ทุกวันนี้ เทคโนโลยีมีเข้ามา “เปลี่ยนภาพ” งานบริการในหลายภาคส่วน เพื่อพัฒนาการให้บริการและยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในองค์กรให้ดีขึ้น หนึ่งในยูสเคสที่น่าสนใจ คือ การใช้เทคโนโลยีในภาคการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เล็งเห็นถึงประโยชน์และศักยภาพของเทคโนโลยีเพื่อบริการนิสิตและบุคลากรภายใน จึงได้ร่วมกับธนาคารกสิกรไทยหรือ KBank พัฒนาแพลตฟอร์ม CU NEX ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา จนวันนี้ CU NEX ได้ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมกับเสียงตอบรับจากผู้ใช้ในทางที่ดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากการที่ CU NEX สามารถปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Digital Transformation ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความสำเร็จและความท้าทายที่น่าสนใจ Techsauce จึงถือโอกาสพูดคุยถึงแนวคิดตั้งต้นของ CU NEX จนถึงวันข้างหน้า กับตัวแทนผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตัวแทนจาก KBTG บริษัทเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทยในฐานะพันธมิตรที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีในการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้
ผู้ร่วมพูดคุยทั้ง 3 ท่านประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี ด้านการพัฒนานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตรงกลางของภาพ) อาจารย์โภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลำดับที่ 2 จากซ้าย) และคุณภูวดล ทรงวุฒิชโลธร Senior Project Manager กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (ลำดับที่ 2 จากขวา)
ก่อนที่จะพูดถึงตัวแอปฯ CU NEX อ.ชัยพร ได้เล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank โดยกล่าวว่า จุฬาฯ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบริการแก่นิสิตบนดิจิทัล แพลตฟอร์ม โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์กับนิสิตมากที่สุด ซึ่งการเลือกพันธมิตรได้ใช้วิธีเปิดประมูลให้เสนอโครงการอย่างเปิดกว้าง โดยมีธนาคารชั้นนำของประเทศ 7 รายเข้าร่วมเสนอโครงการ
อ.ชัยพร เสริมว่า ที่จุฬาฯ มองหาเทคโนโลยีจากกลุ่มธนาคาร มาจากพื้นฐานที่ว่า ธุรกิจธนาคารมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการเงินที่เข้มงวด จึงเชื่อมั่นว่าเมื่อมาตรฐานการทำงานของภาคการเงิน ผนวกเข้ากับความรู้ด้านเทคโนโลยีแล้ว จะช่วยให้ได้ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสูงเป็นพื้นฐาน ช่วยให้การทำงานต่อยอดไปในด้านต่างๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
สำหรับการคัดเลือก อ.ชัยพร เล่าต่อว่า จาก 7 ธนาคารที่สมัครเข้ามา ทางจุฬาฯ คัดเหลือ 3 ธนาคาร แล้วหลังจากที่ได้พูดคุยเชิงลึกกับทุกฝ่าย คณะกรรมการก็ตัดสินใจเลือกธนาคารกสิกรไทยมารับงานนี้ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา CU NEX
CU NEX เป็นแอปพลิเคชันให้บริการด้านข้อมูลและการเข้าถึงต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ “นิสิตมีชีวิตที่ดี” ภายในรั้วมหาวิทยาลัย ตัวแอปฯ จะเชื่อมกับฐานข้อมูลส่วนกลางของจุฬาฯ ทำให้ส่งมอบข้อมูลได้อย่างแม่นยำและทำงานได้หลากหลาย โดยตัวอย่างฟีเจอร์ในปัจจุบัน มีทั้งการแจ้งข้อมูลประกาศทั่วไปและฉุกเฉิน, การจัดตารางเรียนของนิสิตหลังยืนยันลงทะเบียนวิชาเรียนพร้อมระบุเวลาและสถานที่เรียน, ข้อมูลช่องทางติดต่อหน่วยงานและอาจารย์ผู้สอนทั้งมหาวิทยาลัย, บัตรประจำตัวนิสิตแบบดิจิทัลสามารถใช้แทนบัตรนิสิตชนิดพลาสติกการ์ด, การใช้ QR code เข้าออกห้องสมุด และการจองใช้งานห้องของส่วนกลาง และการยื่นขอทุนการศึกษาผ่านแอปฯ
หนึ่งในปัจจัยวัดความสำเร็จของแอปฯ คือยอดผู้ใช้งานจากกลุ่มเป้าหมาย โดย อ.โภไคย ระบุว่า CU NEX มียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่เปิดใช้งาน โดยปัจจุบัน มีนิสิตมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์เปิดใช้งานแอปฯ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และนำไปสู่การสร้าง Community ในชื่อ CU NEX Club ซึ่งจะเล่าในส่วนต่อไป
