ถอดเเนวคิด depa กับการค้นหา Startup ด้าน Smart City ผ่านโครงการ Hackathon และ Accelerator | Techsauce

ถอดเเนวคิด depa กับการค้นหา Startup ด้าน Smart City ผ่านโครงการ Hackathon และ Accelerator

ถึงการเเข่งขัน depa Accelerator 2019 นี้จะผ่านไปแล้วพร้อมการประกาศผลผู้ชนะในงาน Demo Day รูปแบบออนไลน์ แต่สิ่งที่ยังคงไว้ซึ่งความประทับใจยังคงเป็นเเนวคิดที่เเตกต่างจากการเเข่งเเบบเดิมๆ  นับได้ว่าปีนี้มีความน่าสนใจหลายอย่างที่ต่างจากปีก่อนหน้า รวมถึงเเนวคิดรูปแบบการเเข่งขันที่ไม่ได้เริ่มจากการเเข่ง Accelerator ทั่วไปเหมือนที่อื่นๆ ซึ่งใช้เวลายาวนานกว่าเเต่ตอบโจทย์การพัฒนางานที่เริ่มจากไอเดียได้ 

จุดเริ่มต้นและเเนวคิดที่ไม่เคยหยุดการพัฒนาเพื่อให้ Startup ไทยเติบโตในระดับนานาชาติ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้เข้ามาเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการผลักดันกลุ่ม Digital Startup ของประเทศไทยให้มีการเดินหน้าต่อยอดจนกลายเป็นเเรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งหนึ่งในโครงการที่เราเคยได้ยินกัน คงต้องพูดถึงโครงการ depa Accelerator ที่ได้ทำการจัดการเเข่งมาเเล้ว 2 รุ่น โดยทั้ง 2 รุ่นมีโจทย์การแข่งที่ต่างกัน ในปีนี้เป็นโจทย์การเเข่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา  Smart City โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน  ภาคประชาชน ในการพัฒนา Smart City ให้เกิดขึ้นจริงด้วยการสร้างให้คนมีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น  

การเเข่งขันโครงการ depa Accelerator จึงมุ่งเน้นเสริมศักยภาพของ Startup ไทยเพราะมองเห็นถึงความสามารถและโอกาสต่อยอดธุรกิจสู่ตลาดโลกได้และในปีนี้โครงการไม่เพียงเเต่ยึดเป้าหมายเดิมในการสนับสนุน Startup ไทยแต่ยังมองถึงการขยายความร่วมมือในระดับอาเซียนและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนผ่าน Solution ที่ถูกพัฒนาขึ้นจาก Startup โดยนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Smart City ของไทย 

สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นประเทศรับจ้างผลิตนำเข้าเทคโนโลยีต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเปลี่ยนเเปลงเเละพัฒนาหลายอย่าง จึงต้องเร่งขับเคลื่อนประเทศด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย ผ่านกลุ่ม Startup ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาเองและมีศักยภาพมากพอในการเติบโตได้ในอนาคต เเต่ยังขาดการลงทุนและการเข้าถึงตลาด ทาง depa จึงมองเห็นในจุดนี้และเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน Digital Startup ให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติ

สิ่งที่ได้จากการร่วมมือกันในโครงการคือ Solution ดีๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเหล่า Startup ไทย ในส่วนของภาคเอกชนนั้นหากมองในมุมการพัฒนาเชื่อว่าไอเดียและเเนวคิดใหม่ๆ นั้นคงต่างจากรูปแบบการทำงานเดิมของภาครัฐที่ยังไม่สามารถทำได้ การร่วมมือกันนี้เหมือนเป็นจุดสำคัญที่เข้ามาเติมเต็มส่วนที่ภาครัฐขาดไปโดยเฉพาะกลุ่ม Startup ของไทยที่มีไอเดียเจ๋งๆ เเนวคิดดีๆ แถมมีทีมงานที่มีความสามารถพร้อมในการพัฒนา Solution แต่ยังขาดทุนและการสนับสนุน รวมถึงการเข้าถึงตลาดทั้งในไทยและระดับนานาชาติ 

ปรับรูปแบบการเเข่งเพื่อให้ Accelerator ไม่จบอยู่เเค่รางวัลชนะเลิศแต่ต้องนำไปพัฒนาต่อยอด และใช้ได้จริง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการมองเห็นถึงความสำคัญของ “ไอเดีย” การเเข่งขัน Accelerator ทั่วไปนั้นมุ่งเน้นการเเข่งสำหรับ Startup ที่มีผลงานออกมาแล้ว ทำให้โอกาสในการเเข่งสำหรับหน้าใหม่ หรือผู้ที่มีไอเดียดีๆ แต่ยังไม่สามารถทำออกมาเป็นรูปธรรมเพราะยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เข้าไม่ถึงโอกาสของการเเข่งขัน Accelerator 

depa ได้จัด ASEAN Startup Hackathon ที่มีโจทย์การเเข่งขันเดียวกับ ASEAN's First Smart City Accelerator ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อต่อยอดได้ ซึ่งโจทย์ในปีนี้คือ  Smart City โดยรูปแบบการเเข่งขันของ depa จะเริ่มที่โครงการ ASEAN Startup Hackathon ก่อนเพื่อเปิดโอกาสให้ “ไอเดีย” ดีๆ ด้านการพัฒนา Smart City ของไทยสามารถเกิดขึ้นจริงได้ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการหรือ Startup รวมทีมกันเพื่อพัฒนานวัตกรรมเมืองอัจฉริยะให้ทะลุขีดสุดสู่ระดับอาเซียน เพียงผู้สมัครมีสินค้าหรือบริการต้นแบบ 

depa ได้จัด ASEAN Startup Hackathon โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการและ Startup ที่มีสินค้าหรือบริการต้นแบบ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเมืองให้สามารถก้าวสู่ระดับอาเซียนจากโจทย์เดียวกับการแข่งขันระดับภูมิภาคอย่าง ASEAN’s First Smart City Accelerator ที่เน้นถึงการพัฒนา Smart City ตามบริบทของอาเซียน

รูปแบบการเเข่ง Hackathon ทีมผู้สมัครในปีนี้จะได้เข้าร่วมเก็บตัวเรียนรู้ สร้างงานจากไอเดีย โดยการเข้าร่วมครั้งนี้ทางโครงการจะมีกิจกรรมให้ความรู้ และ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้านในวงการมาคอยช่วยให้คำปรึกษาตลอด 4 วันจนแต่ละทีมที่มีแต่ไอเดียได้งานออกมาพร้อมขึ้นเวทีนำเสนอ ชิงเงินรางวัล  มูลค่ารวม 600,000 บาท และเป็นบันไดสู่ขั้นต่อไปในการแข่งขัน เวที ASEAN's First Smart City Accelerator 

จาก Hackathon สู่การเเข่งขันบนเวที ASEAN's First Smart City Accelerator 

การพัฒนา “เมือง” เป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันหลายภาคส่วน การทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงเป็นอีกพันธกิจหลักของ depa ในการพัฒนา Smart City ให้ตอบโจทย์ปัญหาของ “เมือง” รวมถึงสามารถสร้างวิถีชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นได้อย่างเเท้จริง การเเข่ง  ASEAN's First Smart City Accelerator เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน 

โครงการนี้จึงเป็นเหมือนผู้สนับสนุน และสะพานเชื่อมโยง Solution จาก Startup กับปัญหาที่ภาคประชาชนต้องการเเก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเน้นสนับสนุน Startup ที่มีสถานะที่พร้อมพัฒนาต่อยอดผลงาน ซึ่งต่างจากเวที Hackathon ที่สามารถเริ่มจากไอเดียได้ โดยปีนี้เเต่ละทีมที่เข้าเเข่งขันนั้นสามารถเป็นทีมที่เคยผ่านเวที  ASEAN Startup Hackathon มาแล้ว หรือ ทีมหน้าใหม่ที่จากในไทยและต่างประเทศสามารถสมัครเข้าร่วมได้ 

ในส่วนของรูปแบบกิจกรรมในระหว่างเก็บตัวเรียนรู้และสร้างผลงานนั้น นอกจากความรู้ที่จะได้รับ แต่ละทีม Startup ที่เข้าเเข่งขันในโครงการ Accelerator จะได้พูดคุยและทำงานร่วมกับภาคประชาชนที่เป็นตัวเเทนของเเต่ละจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการพัฒนา Smart City ถึงเเม้ในระหว่างการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างทีมผู้เข้าเเข่งขันกับตัวเเทนแต่ละจังหวัดจะเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆไม่ได้เพราะ อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเเพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้รูปแบบกิจกรรมของผู้เข้าเเข่งขันมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง

เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าเเข่งขันและตอบสนองมาตรการของภาครัฐ กิจกรรมจากเดิมที่ต้องจัดขึ้นจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น ออนไลน์ทั้งหมด แต่ถึงอย่างไรการพัฒนาที่เหล่า Startup ทำร่วมกับแต่ละจังหวัดยังคงดำเนินต่อจนมาถึงวันสิ้นสุดการเเข่งขันที่ได้จัดขึ้นในรูปเเบบ Online Demo Day ซึ่งเป็นปีเเรกที่ทางโครงการ  depa Accelerator จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์

เสียงสะท้อนจาก ENRES ผู้ชนะโครงการ depa Accelerator 2019 

การเเข่งในครั้งนี้เราได้ทีมผู้ชนะคือ ENRES (Energy Response) Startup ด้านพลังงานที่นำเสนอเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้เจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้และแก้ไขปัญหาภายในอาคาร เรื่อง ระบบไฟฟ้า น้ำ อากาศ และพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ โดยทีมผู้ชนะในโครงการ depa Accelerator 2019 ได้รับเงินรางวัล 600,000 บาทเพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดผลงานพร้อมโล่รางวัล

คุณกฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง ENRES (Energy Response) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยเเนวคิดที่เกิดจากความชอบของทีมและการมองว่าปัญหาด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญจึงสร้างเเพลตฟอร์มที่มีระบบที่โดดเด่น สามารถลดพลังงานจากข้อมูลจากส่วนกลางและภาพรวมมาทำให้สร้างรูปแบบการลดพลังงานของภาพรวมทั้งหมดแบบไม่ได้เจาะลึก ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตามความต้องการรวมถึงพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก  

สิ่งหนึ่งที่ทางทีมมองว่าเป็นจุดเเข็งที่ทำให้ชนะในโครงการนี้ คือ การที่ทีมมีการพูดคุยและได้ทำงานกับลูกค้าที่หลากหลายรวมถึงช่วงเข้าเก็บตัวได้มีโอกาสพูดคุย วางเเผนการพัฒนาในอนาคต ทำให้เห็นภาพการพัฒนาเเละเติบโตชัดขึ้นว่าควรพัฒนาไปในแนวทางไหน นอกจากนี้ทำให้รู้ถึงความต้องการเเละปัญหาว่าสิ่งที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการจริงๆ คือการลดต้นทุนและการใช้พลังงานอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด สิ่งนี้ทำให้ทีมสามารถนำเสนองานที่ออกมาได้ดีจากสิ่งที่ทีมมีอยู่แล้ว ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาต่อยอด Solution ตามเมืองต่างๆ ที่เคยได้ทำงานร่วมกันในโครงการ depa Accelerator 2019 ให้สามารถขยายตลาดเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น

สำหรับในอนาคต depa ยังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือการพัฒนา Smart City ให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดย depa จะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่เชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน อาทิ Digital Startup และเครือข่ายพัฒนาเมืองของแต่ละพื้นที่ ให้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ผลักดันการพัฒนา Smart City ของไทย ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน พร้อมสนับสนุน Digital Startup ไทยให้มีโอกาสขยายตลาดไปยังนานาชาติ นอกจากนี้ depa ยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพ Digital Startup เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...