลือก Startup ที่จะลงทุนอย่างไร?

เราดูที่ปัญหาก่อนว่ามันต้องการการแก้ไขหรือเปล่า แล้วก็มาดูที่ตัวทีม ว่าตัวผู้ก่อตั้งเขาเข้าใจอุตสาหกรรมนั้นๆ จริงไหม ทีมจะมีความสามารถพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ไปได้หรือไม่ ส่วนเรื่องตัวเทคโนโลยีนี้อยู่อันดับท้ายๆ ของการตัดสินใจเลย แค่ต้องคิดว่าจะมีคนยอมใช้มันหรือเปล่าเมื่อผลิตออกมา

Creative Ventures มีวิธีการทำงานกับ Startup ที่ลงทุนด้วยอย่างไร?

เราไป work กับเขาค่อนข้างเยอะ ไม่ใช่แค่ลงทุนด้วยเงินแล้วจบ แต่เราเข้าใจว่า Startup ต่างต้องการให้ VC คอยช่วยเหลือและคอยหนุนหลังให้ในขณะที่กำลังทำงานอย่างหนัก ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ภาระหน้าที่การงานอย่างอื่นมาเพื่อมาทำธุรกิจ startup อันนี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ พวกเขาอยากได้คนที่เชื่อใจ และให้กำลังใจเป็นอย่างมาก

VC ในอเมริกาต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับ startup ที่เราลงทุนด้วย ช่วยรับฟังความเครียดต่างๆ รวมถึงช่วยงานในบางส่วนเท่าที่จะทำได้อย่างเช่นเรื่องการจ้างงาน หรือการดีลกับลูกค้า

ผมคิดว่า VC เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือพวกคนกล้าบ้าบิ่นเหล่านี้ ให้สามารถทุ่มเทกับการผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไปได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม Creative Ventures

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...