'4 โหมด โหด มัน เฮฮา วิชาการ' กับ ASEAN Startup Hackathon และก้าวต่อไปสู่ depa Accelerator Program | Techsauce

'4 โหมด โหด มัน เฮฮา วิชาการ' กับ ASEAN Startup Hackathon และก้าวต่อไปสู่ depa Accelerator Program

ก่อนที่เราจะเริ่มเดินทางเข้าสู่ฤดูแห่งการเเข่งขันโครงการ ASEAN's First Smart City Accelerator ในปี 2019 นี้ เรามาดูบรรยากาศการเเข่งขัน ASEAN Startup Hackathon กัน เเม้ช่วงการเเข่งขันจะจบไปแล้วแต่ความทรงจำตลอด 4 วันในการเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละทีมที่เราเชื่อว่าประสบการณ์ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความคิดเพื่อยกระดับชีวิตของผู้คนในประเทศไทยให้ดีขึ้นด้วย “ Smart City ” ซึ่งเป็นหัวใจของการเเข่งขัน ASEAN Startup Hackathon สู่การต่อยอดโจทย์เดียวกันในโครงการ ASEAN's First Smart City Accelerator ในปี 2019 นี้

ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในพิธีการเปิดเวทีเเข่งขันไว้ว่า “เวที ASEAN Startup Hackathon เป็นเวทีแรกของอาเซียน ที่มีการจัดให้ระดมความคิด และความร่วมมือในการหาแนวทางแก้ปัญหาในหัวข้อเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ซึ่งเป็นนโยบายที่ภาครัฐให้ความสำคัญ โดยทาง depa เล็งเห็นว่า เอกชนจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาเมือง สำหรับโจทย์ในปีนี้ที่เลือกมา 3 ด้านของเมืองอัจฉริยะ คือ 1. พลังงาน (Energy) 2. การคมนาคม (Mobility) และ 3. การอยู่อาศัย (Smart Living) ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 65 ทีม โดยทีมผู้เข้าแข่งขันเหล่านี้ได้นำเสนอแนวคิดด้านนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะที่พร้อมจะพัฒนาต่อยอด จากนั้นคณะกรรมการได้คัดจนเหลือ 20 ทีมมาร่วมกิจกรรมแข่งขันในวันงาน ซึ่งผู้ร่วมแข่งขันจะได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา workshop โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากวงการ Startup ทั้งในและต่างประเทศ ได้รับการโค้ชชิ่งแบบตัวต่อตัวจาก Facilitator และมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเข้ามาให้คำแนะนำ จนท้ายที่สุดเราจะคัดเลือกจนเหลือผู้ชนะ 5 ทีมสุดท้าย นอกจากนี้ทีมที่มีศักยภาพสามารถต่อยอดเข้าสู่โครงการ ASEAN's First Smart City Accelerator ที่กำลังจัดขึ้นต่อไป”

โดยปีที่พิเศษนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้ร่วมมือกับ Partner จัดการแข่งขันเพื่อค้นหา Digital startup ที่มี solution ช่วยพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น โดยมีรูปแบบการเเข่งที่มีความเชื่อมโยงของโจทย์ในการเเข่งและช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน เพื่อสร้างรากฐานของการพัฒนา “Smart City” ในประเทศไทยให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างยั่งยืน โดยในปีนี้นอกจากรูปแบบของการเเข่งขันที่เปลี่ยนไปแล้ว เวทีการเเข่งยังมีการเปิดกว้างมากขึ้นภายใต้เเนวคิด “ASEAN's First Smart City” ยกระดับการเเข่งขันสู่ระดับนานาชาติ เราจะเห็นว่ามี Startup Team จากต่างประเทศเข้าร่วมการเเข่งขันในปีนี้ด้วย 

เปิดฉากการเเข่งขันกับโหมดเฮฮากับ “กิจกรรม Ice Breaking สุดหรรษา”

           ขึ้นชื่อว่าการเเข่งขัน ใช่ว่าจะต้องเเข่งกันจนไม่มีเพื่อน เพราะโครงการนี้นอกจากความรู้ที่มีให้ทุกทีมที่เข้ารอบแล้ว เรายังมีกิจกรรมละลายพฤติกรรมให้เเต่ละคนได้เพื่อนใหม่ที่มีความสนใจคล้ายๆ กันแถมเวทีนี้ไม่ได้มีเเค่คนไทยเเต่เรามีทีมจากต่างชาติเข้าร่วมด้วย ได้เพื่อนต่างชาติโดยไม่ต้องบินไปไกลถึงต่างประเทศ กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่เราอยากให้ผู้เข้าเเข่งขันได้เรียนรู้

เเนวคิด รวมถึงสร้างมิตรที่ดี ถึงเเม้การเเข่งขันจะจบไปแต่สิ่งที่เเต่ละทีมได้รับนั้นคือ เครือข่ายเเละเพื่อน ซึ่งในอนาคตเพื่อนในวันนี้อาจเป็นทีมที่ดีของคุณในวันหน้า กิจกรรมนี้จะจับกลุ่มทีมโดยสุ่มเลือก ซึ่งในแต่ละกลุ่ม ทุกคนจะมาจากทีมอื่นเมื่อได้กลุ่มเเล้ว แต่ละทีมต้องช่วยกันสร้างไอเดียรวมถึงชื่อผลงานให้น่าสนใจและเฮฮาจาก Keyword ที่ตัวเเทนของเเต่ละทีมเลือกมา กิจกรรมในครั้งนี้เราเน้นความสนุกและเฮฮาแต่ผลที่ออกมานั้น เเต่ละทีมเเสดงให้เห็นถึงความคิดและไอเดียที่สร้างสรรค์ได้อย่างน่าประทับใจถึงเเม้จะมีเวลาจำกัด

นอกจากกิจกรรมในวันเเรกที่สร้างความสนุกเรียกเสียงฮาเเละมิตรภาพดีๆ ระหว่างผู้เข้าเเข่งขันเเล้วทางโครงการยังมีอาหารพร้อมขนมที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันสามารถเติมพลังงานได้ไม่จำกัด เรียกได้ว่า หิวเมื่อไหร่ก็เเวะมาที่โต๊ะเสบียงที่เราเตรียมไว้ให้ได้เลย เเถมไม่ต้องกลัวเบื่อเพราะเมนูอาหารมีให้เลือกหลากหลายเรียกได้ว่าไม่ซ้ำกันเลยในเเต่ละวัน บอกเเล้วเข้าร่วมเเข่งขันโครงการกับ depa มาเเต่ตัวและไอเดีย เพราะเราฟรีทุกค่าใช้จ่ายแถมมีอาหารพร้อมขนมกินฟรีได้เรื่อยๆ แถมต่อด้วยอุปกรณ์เครื่องเขียนพื้นฐาน อยากได้สิ่งใดเราจัดให้ตลอดการเก็บตัวทำกิจกรรม ซึ่งไม่ใช่เเค่โครงการ ASEAN Startup Hackathon เพราะโครงการ depa Accelerator Program เราก็มีให้เช่นกัน 

โหมดวิชาการดีๆ โครงการนี้มีมาให้ได้เรียนกันทุกวัน

             การเสริมทักษะให้เหล่า Startup คืออีกจุดมุ่งหมายของทางโครงการ เพราะเราเชื่อว่า ทุกทีมนั้นมีไอเดียและผลงานเด็ดๆ มากมายเเต่จะทำอย่างไรให้ไอเดียนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงกับโจทย์การพัฒนา Smart City ซึ่งทางโครงการกำลังมองหา Solution ในหลายด้านที่พร้อมเข้ามาช่วยเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ในครั้งนี้เราได้ขนกองทัพเหล่าพันธมิตรผู้มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงมาติวเข้มกันเต็มที่ ซึ่งปีนี้ กิจกรรมเชิงวิชาการจะเเบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้เเก่ การบรรยายจากวิทยากร, Workshop และการติวเข้มเเบบ 1-on-1 กับติวเตอร์ 

การบรรยายจากวิทยากรผู้มากความสามารถที่หาตัวจับยากแต่ depa จัดมาให้

            ในปีนี้เราได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่น่าสนใจในวงการ Startup มากมาย อาทิ Techstars ที่บินมาไกลจากต่างประเทศ, ผู้ให้ความรู้ที่มีชื่อเสียง อย่าง 'พี่บิลลี่-พชร ยงจิระนนท์' ผู้ที่อยู่ในวงการตลาดดิจิทัลมานาน และ คุณ Belinda Esterhammer (Founder and CEO at Springboard Group) ได้มาแชร์ให้ฟังถึงเรื่อง Branding and go to market รวมถึงเทคนิค Pitching ต่อหน้าคณะกรรมการ, คุณ Jan Wong (Founder & CEO at OpenMinds) นักการตลาดผู้มากประสบการณ์ด้าน Data ซึ่งได้มาเล่าให้ฟังถึงความสำคัญของการเก็บ Data และการนำ Data ไปใช้ร่วมกับการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อ ‘Digital Marketing & Understanding Your Data’ นอกจากนี้ ในรอบ Semi-Final Round Pitching เราได้นำผู้ที่มีประสบการณ์และมากความสามารถในวงการ Tech Startup ไทยจากหลากหลายด้านมาให้คำเเนะนำทุกทีมอย่างไม่ขาดสาย อาทิ  June Chen (Associate at Monk's Hill Ventures), Panachit Kittipanya-ngam (President at Thailand Tech Startup Association), Anattaphisa Jantathai (Head of Investment and Partnerships at DTAC Accelerate), Kittinan Anuphan (CEO at Claim Di) 

นี่เป็นเเค่เพียงส่วนเดียวที่เกิดขึ้นตลอด 4 วันในโครงการ ASEAN Startup Hackathon เพราะโครงการนี้เราจัดเต็มกับความรู้ตลอด 4 วันของการเก็บตัวเข้าเเข่งขัน ซึ่งเนื้อหานั้นคงต้องไปนั่งเรียนกันเองหากต้องเขียนทั้งหมดเป็นบทความบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบคงไม่เหมือนกับการให้ผู้อ่านที่สนใจความรู้นี้ไปนั่งเรียนเองดีกว่า เพราะ depa มีอีกหนึ่งโครงการที่ความรู้วิชาการจัดเต็มไม่เเพ้กัน แถมจัดใหญ่กว่ามาก หากไม่อยากพลาดความรู้ดีๆ  สมัครเข้าร่วมเเข่งขันในโครงการ depa Accelerator Program ASEAN's First Smart City Accelerator ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 600,000 บาท ได้รางวัลเเถมความรู้ต่อยอดอีกนะ 

สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่  https://techsauce.co/depa-accelerator  

หมดเขตรับสมัครวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562

โครงการ depa Accelerator Program ASEAN's First Smart City Accelerator เรามีอะไรในปีนี้?

              รูปแบบการเรียนที่เเตกต่างสร้างความสะดวกและเพิ่มทักษะให้ทีม Startup ที่เข้าร่วมแข่งขันในปีนี้เเบบที่หาที่ไหนไม่ได้เเล้ว ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ จะมีบทเรียนออนไลน์ให้แต่ละทีมได้เข้าไปเรียนและศึกษา ซึ่งหัวข้อจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ ทีมที่เข้าร่วมสามารถเลือกเวลาเข้าไปเรียนได้เองแล้วแต่ความสะดวก แต่ในทุกวันอังคารของทุกสัปดาห์ทุกทีมจะต้องเข้าร่วม

Course Outline :depa AcceleratorMentoring Session เป็น session ที่ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยและรับ Feedback จาก Mentor พร้อมกับรับ Assignment หรือการบ้านประจำสัปดาห์ ซึ่งทุกทีมจะต้องส่งการบ้านภายในวันศุกร์ของสัปดาห์นั้น ๆ  เรียกได้ว่าจัดตารางเวลากันง่ายขึ้น เพราะเราคิดถึงปัญหาของเเต่ละทีมว่า หากทำงานประจำเเละต้องเข้าแข่งขันกับโครงการที่ต้องใช้เวลาร่วมกิจกรรมอาจจะลำบากเรื่องเวลา จึงจัด Course เรียนที่มีรูปแบบ Online ขึ้นแต่ยังคงความรู้ที่จัดเต็มเหมือนเดิม หมดปัญหาเรื่องเวลาไปได้เลย  นอกจากนี้ ในบางสัปดาห์ก็จะมีกิจกรรม Workshop ให้ทุกทีมได้เข้าร่วม ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 Workshop ที่จะทำการเเจ้งล่วงหน้าผ่านช่องทาง Email ของเเต่ละทีม นอกจากกิจกรรมระหว่างเก็บตัวเเข่งขันเเล้ว ช่วงเเรกของโครงการเราไม่ปล่อยเวลาให้ว่างเเน่นอนเพราะ เราเริ่มปล่อยของกันตั้งเเต่ช่วงเเรกของการเเข่งขันกับกิจกรรมสุดมัน 1 Day Bootcamp and Orientation ที่จัดขึ้นในวันแรกของโครงการและกิจกรรม Proof of Concept (POC) ซึ่งเป็น Workshop ที่ให้ทุกทีมได้เข้ามารับฟังและทดสอบความเป็นไปได้ของวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ในพื้นที่จริง เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น นี่เเค่น้ำจิ้มเพราะอาหารจานหลักเราจัดหนักจัดเต็มมาก 

หากสนใจสามารถติดตามรายละเอียดและกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/techsauceTH/posts/2383396481787976 

การติวเข้ม 1-on-1 Session กับติวเตอร์ผู้มากประสบการณ์แถมเฮฮาเป็นกันเอง

             ทางโครงการได้รับความร่วมมือจากทั้งในประเทศและต่างประเทศจากวิทยากรวงการ Startup ผู้มากด้วยประสบการณ์ทั้งด้านธุรกิจ ด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม รวมไปถึงด้านเทคโนโลยีมาให้คำปรึกษากับทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละวันของการเข้าร่วมการเเข่งขัน

Workshop ก่อนลงสนามจริงกับการสร้างฐานความรู้ให้เเน่นด้วยการลงมือทำ

               หากพูดถึงการสอนทำ Content เจ๋งๆ เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงเพจ Content Shifu ซึ่ง depa เราจัดให้กับความรู้ที่ลงมือทำกันจริงในช่วงเก็บตัวกับหัวข้อ Rapid Prototyping โดยคุณ Linda Kraivanich (Managing Partner and Design Director of Magnetolabs and Content Shifu) ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้นับได้ว่าตอบโจทย์ผู้เข้าเเข่งขันสุดๆ นอกจากจะใช้ในการเเข่งเเล้วยังสามารถนำไปใช้ต่อยอดงานได้อีกหลายด้านเลยเพราะเนื้อหาจะเกี่ยวกับ Solution ที่สร้างให้ผู้ผลิตเข้าใจผู้บริโภคโดยการทำแบบจำลองเพื่อเก็บข้อมูล Feedback จาก User ก่อนสร้าง Product จริง

โครงการนี้มีครบทุกรสเพราะปิดจบด้วยความ “ โหดนิดนึงนะจ๊ะ”

               “ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกลา” วันสุดท้ายได้เริ่มขึ้นก็ถึงเวลาเเห่งการตัดสินจากคณะกรรมการว่าทีมใดจะได้เป็นเเชมป์ในเวทีเเห่งนี้  เเละนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของทีม Startup ที่จะได้รับประสบการณ์และคำแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการที่เราคัดสรรความโหดและเจ๋งสุดในวงการ Startup ไทยมางานนี้โดยเฉพาะ อาทิ Pahrada Sapprasert (Director of 500TukTuks), Jeerawat Kulsapudom (Head of Ecosystem & Partner at SiriVentures), Nichapat Ark (Advisor for Openspace Ventures), Rungsun Promprasith (CEO of QueQ), Dr. Non Arkaraprasertkul (Senior Expert in Smart City Promotion at Thailand's Digital Economy Promotion Agency (depa)) และ Srihathai Prammanee (Head of AIS The Startup)

ถึงเเม้จะโหดเเต่เป็นโอกาสที่ดีของเเต่ละทีมที่ครั้งหนึ่งได้นำเสนอเเนวคิดงานต่อหน้าคณะกรรมการที่เปรียบเหมือนผู้บริโภคจริง ทำให้เเต่ละทีมรู้ว่างานที่ทำนั้นยังมีจุดที่ต้องพัฒนาและเเก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะในโลกใบนี้ไม่มีไอเดียใดที่ดีจนไม่มีจุดด้อย และในทางตรงข้ามไม่มีไอเดียใดที่ไม่ดีเเต่ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ในจุดที่ใช่สำหรับไอเดียนั้นหรือไม่ การที่ได้เข้ามาเเข่งขันในโครงการนี้เราเชื่อว่าจะสร้างประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้ผู้เข้าร่วมเเข่งขันทุกทีมในปีนี้  หนึ่งในสิ่งที่ได้คือ คำตัดสินเเละ Feedback จากคณะกรรมการ และอีกจุดประสงค์หนึ่งที่เเฝงไว้คือ รู้จุดด้อยเพื่อพัฒนาให้ดีกว่าเดิมและก้าวข้ามกรอบที่ฉุดไม่ให้ก้าวต่อไป ถึงแม้จะโหดเเต่ยังคงเป็นกำลังใจให้ทุกทีมนำความรู้ตลอด 4 วันและประสบการณ์จากคณะกรรมการไปใช้เพื่อสู้ต่อไป 

เเต่โครงการ ASEAN Startup Hackathon ไม่ใช่จุดสิ้นสุดเพราะเรามีอีกหนึ่งโครงการต่อยอดไอเดียอย่าง โครงการ  depa Accelerator Program ถึงเเม้จะไม่ใช่ทีมที่เคยเข้าร่วม  ASEAN Startup Hackathon ก็สามารถสมัครเข้ามาได้นะ เพราะตอนนี้กำลังเปิดรับสมัครโดยโครงการนี้เราต้องการทีม Startup ที่มี Solution จากหลากหลายด้านเพื่อตอบโจทย์การพัฒนา Smart City ซึ่งเราเปิดกว้างมากสำหรับเเนวคิดและผลงานที่เข้าเเข่งขันเพราะเราต้องการทีม Startup ที่มีแนวคิดรวมถึงผลงานที่สามารถมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมเมืองได้


จุดเด่นของโครงการ depa Accelerator Program ซึ่งต่างจากการเเข่งขันทั่วไป คือ ตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ Startup เเต่ละทีมที่เข้าร่วมกับโครงการจะได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายเมืองอัจฉริยะของทาง depa รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐฯ ในท้องถิ่นนี้จะเป็นโอกาสสำคัญหากจะขยายการให้บริการไปสู่องค์กร หน่วยงานและเมืองต่างๆ เมื่อจบโครงการ ก็ยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ เครือข่ายของกลุ่มพัฒนาเมือง พันธมิตรของ depa ที่เป็นหน่วยงานเอกชน รวมไปถึงเครือข่าย ASEAN Smart Cities Network ด้วย

ช่วงเวลาของการรับสมัคร

  • ปิดรับสมัคร: 24 พฤศจิกายน 2562
  • ประกาศผล 40 ทีม: 27 พฤศจิกายน 2562
  • วันนำเสนอผลงาน 40 ทีม: 2-3 ธันวาคม 2562
  • ประกาศผล 20 ทีมสุดท้าย: 9 ธันวาคม 2562
  • Orientation day: 14 ธันวาคม 2562


สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่   https://techsauce.co/depa-accelerator

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการได้ที่นี่

Phone number: 0814972009

Email: [email protected]



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...