เมื่อถามถึงฟีเจอร์ ที่ตัวแทนจากจุฬาฯ และ KBank ประทับใจที่สุด อ.ชัยพร ประทับใจฟีเจอร์ ส่ง Notification ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยแก่นิสิตและบุคลากรมาแล้วหลายกรณี ยกตัวอย่างเช่นเหตุยิงปืนขึ้นฟ้าแถวถนนบรรทัดทองเมื่อไม่นานมานี้ ทางมหาวิทยาลัยได้แจ้งเตือนและอัปเดตเหตุการณ์ต่อเนื่องถึงผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่นั้น ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้ ซึ่งถึงแม้เหตุการณ์นี้จะเป็นข่าว แต่การที่จุฬาฯ แจ้งเตือนผ่านแอปฯ ภายในเอง มีส่วนยืนยันที่เชื่อถือได้ และนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
ด้าน อ.โภไคย ประทับใจฟีเจอร์ ใหม่ล่าสุดอย่างการขอทุนการศึกษาออนไลน์ โดยเฉพาะทุนการศึกษาพิเศษในช่วง COVID-19 ที่นิสิตสามารถยื่นขอความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยได้ทางออนไลน์ ซึ่งนอกจากความสะดวกแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในขั้นตอนดำเนินการที่นิสิตไม่ต้องเดินทางมายังมหาวิทยาลัยและไม่ต้องเข้าพบเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง อีกทั้งทางจุฬาฯ ยังคงประสิทธิภาพความช่วยเหลือแก่นิสิตได้ไม่ต่างจากเดิม
คุณภูวดล จากฝั่ง KBank และ KBTG ในฐานะทีมนักพัฒนาเล่าถึงความประทับใจต่อฟีเจอร์ การออกบัตรประจำตัวนิสิตผ่าน CU NEX ที่ทีมต้องคิดให้ครบทั้งกระบวนการออกบัตร และคงความสำคัญเรื่องการยืนยันตัวตน จนได้เป็นฟีเจอร์ ที่นิสิตสามารถยื่นขอออกบัตรผ่านทางแอปฯ ได้ตลอดทุกขั้นตอน เมื่อออกบัตรสำเร็จ บัตรจะถูกส่งให้นิสิตผ่านทางไปรษณีย์ โดยนิสิตสามารถใช้ Digital ID บน CU NEX แทนการใช้บัตรนิสิตชนิดพลาสติกการ์ด ในการแสดงตัวตนได้เช่นกัน ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิตและเจ้าหน้าที่ได้มาก โดยเฉพาะช่วงที่มีการรับนิสิตใหม่ที่มีผู้ลงทะเบียนทั้งมหาวิทยาลัยเกือบหมื่นคน
อ.ชัยพร ย้ำว่า CU NEX ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Digital Transformation ทั้งองค์กรที่มาถูกทาง จากระยะแรกที่มีการพัฒนาแอป CU NEX เป็นแอปฯ สำหรับนิสิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกใช้งาน ซึ่งอำนวยความสะดวกจึงมีนิสิตใช้งานอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น เมื่อบุคลากรเริ่มเห็นความสะดวกจึงอยากให้ทีมพัฒนาแอปฯ สำหรับบุคลากรขึ้นมาบ้าง ทำให้ทุกวันนี้จุฬาฯ มีแอปฯ CU NEX STAFF สำหรับบุคลากรให้บริการแล้ว หลังจากนี้บุคลากรจะเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีและเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการ Digital Transformation มากขึ้น
CU NEX ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Digital Transformation ทั้งองค์กรที่มาถูกทาง หลังจากนี้บุคลากรจะเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีและเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการ Digital Transformation มากขึ้น
เมื่อ CU NEX ให้บริการได้ระยะหนึ่ง จุฬาฯ และ KBank มีความเห็นตรงกันว่าควรเปิดโอกาสให้นิสิตได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาแอปฯ จึงเป็นที่มาของการตั้งชมรม CU NEX Club เพื่อระดมไอเดียของนิสิตในการพัฒนาแอปฯ ทุกด้าน ตั้งแต่เชิงเทคนิคอย่าง IT, User Experience ไปจนถึงการตลาด
CU NEX Club เปิดรับนิสิตทุกระดับตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก ปัจจุบันมีนิสิตอยู่ใน CU NEX Club จำนวน 60 คน จาก 17 คณะ ซึ่งนอกจากจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปฯ แล้ว CU NEX Club ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงเสียงจากผู้ใช้หรือเป็นการทำ Customer Feedback เป็นอย่างดี การเชื่อมโยงตรงนี้ทำให้แอปฯ เป็นไปตามความต้องการของนิสิตมากขึ้นจนนำไปสู่ยอดผู้ใช้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนนิสิตทั้งหมด
อ.ชัยพร มองว่า CU NEX Club ตรงกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนานิสิต เนื่องจากเปิดโอกาสให้นิสิตได้ทำงานจริงกับมืออาชีพ ได้เห็นขั้นตอนจริงๆ พร้อมกับสร้าง Impact ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง อันเป็นประสบการณ์ที่ดีต่อไป
