ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารองค์กรหลายท่าน ได้ให้คำแนะนำเรื่องของการต่อสู้กับวิกฤต COVID ไว้มากมาย หนึ่งในคำแนะนำที่ได้เห็นกันบ่อยคือ ‘การลดต้นทุน’ หรือการใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในการทำงาน
ในภาวะการทำงานขององค์กรที่ถูก COVID ผลักดันให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน จะมีโซลูชั่น สำหรับ Enterprise อะไร ที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้เสมือนอยู่ออฟฟิศ และไม่ต้องห่วงเรื่อง ความปลอดภัย
บทความนี้จะเจาะลึกเทคโนโลยีที่องค์กรควรตระหนัก อย่าง DaaS (Desktop-as-a-Service) โดยเราจะไปพูดคุยกับ คุณสมเลิศ คงเจริญสุขสันติ, Service Director of NTT Thailand
คุณสมเลิศได้เปิดเผยว่า การทำงานหลังสถานการณ์ COVID-19 นั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยลูกค้าของ NTT ส่วนใหญ่จะไม่ได้จัดคนเข้าทำงานเต็มรูปแบบในออฟฟิศ ทั้งหมดโดยทันที แต่จะแบ่งสัดส่วนการเข้าทำงานเป็น ทำงานที่ออฟฟิศ 30% ที่เหลืออยู่บ้าน 70% แล้วค่อยๆ ขยับตัวเลขคนเข้าทำงานที่สำนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 50%, 75% และ 100% ในบางองค์กร
พนักงานที่ทำงานอยู่ที่บ้านหรือทำงานนอกสำนักงานหรือแม้แต่นั่งอยู่ในออฟฟิศ เดียวกันก็ยังอาศัยการทำงานแบบ Remote คือใช้ Conference แทนที่จะนั่งในห้องประชุมพร้อมกันทั้งหมด เช่นเดียวกับช่วง Lock down
ลูกค้าหลายๆ แห่งก็ไม่ได้มีการจัดการโดยการแบ่งคนเข้าทำงาน
ส่วนผู้ใช้งานที่กังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล แต่ต้องการทำงานจากที่บ้าน ในขณะเดียวกันก็ต้องการความยืดหยุ่น จากการเข้าใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น Notebook, PC, มือถือ หรือ Tablet ก็สามารถเข้าใช้งาน Virtual Desktop Infrastructure (VDI) หรือ DaaS แต่ไม่ว่าเป็นรูปแบบไหน ผู้ใช้งานก็ต้องพึงระวังในเรื่องของค่าใช้จ่าย โดยเน้นโซลูชั่นที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
สำหรับใครที่ทำงานองค์กรณ์ขนาดใหญ่น่าจะเคยได้ยินและมีความคุ้นเคยกับ VDI ที่ทำให้ตัว Desktop หรือ อุปกรณ์ Notebook ของพนักงานสามารถถูกจัดการได้จากศูนย์กลาง อีกทั้งการติดตั้งที่ง่ายดาย ทำให้การลงทุนในรูปแบบนี้ค่อนข้างคุ้มค่าทีเดียว
เมื่อพูดถึงการทำงานขององค์กรต่างๆ ก็จะมีทั้ง Laptop หรือ PC ให้พนักงาน ซึ่งเรื่องของการดูแลอุปกรณ์เป็นปัญหามาก หากอุปกรณ์เหล่านี้เสียหาย หรือมีปัญหาเรื่อง Software ต่างๆ จึงมีโซลูชั่นที่เรียกว่า VDI หรือ Virtual Desktop Infrastructure ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดการความยุ่งยาก โดยจะมี Data Center และศูนย์กลางในการควบคุมติดตั้ง Software บน PC กับ Laptop ทั้งหมดของบริษัทได้ในคราวเดียว
DaaS เกิดจากความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการ VDI ในแบบ Cloud Services คือแทนที่ผู้ใช้จะต้องลงทุนซื้อระบบ VDI ไปที่ติดตั้งที่สำนักงานของตนเอง ก็เปลี่ยนเป็นการใช้บริการ VDI ในระบบ Cloud จากผู้ให้บริการแทน
ข้อดีของ DaaS ที่มากกว่า VDI คือเราจะได้รับประโยชน์จากข้อดีของการใช้งาน Cloud ไปด้วย โดยประโยชน์ที่หลักๆของ DaaS คือ
1. ทำงานจากที่บ้านได้ หรือจากที่ไหนก็ได้ที่มี Internet ไปถึงผู้ใช้งาน สามารถใช้เครื่อง Notebook, PC, Tablet หรือ มือถือ โดยสามารถรองรับได้ทั้งระบบ Android และ iOS หรือจะเข้าใช้งานผ่าน web access เข้าทำงานได้ โดยไม่ขึ้นกับว่าเครื่องที่เราใช้จะเก่าหรือใหม่
2. ผู้ใช้งานไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินก้อนที่เกินความจำเป็นเพื่อซื้อระบบ VDI เอง แต่เป็นการจ่ายเงินค่าใช้บริการกับผู้ให้บริการ แบบรายเดือนแทน หากในเวลาต่อมาต้องการขยายจำนวนผู้ใช้งาน ก็แค่จ่ายเงินส่วนต่างเพิ่มเติม โดยไม่ต้องลงทุนเผื่อการเพิ่มของจำนวนผู้ใช้งานไว้ล่วงหน้า รวมถึงการขยายของระบบในอนาคตตั้งแต่วันนี้
3. ไม่ใช่แค่เรื่องประหยัดเงินลงทุนในส่วนของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังลดต้นทุนในส่วนอื่นๆเช่น ช่วยประหยัดค่าแรงงาน IT ที่ต้องดูแลเครื่องของผู้ใช้งาน การ Update โปรแกรมต่างๆที่รวมไว้ที่ศูนย์กลางที่เดียว หรือค่าใช้จ่ายแรงงาน OT ใน การจัดเวรยามตอนวันหยุดยาว รวมถึงวันที่พนักงานลาป่วย ลากิจ รวมถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการ Backup หรือ Monitor และสารพัดงานด้าน IT Operation การซ่อมบำรุงและสารพัดค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่ใช้บริการ DaaS ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีไว้ส่วนหนึ่ง รวมถึง Software พื้นฐาน ที่สามารถบริหารจัดการได้จากศูนยกลางในคราวเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนในการทำ Operation ลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
4. ความมีเสถียรภาพ และความพร้อมในการใช้งานของระบบ เพราะปกติแล้ว DaaS จะถูกติดตั้งในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของผู้ให้บริการ ซึ่งจะผ่านมีมาตราฐานการดำเนินงาน รวมถึงมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย และความต่อเนื่องในการทำงาน
- ตัวอย่างเช่น ระบบ DaaS ของ NTT นั้นถูกติดตั้งที่ Data Center ในประเทศไทยของเราเอง ซึ่งเป็น Data Center ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานระดับสากลทั้งในด้านของการรักษาความปลอดภัย การดำเนินงาน ระบบไฟฟ้า ระบบเน็ทเวิร์ค และการบริหารจัดการที่ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงระบบการป้องกันความล้มเหลวของโครงสร้างพื้นฐานในระดับสูงสุด
- ที่สำคัญหากเราต้องการให้ผู้ใช้งาน ได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราเอง โครงสร้างสำคัญส่วนหนึ่งของระบบ VDI ที่สัมพันธ์กับ User Experience นี้คือระบบ Storage ซึ่งต้องมีค่า IOPS สูงและมีเสถียรภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมักทำให้ใครก็ตามที่จะลงทุนทำระบบ VDI ของตัวเองมักประสบปัญหาในเรื่องงบประมาณในตอนเริ่มต้นสร้างและใช้ระบบ
แต่สำหรับระบบ DaaS ของเราได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง สุดท้ายคือความรวดเร็วในการเปิดใช้บริการ
1. ใช้ผ่าน Web Browser เพียงแต่พิมพ์ URL ที่กำหนดไว้ให้ หลัง Login เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่หน้า Desktop ของเราได้เหมือนกับกำลังเปิดใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง อาจมีการกำหนดระบบรักษาความปลอดภัย หรือการยืนยันตัวบุคคล (Authentication) เพิ่มเติมเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น
2. อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันส่วนใหญ่คือใช้ PC หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆของผู้ใช้ เช่น Notebook มือถือ Tablet ซึ่งต้องติดตั้ง Agent หรือ Program เล็กๆ ที่ Run อยู่ในอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน จากนั้นทำการ Login ด้วย AD Account เพื่อเข้าใช้งานเหมือนการ Login ผ่าน Web Browser จากนั้นจะได้หน้า Desktop และทำงานได้แบบเดียวกัน
ในระบบ VDI หรือ DaaS นั้นมีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลอยู่แล้ว โดยข้อมูลของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลาง หากอุปกรณ์ที่ใช้งาน DaaS เกิดความเสียหาย หรือมีการสูญหาย ข้อมูลของผู้ใช้งานก็จะยังอยู่ที่ส่วนกลาง และสามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์การสื่อสารอื่นๆ ผ่านรหัสผ่านของผู้ใช้งานได้เหมือนเดิม
NTT DaaS ใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่น ของ VMware Horizon ในการให้บริการ DaaS Services โดย NTT เป็น VCPP partner หรือ VMware Cloud Provider Program กับทาง VMware โดย VMware เป็นบริษัทผู้นำระดับโลกในเรื่อง Virtualization มาเป็นเวลานาน
VMware Horizon มีการอัพเดทระบบรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา เป็นที่เชื่อถือและถูกใช้งานอยู่ในผู้ให้บริการ DaaS อย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบันอยู่แล้ว
ระบบ DaaS เองเป็น Multi-Tenancy โดยแยกผู้ใช้งานแค่ละคนออกจากกัน ไม่สามารถจะเอาข้อมูลของผู้ใช้งานอีกคนไปด้วย และก็ยังมี DaaS Policy ที่กำหนดการใช้งาน USB, Client Drive หรือ Clipboard Redirection
ส่วน NTT DaaS Portal เป็นรูปแบบ Web Base ที่มี Trusted SSL Certificate ข้อมูลที่ส่งผ่าน Browser จะมีการเข้ารหัส
นอกจากนี้ระบบ DaaS ของ NTT ยังตั้งอยู่ในประเทศไทย ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องการรับส่งข้อมูล หรือปริมาณ Bandwidth ที่เป็นคอขวดจากการใช้งานข้ามประเทศ และก็ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลถูกเก็บนอกประเทศ หรือรั่วไหลออกนอกประเทศเช่นกัน
โดยสรุปแล้วDaaS นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือทดแทนรูปแบบการทำงานแบบเดิมให้กับทุกองค์กรครับโดยมีพื้นฐานความต้องการคือ
ในส่วนของการพิจารณาการลงทุนด้านอุปกรณ์นั้น สามารถใช้อุปกรณ์เดิมเชื่อมต่อเข้ามาใช้บริการ NTT DaaS ได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่เพิ่มเติม
หากการพิจารณาที่จะใช้ DaaS นั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่องค์กรกำลังพิจารณาจะลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ PC, Notebook หรือการอัพเกรดระบบรูปแบบใหม่ เพื่อเปลี่ยนแทนระบบเก่า การพิจารณาใช้งานในระบบ DaaS นั้นจะคุ้มค่ามากที่สุดครับ เพราะตัว Depreciation หรือค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ต่างๆน่าจะหมดลงแล้ว ทำให้ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย DaaS รายเดือนและต้องจ่ายค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์เดิมไปด้วยครับ
สำหรับองค์กรที่อยากจะเริ่มต้นนั้นควรพิจารณาดูรูปแบบการทำงาน การใช้งานและพฤติกรรมของคนในองค์กรก่อนครับว่าตรงกับข้อดีของการใช้ DaaS หรือไม่นะครับ
ในตอนเริ่มต้นอาจจะพิจารณาเป็นแบบ Hybrid โดยเลือกกลุ่มผู้ใช้งานที่ตรงตามเงื่อนไขมากที่สุดมาใช้งาน DaaS ก่อนครับ
การเริ่มต้นทำอะไร มักจะเป็นส่วนที่ยากที่สุดนะครับ หลังจากพิจารณาแล้วว่าองค์กรมีความต้องการใช้ DaaS ก็ควรติดต่อหาบริษัทที่มีความพร้อมในการให้บริการ มีประสบการณ์และมีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำอื่นๆ ประกอบด้วย
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด