เก็บมาฝากจาก ‘DCT Startup Connect Episode 2’ ภาคต่อของงานสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย นำโดย สภาดิจิทัลฯ | Techsauce

เก็บมาฝากจาก ‘DCT Startup Connect Episode 2’ ภาคต่อของงานสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย นำโดย สภาดิจิทัลฯ

กิจกรรมล่าสุดที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทย คือ DCT Startup Connect ซึ่งจัดขึ้นในปี 2565 เป็นปีแรก จากความร่วมมือของ สภาดิจิทัสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT: Digital Council of Thailand) กับพันธมิตรในระบบนิเวศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานต่างๆ โดยมีสตาร์ทอัพไทยเข้าร่วมงานมากกว่า 100 ราย  ไม่ว่าจะเป็น AgTech, HealthTech, RetailTech, MarTech, FinTech, InsurTech, Digital Content & Animation มาในปี 2566 นี้ สภาดิจิทัลฯ ร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศจัดงานภาคต่อ DCT Startup Connect Episode 2 ซึ่งมีสตาร์ทอัพไทยเข้าร่วมงานมากกว่า 200 ราย และมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สมาคม VC CVC ฯลฯ มา Connect กันเต็มพื้นที่

ประเด็นน่ารู้จาก DCT Startup Connect Episode 2 

มากกว่าการ Connect ที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก งาน DCT Startup Connect Episode 2 ยังเน้นการให้ความรู้ คำแนะนำ ยังมี DCT Startup Connect ที่ปีนี้มุ่งสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ Edtech, Tourism Tech, Smart Industry and Energy, Smart Quality of life & Social Enterprise และ Digital Content และกิจกรรม Startup Clinic by DCT & Depa ซึ่งมีทีมที่ปรึกษาจาก DCT และ Depa มาร่วมให้คำแนะนำแก่สตาร์ทอัพเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ ทีมเทคซอสเก็บประเด็นมาฝากผู้อ่านจาก 2 หัวข้อที่จะทำให้เห็นแนวทางการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและแนวทางการสนับสนุนสตาร์ทอัพของต่างประเทศชัดเจนขึ้น ดังนี้ 

 DCT Startup Connect Episode 2หัวข้อที่ 1 : การผลักดัน Startup ไทยสู่ Scaleup

โดย คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด, รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการพันธกิจด้าน Startup มาเกริ่นถึงความสามารถด้านการแข่งขันในเรื่องสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีของประทศไทย ที่มีสัดส่วนการลงทุน โดยประเทศไทยมีสัดส่วนการลงทุนด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยเพียง 6% เมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนทั้งภูมิภาค

  • Nikkei Asia เปิดข้อมูลการลงทุนในสตาร์ทอัพไทยว่า หลังจากไทยออกมาตรการยกเว้น Capital Gains Tax มาแล้ว 1 ปี มีเงินลงทุนรวมกว่า 530 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าช่วงเวลา เดียวกันในปี 2019 (ก่อนโควิด-19 ระบาด) ที่มีเงินลงทุนรวม 223 ล้านดอลลาร์

  • ผู้ที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพต้องมีมายด์เซ็ตของการเป็น 'คนที่แตกต่าง' ถ้าชอบที่จะทำอะไรเหมือนคนอื่น จะไม่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น และต้องมีความมั่นใจก่อนว่า คนไทยจะไม่เป็นแค่ 'ผู้ใช้เทคโนโลยี' แต่จะเป็น 'ผู้ผลิตเทคโนโลยี' โดยเริ่มจากการมองหาตลาดในระดับภูมิภาคและระดับโลก

  • เนื่องจากไม่มีใครสามารถออกแบบกฎหมายให้ก้าวนำเทคโนโลยีได้ การออกนโยบายและกฎหมายจึงต้องสามารถไล่ทันความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี แต่หากประเทศไหนแก้กฎหมายได้เร็วก็จะทำให้สตาร์ทอัพได้ไปต่อเร็วขึ้น เช่น การพัฒนา AI ถ้าเราคุม AI ทั้งหมดก็จะทำอะไรไม่ได้ จึงควรโฟกัสที่บางเรื่อง เช่น ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่อ่อนไหว

 DCT Startup Connect

  • ภาพรวม ณ ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐของไทย อาทิ DEPA, BOI, สสว. ออกมาตรการส่งเสริมสตาร์ทอัพและอุตสาหกรรมดิจิทัลรวม 9 มาตรการ ได้แก่

    1. ยกเว้นภาษี Capital Gains Tax สำหรับการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพไทย

    2. ลดหย่อนภาษี 150% หรือสนับสนุน (เฉพาะสตาร์ทอัพ) 50% ของค่าจ้างงานทักษะอาชีพด้านดิจิทัล

    3. Convertible Debt, ESOP และ Crowdfunding สำหรับ SMEs และสตาร์ทอัพ

    4. ลดหย่อนภาษี 200% เมื่อธุรกิจซื้อซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศ

    5. SME ได้แต้มต่อ ในการประมูลโครงการของภาครัฐ

    6. ภาษีเงินได้ 17% สำหรับชาวต่างชาติทักษะสูง เมื่อทำงานในไทย

    7. ลดหย่อนภาษี 250% หรือสนับสนุน 50% ของค่าอบรมบุคลากรในทักษะด้านดิจิทัล

    8. ตลาดหลักทรัพย์ Live Exchange สำหรับ SMEs และสตาร์ทอัพ

    9. บัญชีนวัตกรรมไทย ให้เงื่อนไขพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

หัวข้อที่ 2 : Global Investment Landscape

โดย Peng T. Ong ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วน Monk’s Hill Ventures กองทุนร่วมลงทุนระดับโลกจากสิงคโปร์ ซึ่งเน้นการลงทุนให้สตาร์ทอัพในเอเเชียตะวันออกเฉียงใต้

 DCT Startup Connect Episode 2

  • ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา VC และ CVC อาทิ Softbank, DST Global, Global Founders Capital, Monk’s Hill Ventures ให้เงินลงทุนจำนวนมากแก่สตาร์ทอัพทั่วโลก เช่น Ninja Van ผู้ให้บริการด้านการจัดส่งสินค้าจนถึงขั้นสุดท้าย (Last Mile Delivery)

  • สตาร์ทอัพหลายรายรวมถึงสตาร์ทอัพไทยคิดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทว่า จะทำธุรกิจแล้วขายกิจการออกไป  (Exit) แต่สำหรับสิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ มีประชากรไม่มาก การตั้งบริษัทสตาร์ทอัพจึงต้องปักหมุดตั้งแต่แรกเริ่มว่า จะเข้าไปแก้ปัญหาในระดับ ภูมิภาคหรือระดับโลกเท่านั้น และเมื่อไรที่มีผู้ใช้งานเกิน 70 ล้านคน (ใกล้เคียงจำนวนประชากรในไทย) สตาร์ทอัพรายนั้นก็เตรียมเป็นยูนิคอร์นได้เลย

  • ภาครัฐมีส่วนสำคัญมากต่อการเติบโตของระบบนิเวศสตาร์ทอัพอย่างมาก ดังที่รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนด้วยการให้เงินลงทุน ออกกฎและนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ ออกมาตรการและดีลพิเศษที่ดึงดูด Tech Talents ปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลให้มีผู้ประกอบการเข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์จำนวนมาก

  • การลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งเริ่ม (Seed Funding) สำคัญต่อระบบนิเวศสตาร์ทอัพมาก ขณะเดียวกันก็เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงมาก รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นมากถึง 85% ที่เหลือ 15% เป็นเงินลงทุนที่มาจากกองทุนและภาคเอกชน

  • จากประสบการณ์การลงทุนในสตาร์ทอัพ พบความคล้ายคลึงกันของสตาร์ทอัพไทย สตาร์ทอัพสิงคโปร์ และสตาร์ทอัพญี่ปุ่น คือ มีน้อยรายที่จะสามารถแบกรับความเสี่ยงมากๆ ได้

  • Monk’s Hill Ventures ก็ลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นไปจำนวนมาก และให้รัฐบาลสิงคโปร์เข้ามาลงทุนในกลุ่ม Research Foundation จำนวน 16 ธุรกิจเริ่มต้น ซึ่งก็มีสตาร์ทอัพที่ลงทุนเอาไว้เมื่อปี 2015 เติบโตจนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในปัจจุบัน

  • หากดูค่าเฉลี่ยทั่วโลก บริษัทใหญ่ๆ มักเริ่มต้นจากธุรกิจสตาร์ทอัพ และสตาร์ทอัพมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Intellectual Property (IP) หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

  • Peng T. Ong ยังเป็นผู้ก่อตั้งและประธาน Solve Education Foundation ด้วยเป้าหมายที่จะให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทัดเทียม ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชากรโลกจำนวนมาก

  • สำหรับแนวทางลดอุปสรรคด้านการเรียนการสอน เช่น เด็กไทยที่ยังขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ Peng T. Ong ให้คำแนะนำว่า ควรให้เด็กต่ำกว่า 18 ปี ฝึกการใช้ภาษาผ่านเกมที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ (Gamification) โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครูสอน

หลังจากนี้เป็นการบอกเล่าถึงการดำเนินการเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ แนวทางลดความเหลื่อมล้ำ การส่งต่อองค์ความรู้ ให้คำแนะนำเรื่องภาษี วงเสวนาแชร์ความรู้และประสบการณ์ รวมถึงกิจกรรมเวิร์กช็อปที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานตลอดวัน

 DCT Startup Connectหัวข้อที่ 3 : Startup กับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน 

 DCT Startup Connect Episode 2หัวข้อที่ 4 : การใช้ประโยชน์จากมาตรการยกเว้น Capital Gains Tax

ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่สมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง

อ่านเพิ่มเติม : สรุปข้อคิดเห็นจากงาน “DCT Startup Connect Episode 2” เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัป โดยความร่วมมือกันของพันธมิตรในระบบนิเวศ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...