นอกจากการสร้าง Community ด้วย CU NEX Club แล้ว CU NEX ยังมีส่วนส่งเสริมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยอย่างมากด้วย โดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญของนิสิตจุฬาฯ คือการเลือกตั้งองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ หรือ อบจ. และสภานิสิตจุฬาฯ เมื่อต้นปี 2563 ที่มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 กำลังเข้มข้นพอดี จึงหันมาดำเนินกิจกรรมการเลือกตั้งฯ บนแอปฯ CU NEX อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การให้ข้อมูลผู้สมัคร การเปิดหาเสียง นำเสนอนโยบาย ไปจนถึงเปิดลงคะแนนเสียงผ่านแอปฯ ซึ่งยืนยันตัวตนผ่านฐานข้อมูลนิสิตทำให้ขั้นตอนง่าย ปลอดภัย และแม่นยำมาก ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้การเลือกตั้งฯ มีนิสิตลงคะแนนสูงที่สุดในรอบ 5 ปี
อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ CU NEX คือแง่มุมด้านความท้าทายของการพัฒนาแอปฯ จากทาง KBTG ผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา ซึ่งทางคุณภูวดล กล่าวว่า CU NEX เปิดมุมมองใหม่ให้กับ KBTG ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีไม่น้อย
คุณภูวดล กล่าวว่า ความท้าทายแรกคือการเข้าไปทำความรู้จัก รู้ใจ จนถึงขั้นรู้ความรู้สึกของผู้ใช้งานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจะเป็นเช่นนั้นได้องค์กรต้องพร้อมที่จะปรับและเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้จริงๆ
ก่อนหน้านี้ KBTG ทำงานในขอบเขตของธนาคารมาตลอด แต่เมื่อได้เข้าไปพัฒนาเทคโนโลยีให้กับจุฬาฯ จึงต้องมองให้กว้างขึ้น พร้อมรับฟังและเข้าไปแก้ปัญหาบางอย่างด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอให้เขาพูดถึง หรือเรียกว่าทำเกิน Requirement บนหน้ากระดาษ เมื่อเห็นว่าสิ่งใดมีประโยชน์กับทางจุฬาฯ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ด้านใช้งาน เทรนด์ด้านเทคโนโลยี หรือมี Feedback จาก CU NEX Club ก็พร้อมที่จะเข้าไปคุยและเสนอวิธีการเพื่อให้ฟีเจอร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้
ด้าน อ.ชัยพร เสริมว่า ต้องขอบคุณ KBank ที่ทำงานกับจุฬาฯ อย่างอดทน เนื่องจากจุฬาฯ เองก็เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ มีคนหลากหลายความคิดเห็น ซึ่งทาง KBank เองเก็บรายละเอียดได้ดี รวมถึงช่วยให้จุฬาฯ เห็นทางที่จะไปสำหรับแอปฯ CU NEX และบริการอื่นๆ บน Digital ในอนาคตด้วย การตัดสินใจเลือกธนาคารกสิกรไทยในวันนั้น เป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิดหวังเลยจริงๆ
หลังจากที่เราเห็นภาพของแอปฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบันแล้ว ประเด็นที่คุยต่อไปคืออนาคตที่อยากเห็นใน CU NEX ซึ่งแต่ละท่านได้ช่วยกันเสริมมุมมองได้อย่างน่าสนใจ
อ.ชัยพร กล่าวว่า ตอนนี้ CU NEX ยังไม่ถือว่าทำงานได้เต็มที่เท่าที่เทคโนโลยีปัจจุบันมี ในอนาคตก็จะพยายามให้รูปแบบการทำงานทั้งหลายใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้เต็มประสิทธิภาพกว่านี้ นอกจากนี้ ยังหวังให้ CU N EX เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับนิสิตและบุคลากร โดยเฉพาะนิสิตที่จะมีส่วนร่วมในแอปฯ มากขึ้น จนกลายเป็น ซิงเกิล แพลตฟอร์ม ที่พัฒนาไปเรื่อยๆ แบบ Bottom up จากนิสิต
อ.โภไคย เผยว่า อยากให้ CU NEX รักษาการพัฒนาแบบ Agile เอาไว้ เพื่อให้ทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และอยากกระตุ้นให้นิสิตเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาการนำเสนอในแอปฯ รวมถึงการพัฒนาฟีเจอร์ ใหม่ๆ มากขึ้น
อ.โภไคย ยังเสริมในส่วนของแอปฯ CU NEX STAFF ในฝั่งบุคลากรอีกว่า จะเป็นแพลตฟอร์ม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนทำงานในจุฬาฯ มากขึ้น อย่างเช่นในวันนี้ที่มีมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 ก็หวังให้ CU NEX มีส่วนร่วมกับลักษณะนี้มากขึ้น
ด้านคุณภูวดล ผู้พัฒนาฝั่งเทคโนโลยี กล่าวว่า KBTG ยังคงมีหน้าที่ส่งมอบนวัตกรรมตามความต้องการของจุฬาฯ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งเชื่อมั่นว่าศักยภาพของ KBTG และธนาคารกสิกรไทยจะช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ให้ทำงานบริการได้ดีขึ้น สนับสนุนการทำ Digital Transformation ของจุฬาฯ ให้สำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด