DeFi 101 ทำความเข้าใจสินทรัพย์สังเคราะห์หรือ Synthetic Asset สกุลเงินดิจิทัลที่ไม่สามารถถูกหยุดยั้งได้ | Techsauce

DeFi 101 ทำความเข้าใจสินทรัพย์สังเคราะห์หรือ Synthetic Asset สกุลเงินดิจิทัลที่ไม่สามารถถูกหยุดยั้งได้

หลังจากตอนที่แล้วเราพูดถึง Ecosystem โดยรวมของ DeFi ไปแล้วนะครับวันนี้เราจะมาเล่าเรื่อง DeFi ลงลึกไปทีละพาร์ทกันต่อครับโดยวันนี้เราจะมาพูดถึงสินทรัพย์สังเคราะห์หรือ Synthetic Asset

DeFi

ก่อนอื่นเวลาเราพูดถึง DeFi ให้เราคิดถึงประเทศหรือโครงสร้างระบบการเงินในประเทศหนึ่งที่ทำงานแบบไร้ตัวกลางและทุกอย่างทำงานได้ โดยที่ไม่มีใครหยุดยั้งหรือห้ามได้ก่อน ซึ่งพื้นฐานโครงสร้างทางการเงินของประเทศนั้นคือ “สกุลเงินดิจิทัล” หรือ Cryptocurrency นั่นเอง

เดิมทีแล้วในโลกของสกุลเงินดิจิทัล มีสิ่งที่คล้ายกับเงินสกุลที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเราเรียกมันว่า Stablecoin ซึ่งเป็นเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ใกล้เคียงเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

แต่รูปแบบดั้งเดิมของ Stablecoin เหล่านี้มีวิธีการสร้างในรูปแบบที่มีตัวกลาง โดยการสร้าง Stablecoin ทั้งหลายนั้น จะเกิดจากการนำสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ตราสาร พันธบัตร หรือเงินสด มาวางค้ำประกันไว้แล้วออกมาเป็นหน่วยเหรียญ Stablecoin ที่มีมูลค่าคงที่เช่น USDT, USDC หรือ BUSD เป็นต้น

Stablecoin นั้นเป็นส่วนสำคัญในโลก Cryptocurrency เพราะว่ามันเป็นการสร้างเหรียญมูลค่าที่คนเราคุ้นเคยมากที่สุดอย่างดอลลาร์ ทำให้ปริมาณซื้อขายของ Stablecoin นั้นเรียกได้ว่าสูงที่สุดในบรรดา Cryptocurrency ทั้งหมด

โดย Stablecoin นี้ก็มีข้อเสียเช่นกันแม้ว่ามันจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก Cryptocurrency แต่ว่ามันถูกสร้างโดยตัวกลางที่สามารถถูกยับยั้งการทำธุรกรรมของเราได้ หนึ่งในสิ่งที่หลายๆคนไม่รู้ก็คือ Stablecoin อย่าง USDT และ USDC เป็นเหรียญที่บริษัทผู้สร้างเหรียญสามารถอายัดเงินในกระเป๋าของเราได้ และลามไปถึงปัญหาสำคัญที่หลายคนสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้มีสินทรัพย์รองรับอยู่จริงหรือไม่

แนวคิดของการสร้าง Stablecoin ที่ไม่มีตัวกลางจึงเกิดขึ้นโดยมันเริ่มต้นจากเหรียญ Dai ของโครงการที่มีชื่อว่า MakerDao

โดยหลักการแล้ว MakerDao จะเป็นแพลทฟอร์ม DeFi ที่ทำงานบน Blockchain โดยสิ่งที่ MakerDao ทำคือการสร้าง Stablecoin ที่ชื่อว่า Dai ขึ้นมาด้วยสินทรัพย์ค้ำประกันอย่าง Cryptocurrency

สินทรัพย์ค้ำประกันที่ว่านี้คือ Ethererum เหรียญที่มีมูลค่าเป็นอันดับ 2 ของโลก Cryptocurrency โดยแพลตฟอร์ม MakerDao จะให้ผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถฝากเหรียญ Ethereum เข้าไปในอัตราส่วนประมาณ 150% ของเหรียญ Dai ที่จะผลิตขึ้นมา เช่น ถ้า Ethereum มูลค่า $150 เราสามารถออกเหรียญ Dai จำนวน 100 Dai ได้

ผู้ที่ฝาก Ethereum ให้กับแพลทฟอร์มเพื่อผลิต Dai นั้นจะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นเหรียญ MKR ซึ่งทำให้ Ethereum ที่ค้ำประกันนั้นจะอยู่ในรูปของ Collateralized Debt Position (CDP) หรือระบบค้ำประกันในรูปแบบหนึ่ง

เราจะเห็นว่าในแพลทฟอร์ม MakerDao นี้เราสามารถสร้าง Stablecoin หรืออาจจะเรียกว่าสกุลเงินดอลลาร์ฯขึ้มาก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครเลย และไม่ต้องมีสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงอ้างอิงอีกด้วย เราจึงเรียก Dai ว่ามันคือ “สินทรัพย์สังเคราะห์” หรือ Synthetic Asset ส่วน MakerDao จะทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารกลางในปัจจุบันที่จะมีหน้าที่คอยปรับอัตราดอกเบี้ยในการออก Dai เพื่อควบคุมให้ Dai มีมูลค่าเท่ากับ $1 และทำการบังคับขาย CDP หากสินทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้นั้นมีมูลค่าลดลงถึงจุดๆหนึ่ง

เหรียญ Dai นั้นแตกต่างจาก Stablecoin อื่นๆตรงที่ไม่มีตัวกลางใดๆที่จะอายัดมันได้ นั่นทำให้ MakerDao นั้นกลายเป็นโครงการ DeFi ที่มีมูลค่าอันดับต้นๆของโลก Cryptocurrency

อย่างไรก็ตามด้วยการเติบโตที่รวดเร็วทำให้ MakerDao ต้องมีการรองรับเหรียญอื่นๆนอกเหนือจาก Ethereum เข้ามาเป็นสิ่นทรัพย์ค้ำประกัน โดยหนึ่งในนั้นคือ USDT ในแง่หนึ่งมันทำให้ Dai มีความเชื่อมโยงกับตัวกลางในรูปแบบหนึ่ง แต่มันก็ดูมีภาษีที่ดีกว่า Stablecoin อื่นๆ

Stablecoin นั้นเป็นเพียงหนึ่งในสิ่งที่สามารถถูกสร้างในรูปแบบสินทรัพย์สังเคราะห์หรือ Synthetic Asset แต่นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่โลก DeFi สามารถทำได้ ในทางทฤษฏีเราสามารถสร้างสินทรัพย์สังเคราะห์ที่ยืดมูลค่าของสิ่งต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทอง พันธบัตร โดยที่เราไม่ต้องมีสินทรัพย์จริงๆรองรับด้วยซ้ำ

หนึ่งในแพลทฟอร์ม Synthetic ที่น่าสนใจคือ Mirror Finance ที่ทำงานอยู่บน Blockchain ของ Terra โดยบน Mirror เราจะสามารถสร้างหุ้นชั้นนำต่างๆไม่ว่าจะ Apple, Tesla, Alibaba, Amazon โดยใช้เหรียญ UST ซึ่งเป็น Stablecoin บน Terra เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันได้ เราสามารถซื้อขายหุ้นเหล่านี้ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีหุ้นจริงๆด้วยซ้ำ เนื่องจากมันถูกค้ำประกันด้วย Collateralized Debt Position (CDP)

และนี่เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ที่สามารถเกิดขึ้นได้บนโลก DeFi แต่อย่าลืมว่าระบบทั้งหมดที่ผมเล่าอยู่นี้ทำงานอยู่บน Blockchain และ Smart contract ที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้

สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นศึกษาเรื่อง DeFi คุณสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองใน รายการ DeFi WTF หรือติดตามข้อมูล DeFi ที่น่าสนใจได้บนเฟสบุ๊คเพจ Kim DeFi Daddy แล้วในตอนต่อไปเราจะมาเล่าถึงระบบการกู้ยืม (Lending) บนโลก DeFi กันครับ


บทความนี้เป็น Guest Post โดย คุณกานต์นิธิ ทองธนากุล ผู้ก่อตั้งเพจ Kim DeFi Daddy และ Bitcoin Addict Thailand


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...

Responsive image

สำรวจ orbix เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียนและจักรวาล Digital Asset ของ Unita Capital

ทำความรู้จักแพลตฟอร์ม orbix กระดานเทรดนี้ต่างจากที่อื่นตรงไหน หัวใจสำคัญของการเปิด ‘เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียน (The Capital of Kryptonian)’ คืออะไร รวมไว้ในบทความนี้แล้ว...